sapyen.na

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

พ.ต.อ.ณรงค์ ทรัพย์เย็น Narong sapyen

Test

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา ปัญหาอาชญากรรมและสังคม(PAL 708)

เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา ปัญหาอาชญากรรมและสังคม(PAL 708)
สามารถดาวน์โหลดได้ที่

เอกสารประกอบคำบรรยาย

Course Outline PAL 708 ปัญหาอาชญากรรมและสังคม

วก 05
วิทยาลัยพิษณุโลก
โครงการสอน (Course Outline)
รหัสวิชา PAL 708 ชื่อวิชา ปัญหาอาชญากรรมและสังคม จำนวน 3 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 2 วันเวลา วันที่ 6 ,13.,20,27 กุมภาพันธ์ 2554 ห้องเรียน ศูนย์ศึกษาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จังหวัดนครปฐม
อาจารย์ผู้สอน พันตำรวจเอก ณรงค์ ทรัพย์เย็น
คุณวุฒิ รป.บ.(ตร.),นบ.,สค.ม.(อาชญาวิทยา และงานยุติธรรม)
ชั่วโมงประจำสำนังาน (Office Hour) –
สถานที่ติดต่อ 21/1 หมู่ 5 ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาปัญหาอาชญากรรมและปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ที่ครอบคลุมไปถึงสาเหตุและรูปแบบ
การเกิดปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคม โดยมุ่งเน้นการเกิดปัญหาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็น
การสังเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
วิชาบังคับก่อน –
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ประเภทของอาชญากรรม ผลกระทบ และสาเหตุการเกิด
2.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรม
3.เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการนำความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาอาชญากรรมไปปรับใช้ในการทำงาน และชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับครอบครัว และชุมชน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.บรรยายโดยอาจารย์ผู้สอนให้ทราบถึงทฤษฎี หลักการ แนวทาง กรณีศึกษา
2.มอบหมายงานให้ผู้เรียนไปประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการออกแบบ ดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรม แล้วนำมาอภิปราย ตอบข้อซักถาม ในชั้นเรียน
3.ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับ กับการแก้ปัญหาในแบบทดสอบ
สื่อการสอน
1.เครื่องฉายวิดิโอ โปรเจ็คเตอร์
2.เครื่องคอมพิวเตอร์
การประเมินผล
1.การเข้าชั้นเรียน ร้อยละ 10
2.การมีส่วนร่วมในการบรรยาย ตั้งคำถาม ตอบข้อซักถาม ในชั้นเรียน ร้อยละ 10
3.ส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายร้อยละ 10
4.การบรรยาย อภิปรายผลงานที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 20
5.ทดสอบแบบปรนัย และเติมคำโดยให้เปิดตำราตอบ (Open book Exam) ร้อยละ 50
รวม 100 คะแนน 100 %
ตำราและเอกสารประกอบการสอน
1.เอกสารประกอบคำบรรยายที่อาจารย์ผู้สอนแจก โหลดได้จากหัวข้อ เอกสารบรรยาย ปัญหาอาชญากรรม ของ พ.ต.อ.ณรงค์ จาก บล็อค sapyen.na.blogspot.com
2.หนังสือคู่มือการป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม ของ กองวิจัย และพัฒนา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. 25501
3.หนังสือ Crime Analysis for Problem Solver in 60 small Steps ของ U.S. Department of Justice Office of Community Oriented Policing Services .
4.หนังสือ Reducing Fear of CrimeStrategies for Police ของ U.S. Department of Justice
Office of Community Oriented Policing Services

หนังสืออ่านนอกเวลา
1.หนังสือ ซีอุย..มนุษย์กินคน ของ ท่านขุน บุญราศรี สำนักพิมพ์ มวลมิตร กรุงเทพฯ 2545
2.หนังสือ จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน ของ ดร. อนุสร จันทรพันธ์ และ ดร.บุญชัย โกศลธนากุล อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง กรุงเทพฯ 2546

หัวข้อและกำหนดการสอน



วันเวลาสอบ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.00-14.00 น.
ข้อแนะนำนักศึกษา
1.ติดต่อ ส่งงาน การบ้าน ถึง อาจารย์ได้ที่ sapyen@hotmail.com โทร 081 -9811886 หลังเวลา 17.00 น.
2.เอกสารตำราเปิดดู และโหลดได้จาก บล็อก sapyen.na.blogspot.com
--------------------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวทางจัดตั้งชุดฟื้นฟูเยียวยา (Family liaison officer)

ชุดฟื้นฟูเยียวยา (Family Investigation Liaison Officer: FILO)
หน่วยตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลียได้จัดชุดตำรวจฝ่ายสืบสวนทำหน้าที่ประสานงานญาติผู้เสียหายหรือเหยื่อ เรียกว่า “Family Investigation Liaison Officer: FILO” ส่วนตำรวจ นครบาลมหานครลอนดอน หรือสก๊อตแลนด์ยาร์ด ใช้ชื่อว่าชุด “Family Liaison Officer: FLO” ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้
1. เป็นทั้งตำรวจในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบแต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบที่ทักษะการสืบสวนด้วย เพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ญาติผู้เสียหาย
2. จะได้รับมอบหมายจากพนักงานสืบสวนผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบคดี
(Senior Investigative Officer :SIO) ให้ทำหน้าที่เป็นชุดประสานงานระหว่างญาติกับตำรวจในคดีสำคัญ เช่น คดีฆาตกรรม หรือคนหาย
3. ตำรวจชุดนี้จะมีจำนวนกำลังพลตามแต่ความซับซ้อนหรือใหญ่ของคดี และใช้ในการรวบรวมข่าวสารหรือพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งอาจเป็นผู้ต้องสงสัยด้วยในคราวเดียวกัน
4. ตำรวจชุดนี้ต้องมีทักษะการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งตำรวจชุดนี้จะเป็นบุคคลที่คอยปลอบใจญาติผู้เสียหาย หรือเป็นไหล่ที่ให้ญาติผู้เสียหายซบร้องไห้ (Shoulder to cry on )
5. บางครั้งตำรวจชุดนี้จะช่วยเหลือในการให้ข่าวแก่สื่อมวลชนในกรณีที่ญาติผู้เสียหายไม่ต้องการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และอนุญาตให้ตำรวจชุดนี้ให้สัมภาษณ์แทน
6. ตำรวจชุดนี้จะช่วยเหลือญาติผู้เสียหาย หรือเหยื่ออาชญากรรม หรือญาติบุคคลสูญหายในการขอรับค่าตอบแทน ผู้เสียหาย การขอการคุ้มครองพยานจากตำรวจและหน่วยเกี่ยวข้อง การจัดการศพหรือขอรับศพจากหน่วยนิติเวช หรือป้องกันการนำศพไปเป็นเงื่อนไข (แห่ศพประท้วง)
7. ในกรณีภัยพิบัติจะคอยช่วยเหลือจัดการเกี่ยวกับพิสูจน์เอกลักษณ์ การขอรับเงินประกันภัยหรือเงินช่วยเหลือ
8. ในกรณีการก่อความไม่สงบหรือที่การตาย หรือการสูญหายเป็นเงื่อนไขทางการเมือง ตำรวจชุดนี้จะสร้างความเข้าใจหรือลดเงื่อนไขการนำไปสู่ความไม่สงบ
ตำรวจออสเตรเลียได้นำไปใช้ในกรณีเกิดเหตุสึนามิในประเทศไทย ปี พ.ศ.2547 สึนามิที่ซามัว คนออสเตรเลียเสียชีวิตเมื่อเดือน พ.ย. ค.ศ.2008 ที่เมืองมุมไบ อินเดีย และการช่วยเหลือประสานประชาชนที่ต้องถูกอพยพออกจากสลัมในปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายจากการปฏิบัติการ Operation Neath ที่เมืองซิดนีย์ เมื่อปี ค.ศ.2008
การฝึกอบรม
ควรใช้ชุดชุมชนมวลชนสัมพันธ์ซึ่งมีประจำอยู่ทุกสถานีตำรวจ อย่างน้อยชุดละ 8-12 นาย เมื่อมีเหตุที่ต้องใช้ให้แปรสภาพเป็นชุดฟื้นฟูเยียวยา โดยทำหน้าที่เช่นเดียวกับชุด Family Investigation Liaison Officer: FILO โดยในการเตรียมการควรฝึกอบรม ดังนี้
1. พ.ร.บ.และระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
2. การคุ้มครองพยาน
3. การรวบรวมพยานหลักฐาน และขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนชั้นอัยการ ชั้นศาล การให้การเป็นพยานชั้นตำรวจ อัยการ และศาล และระเบียบการแจ้งความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนของ ตร.
4. การชันสูตรพลิกศพ หรือพิสูจน์เอกลักษณ์ และการดำเนินคดีเกี่ยวกับการไต่สวน หรือดำเนินการชั้นศาลเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพ
5. ทักษะการตั้งใจรับฟัง (Active Listening Skill)
6. ศาสนพิธีเกี่ยวกับงานศพ พุทธ อิสลาม คริสต์
7. การต่อต้านการก่อความไม่สงบ
8. วิชาว่าด้วยเหยื่ออาชญากรรม (Victimology)
9. สิทธิของผู้เสียหายตามปฎิญญาสากลของสหประชาชาติ

**********************

แนวคิดการจัดชุดเคลื่อนที่เร็วต่อต้านการก่อความไม่สงบในเมือง

ชุดเคลื่อนที่เร็ว (Mobile Field Force : MFF)

เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วระดับหมวด มีลักษณะเป็นชุดปฏิบัติการเอนกประสงค์ในการแก้ไขปัญหาก่อความไม่สงบในเมือง ซึ่งหน่วยตำรวจในมลรัฐแคลิฟลอเนียร์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานการจัดการเหตุวิกฤติโดยผู้บังคับใช้กฎหมายได้ให้ความเห็นชอบและจัดตั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997
โดยเป็นการสนธิกำลังจัดเป็นชุดดังกล่าวนี้ขึ้น และใช้ในภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบหรือการชุมนุมประท้วง เหตุภัยพิบัติและเหตุภาวะฉุกเฉินต่างๆ ในเมือง ในสถานการณ์เมื่อระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจโดยตำรวจท้องที่กระทำได้ไม่เต็มที่หรือมีขีดจำกัดในเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น การบริการหรือการปฏิบัติของตำรวจท้องที่ไม่สามารถทำได้เต็มที่ เช่น แผ่นดินไหว ไฟฟ้าดับ หรือสถานีตำรวจถูกเผา หรือปิดล้อม
1. การจัดเฉพาะกิจ (56 นาย ส. 1, ป.55)
1.1 ผบ.ชุด 1 นาย (รอง สว.- สว.)
1.2 รองหัวหน้าชุด 1 นาย (ด.ต.)
1.3 ผบ.หมู่ 4 นาย (จ.ส.ต. – ด.ต.)
1.4 ผู้บังคับรถ ชั้นประทวน 12 นาย
1.5 พลขับ 14 นาย (ชั้นประทวน)
1.6 เจ้าหน้าที่บันทึกวิดีโอ 2 นาย (ป.)
1.7 เจ้าหน้าที่ชุดต่อต้านการซุ่มยิง 2 นาย (ป.)
1.8 ตำรวจประจำชุด 24 นาย (ป.)
1.9 ตำรวจประจำรถควบคุมผู้ต้องหา 4 นาย (2 คันๆ ละ 2 คน หากเป็นไปได้ควรเป็นผู้หญิง คันละ 1 คน)
2. อุปกรณ์มาตรฐานขั้นต่ำ
2.1 รถยนต์สายตรวจ 4 ประตู เอนกประสงค์ 14 คัน
2.2 วิทยุแบบมือถือ 16 เครื่อง พร้อมแบตเตอรี่สำรอง
2.3 อาวุธปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. ประจำตัวตำรวจ 1 นาย/1 กระบอก (เว้นเจ้าหน้าที่ประจำรถควบคุมผู้ต้องหา) จำนวน 52 กระบอก
2.4 ปืนลูกซองประจำรถยนต์สายตรวจ 1 กระบอก/คัน จำนวน 14 กระบอก
2.5 กระสุนปืนลูกซอง 350 นัด
2.6 กระสุนปืนลูกซองแบบกระสุนยาง 140 นัด
-2-

2.7 กระสุนขนาด 9 มม. จำนวน 700 นัด
2.8 อุปกรณ์ฉุกเฉิน
2.8.1 ถังดับเพลิงแบบยกได้ (5 ปอนด์) 1 ถัง/รถสายตรวจ 1 คัน จำนวน 14 ถัง
2.8.2 ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1 ชุด
2.8.3 กระบองไฟเรืองแสงให้สัญญาณจราจร จำนวน 52 อัน
2.8.4 ผ้าห่มใช้ดับไฟ 2 ผืน/รถ 1 คัน จำนวน 28 ผืน
2.9 อุปกรณ์ทางยุทธวิธี
2.9.1 กล้องส่อง 2 ตา จำนวน 2 อัน
2.9.2 เครื่องเปล่งเสียงแบบเคลื่อนที่ 1 ชุด (ไม่รวมที่ติดกับรถสายตรวจ)
2.9.3 สายกั้นที่เกิดเหตุสำหรับตำรวจ 5 ชุด
2.10 รถยนต์บรรทุกผู้ต้องหา 2 คัน
2.11 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 176 เส้น
2.12 ชุดกล้องถ่ายวิดีโอ 2 ชุด พร้อมถ่านสำรอง
2.13 ปืนเล็กยาว 52 กระบอก พร้อมกระสุน 60 นัด/กระบอก
2.14 อุปกรณ์ไม่ถึงตายสำหรับควบคุมฝูงชน
2.14.1 หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ 56 อัน
2.14.2 เครื่องยิงแก๊สน้ำตา 24 กระบอก, กระสุนแก๊สน้ำตา 12 นัด/กระบอก
2.14.3 แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง 120 ลูก
2.14.4 ระเบิดเสียง 600 ลูก (150 ลูก/หมู่)
3. ขีดความสามารถ/ขีดจำกัด
3.1 เป็นรถสายตรวจ 14 คัน โดย 2 คัน เป็นรถ หน.ชุด และ รอง หน.ชุด ส่วนอีก 12 คัน ประกอบกำลัง 4 นาย/คัน เป็นสายตรวจรักษาความสงบในพื้นที่ที่มีเหตุจลาจลหรือก่อความ ไม่สงบ
3.2 เป็นจุดอำนวยการและควบคุมการจราจรได้ประมาณ 20 จุดพร้อมกัน
3.3 ตั้งจุดตรวจได้ 12 จุดพร้อมกันในพื้นที่ก่อความไม่สงบ
3.4 รักษาความปลอดภัยและระวังป้องกันที่ตั้ง หรือสาธารณูปโภคสำคัญ
3.5 จัดรูปขบวนควบคุมฝูงชนได้ 4 หมู่ ดำเนินกลยุทธ์ควบคุมฝูงชนและใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนได้ แต่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
-3-

3.6 จัดรูปขบวน 3 หมู่ ควบคุมฝูงชน และใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนพร้อมทั้งรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
3.7 เคลื่อนที่เร็วแก้ปัญหาเหตุก่อความไม่สงบได้ภายในพื้นที่
3.8 ดำเนินการจับกุมขนาดใหญ่ได้ ซึ่งสามารถจับกุมแกนนำและผู้ชุมนุมพร้อมกันได้จำนวนหนึ่ง
3.9 มีขีดความสามารถต่อต้านพลซุ่มยิงได้
3.10 มีขีดจำกัดในการปฐมพยาบาลหรือส่งกลับสายการแพทย์
4. ระยะเวลาเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่
4.1 สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 12 ชม. รวมถึงเวลาเดินทางจากที่ตั้งถึงที่ปฏิบัติงาน หรือเตรียมพร้อม
4.2 ควรให้มีเวลาพักหรือเตรียมการอย่างน้อย 12 ชม./ผลัด
5. อาวุธประจำกายของชุดเคลื่อนที่เร็ว
5.1 ปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. พร้อมกระสุน 1 อัตรายิง
5.2 อุปกรณ์พื้นฐานของสายตรวจรถยนต์ติดกับเข็มขัดสนาม
5.3 หมวกควบคุมฝูงชนพร้อมกระบังหน้า
5.4 ดิ้วหรือกระบองสั้นแบบยืดได้ ขนาด 26 นิ้ว พร้อมที่แขวน
5.5 เสื้อเกราะอ่อน
5.6 ไฟฉาย
5.7 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 4 เส้น/ตำรวจ 1 นาย
5.8 สเปรย์พริกไทย 1 กระป๋อง/นาย

*********************************

ที่มา : 1999 Law Enforcement Guide for Emergency Operations , Governor’s Office Of Emergency Services, State Of California. หน้า 53-64
สืบค้นจาก http://www.oes.ca.gov