วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

1
ระบบการบัญชาการในสถานการณ์ (Incident Command System: ICS)1
พ.อ.ปราโมทย์ อิ่มวัฒนา
พ.อ.คเชนทร์ ปิ่นสุวรรณ
กล่าวนํา
ในสังคมปัจจุบันสถานการณ์ฉุกเฉินที ่เกิดขึ้นมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ตั ้งแต่เหตุการณ์
เล็กน้อยเช่นอุบัติเหตุจราจร หรือเหตุการณ์ขนาดใหญ่เช่น ภัยธรรมชาติ นํ้าท่วม ไฟไหม้ การจลาจล
การก่อการร้าย ฯลฯ การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้จําเป็ นต้องใช้หน่ วยงานหลายๆ
หน่วยงานปฏิบัติงานร่วมกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานเช่น เป้ าหมายในการปฏิบัติงาน การ
ควบคุมสั ่งการ และการบังคับบัญชา การติดต่อสื่อสาร การประสานการใช้ทรัพยากรของแต่ละหน่วยงาน
ฯลฯ ปัญหาเหล่านี ้ ทําให้ลดประสิทธิภาพและเสียเวลาในการปฏิบัติงานเพื่อระงับสถานการณ์ ช่วยเหลือ
ชีวิตและปกป้องทรัพย์สินของประชาชน ที่ต้องการประสิทธิภาพและความเร่งด่วน จึงมีการพัฒนาระบบ
บัญชาการในสถานการณ์ (Incident Command System) เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี ้
ระบบการบัญชาการในสถานการณ์คือ ระบบการจัดองค์กรสําหรับ การบังคับบัญชา
(Command), การควบคุม (Control), การประสานงาน (Coordination) เพื่อตอบสนองต่อการที่
หน่วยงานหลายๆหน่ วยที่ มาร่วมปฏิ บัติ งานในสถานการณ์เฉพาะ ที่ มีเป้ าหมายร่วมกันในการ
ระงับสถานการณ์, ปกป้ อง ชีวิต ทรัพย์สิ น และสิ่ งแวดล้อม
บทความนี้จะกล่าวถึงระบบบัญชาการในสถานการณ์ เพื ่อให้ผู้อ่านได้มีความคุ ้นเคยเมื่อต้องใช้
ระบบนี้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุ กเฉิน และทราบถึงการจัดองค์กรของระบบ หลักการและ
แนวความคิดของระบบในการจัดการในสถานการณ์ฉุ กเฉิน การแบ่งหน้ าที่สําคัญของระบบเพื ่อกระจาย
ความรับผิดชอบ การจัดการใช้บุคลากรและทรัพยากร และทราบบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
เมื่อต้องปฏิบัติงานในระบบ
สถานการณ์ ที่ต้องใช้ระบบบัญชาการ
ระบบบัญชาการในสถานการณ์เป็ นที่ยอมรับกันว่าเป็ นระบบที่มีประสิทธิภาพและสามารถ
นําไปใช้ในสถานการณ์ฉุ กเฉินทุกชนิด เช่น
• สถานการณ์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตราย
• สถานการณ์ที่มีประชาชนมาชุมนุมกันเป็ นจํานวนมากเช่น การแข่งขันกีฬา, งานเทศกาล
ประจําปี , การชุมนุมประท้วง ฯลฯ
• ภัยธรรมชาติ เช่น นํ้าท่วม, พายุ, ดินถล่ม, ไฟป่

1 การสัมมนาบทบาทแผนงานเตรียมพร้อมภัยพิ บัติและอุบัติภัยหมู่ของหน่ วยงานแพทย์ทหาร
วิ ทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
2
• อุบัติภัยต่างๆที่มีผู ้บาดเจ็บจํานวนมาก เช่น อุบัติเหตุจราจร, ไฟไหม้
• สถานการณ์เฉพาะที ่ต้องใช้หน่วยงานหลายๆหน่วยทํางานร่วมกันเช่น การจี้จับตัวประกัน, การ
วางระเบิดและการก่อการร้าย, การค้นหาและกู้ภัย
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ควรเป็ นระบบที่อยู่ในแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของชุมชนหรือหน่วยงาน
ทุกแห่ง เพื่อให้การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุ กเฉินกระทําได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
ประวัติ ของ ICS
ในปีค.ศ. ๑๙๗๐ เกิดเหตุไฟป่าลุกลามเป็ นบริเวณกว้าง ในทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย มีการ
ระดมความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆอย่างมากมาย จนต้องจัดตั ้งองค์กรเฉพาะกิจเพื่อดับไฟป่าใน
นาม Firefighting Resources of California Organized for Potential Emergency (FIRESCOPE) ผล
จากการทํางานขององค์กรเฉพาะกิจนี ้ ทําให้พบปัญหาของการจัดการในการตอบสนองสถานการณ์
ฉุกเฉินหลายประการเช่น
• ไม่มีนิยามศัพท์ที่เป็นมาตรฐานกลางสําหรับหน่วยงานที่ตอบสนองสถานการณ์
(Nonstandard terminology among responding emergencies)
• ขาดขีดความสามารถในการขยายหรือลดขนาดของการตอบสนองต่อสถานการณ์ (Lack
of capability to expand and contract as required by the situation)
• ไม่มีการรวมการณ์หรือมาตรฐานอย่างเดียวกันของการสื่อสาร (Nonstandard and
nonintegrated communications)
• ขาดแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน (Lack of consolidated action plans)
• ขาดการเตรียมขีดความสามารถและอุปกรณ์ สนับสนุ นการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า (Lack
of designated facilities)
ผลจากการพบปัญหาข้อขัดข้องเหล่านี้จึงมีการพัฒนาระบบบัญชาการสถานการณ์เพื ่อให้การ
ตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ ้น ถึงแม้ว่าการพัฒนาระบบนี้เกิดจากการ
ตอบสนองต่อสถานการณ์ไฟป่

แต่ระบบนี ้ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกชนิด
ความสําเร็จของการนํ าระบบนี้ไปประยุกต์ใช้เกิดจาก
• การใช้โครงสร้างองค์กรแบบเดียวกัน (A common organization structure)
• การใช้หลักการจัดการที่สําคัญในมาตรฐานเดียวกัน (Key management principle in a
standardized way)
ดังนั้นเพื ่อให้ผู ้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยของความสําเร็จในการนําระบบนี้ ไปประยุกต์ใช้ บทความ
ตอนต่อไปจะกล่าวถึง การจัดองค์กรของระบบ และแนวความคิดและหลักการของระบบ
3
การจัดองค์กรของระบบบัญชาการ
ในสถานการต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ขนาดเล็ก (อุบัติเหตุจราจร, ไฟไหม้) หรือ
สถานการณ์ขนาดใหญ่ (ภัยธรรมชาติ, นํ้ าท่วม, การก่อการร้าย) ล้วนแต่ต้องการหน่ วยงานหลายๆหน่วย
ที่เข้าไปปฏิบัติงานตอบสนองสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะมีขนาดเท่าใด หรือจํานวน
หน่วยงานที่เข้าไปปฏิบัติงานจะมากหรือน้อยเพียงใด ทุกสถานการณ์ล้วนต้องพยายามประสานงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล, และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่าง
ประหยัดและคุ้มค่า
ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจอย่างชัดเจนเกี ่ยวกับแนวความคิดในการระดมและประสาน
หน่วยงานต่างๆและทรัพยากรที ่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองสถานการณ์
อุ บัติเหตุรถยนต์หลายคันชนกันที ่เสาสะพานข้ามทางแยกต่ างระดับ มีไฟลุกไหม้ ผู้บาดเจ็บ
จํานวนมาก และมีสารเคมีหรือวัตถุอันตรายรั ่วไหล โครงสร้างเสาสะพานได้รับความเสียหาย
ท่านคิดว่าควรมีหน่วยงานที ่เกี ่ยวข้องกี ่หน่ วยงานและชนิ ดของทรัพยากรที ่ต้องใช้มีอะไรบ้าง?
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่ต้องใช้
หน่วยงานรักษากฎหมาย เจ้าหน้าที่ตํารวจ
อุปกรณ์ปิดกั ้นการจราจร
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่ต้องใช้
หน่วยดับเพลิง เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
รถดับเพลิง
อุปกรณ์ดับเพลิง
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยและกู้ภัย
เจ้าหน้าที่กู้ภัย
อุปกรณ์กู ้ภัย
อุปกรณ์และชุดป้ องกันสารเคมีและวัตถุ
อันตราย
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กู้ชีพ พยาบาล แพทย์
รถพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ยาและเวชภัณฑ์
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานโยธาและทางหลวง เจ้าหน้าที่วิศวกร ซ่อมบํารุงทาง
อุปกรณ์ซ่อมบํารุงทาง
4
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าในสถานการณ์ ฉุกเฉินไม่มีหน่วยงานเดี ่ยวที่รับผิดชอบสถานการณ์
ได้ทั ้งหมด แต่ต้องใช้หลายหน่ วยงานมาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา จึงต้องมีโครงสร้างองค์กร
เฉพาะกิจที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ แนะนําสั ่งการ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานการใช้
ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
การจัดองค์กรของระบบบัญชาการในสถานการณ์ประกอบด้วย ๕ หน่วยหลักดังนี้
• ส่วนบังคับบัญชา (Command)
• ส่วนวางแผน (Planning)
• ส่วนปฏิบัติการ (Operations)
• ส่วนสนับสนุ น (Logistics)
• ส่วนงบประมาณและการบริหาร (Finance/Administration)
5
6
Incident
Command
Planning section Operation section Logistic section
Finance/
Administration
section
Information
Officer Liaison officer
Safety officer
7
ICS principle and Concepts
๑. Common terminology
๒. A modular organization
๓. Integrated communications
๔. Unity of command
๕. Unified command structure
๖. Consolidated IAPs
๗. Manageable span of control
๘. Designated incident facilities
๙. Comprehensive resource management
Modular organization
Integrated Communication
๑. Common communication plan
๒. Standard operating procedure
๓. Clear text Common terminology
8
9
10
11
12
13
14
15
16
Key of success of ICS use
− Learn
− Planning
− Practice
− Start early
Who is in charge? How can all responders work together for the best results?

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

สรุปการผลการ รปภ.และจราจรประชุมสุดยอดอาเซียน๑๔

บทคัดย่อ
ผลการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552
ณ โรงแรมดุสิต รีสอร์ท หัวหิน อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี
------------------------------------

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ ได้เกิดขึ้นตามกฎบัตรอาเซียน โดยประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ตั้งแต่ กรกฎาคม 2551 แต่เนื่องจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง ทำให้ต้องเลื่อนสถานที่และเวลาในการจัดการประชุมหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 เป็นต้นมา โดยคณะรัฐบาลในช่วงนั้นตกลงใจที่จะจัดประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2551 ทำให้หน่วยงานตำรวจมีการเตรียมการเบื้องต้นไปส่วนหนึ่งแล้ว ในพื้นที่ของตำรวจภูธรภาค 5 ต่อมามีการเปลี่ยนรัฐบาลนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกจัดการประชุมที่โรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท หัวหิน อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี ในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 326/2551 ลง 23 ธันวาคม 2551 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดการประชุม โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ และได้มอบหมายภารกิจการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้มีคำสั่ง ที่ 24/2552 ลง 26 มกราคม 2552 จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจการรักษาความปลอดภัยและการจราจร การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (ศสอ.) โดยมอบหมายให้ พลตำรวจเอก วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ฝ่ายความมั่นคง) เป็นผู้อำนวยการศูนย์รับผิดชอบ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ตำรวจภูธรภาค 7 เป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและรักษาความปลอดภัยสถานที่ประชุม สถานที่พัก และกิจกรรมในระหว่างการประชุมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ศสอ. ได้จัดการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 และสังกัดอื่นที่ร่วมปฏิบัติภารกิจตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 เช่น รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยประจำโรงแรมที่พัก ตำรวจที่รักษาความปลอดภัยประจำโรงแรมที่พัก กองร้อยควบคุมฝูงชน ตำรวจที่จัดการจราจรและ รปภ.ตามเส้นทาง ตำรวจที่ทำหน้าที่และรักษาความปลอดภัยในขบวนบุคคลสำคัญ
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้เชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยและร่วมปฏิบัติมาหารือร่วมกันที่กองอำนวยการถวายความปลอดภัย 97 หัวหิน เช่น กองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยไกลกังวล (เนื่องจากพื้นที่จัดการ

- 2 -

ประชุมและที่พักของผู้นำประเทศเกี่ยวเนื่องกับการถวายความปลอดภัยของเขตพระราชฐานวังไกลกังวล) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สถานที่พักของผู้นำประเทศ) และจังหวัดเพชรบุรี (สถานที่ประชุม ที่จัดเลี้ยง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และสถานที่พักของผู้นำประเทศ) ท่าอากาศยานหัวหิน เป็นต้น และตำรวจภูธรภาค 7 ได้นำเสนอกฎการใช้กำลัง เพื่อเป็นแนวทางการใช้กำลังของตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยในการประชุมสุดยอดนี้ ให้ถูกต้องตามหลักสากล ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อนุมัติ
ตำรวจภูธรภาค 7 ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 7 ส่วนหน้า (ศปก.ภ.7 สน.) ขึ้นที่ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 และได้ออกคำสั่งปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้เชิญส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมที่ ศปก.ภ.7 สน. เพื่อร่วมหารือวางแผนเกี่ยวกับแผนเผชิญเหตุในการรักษาความสงบเรียบร้อยในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เช่น กองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดทหารบกเพชรบุรี ศูนย์ประสานข่าวกรอง ภาค 4 ตำรวจสันติบาล และหน่วยงานตำรวจ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่งการให้ขึ้นควบคุมการบังคับบัญชากับตำรวจภูธรภาค 7 ที่ประชุมได้หารือและลงมติเกี่ยวกับแผนเผชิญเหตุการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง ซึ่งสถานที่จัดการประชุมคือโรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท หัวหิน อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี ตั้งอยู่ในเขตที่อาจกระทบต่อการถวายความปลอดภัยเขตพระราชฐานวังไกลกังวล โดยที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการเจรจาและจัดให้กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องเข้ายื่นหนังสือต่อผู้แทนสมาคมอาเซียนให้เป็นระเบียบและถูกต้องตามหลักสากลและสิทธิมนุษยชน ศปก.ภ.7 สน. จึงได้นำมติที่ประชุมดังกล่าวออกเป็นแผนเผชิญเหตุ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (ภ.7-19-52)
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 09.00 น. กำลังพลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยร่วมปฏิบัติจากส่วนอื่น เช่น กองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งกำลังพลมาขึ้นควบคุมการบังคับบัญชาและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งสิ้น 6,437 คน ในระหว่างนี้มีการจัดประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกอาเซียน ณ โรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท หัวหิน
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้นำประเทศสมาชิกเริ่มเดินทางโดยเครื่องบินพิเศษ มาลงที่อากาศยานหัวหิน จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้นำประเทศสมาชิกได้เข้าพักในโรงแรม สุลต่านบรูไน, นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเลขาธิการอาเซียน (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ) เข้าพักที่โรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท โรงแรมที่ประชุม , นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว พักที่โรงแรมสปริงฟิลด์ ซี รีสอร์ท , นายกรัฐมนตรีพม่า พักที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ รีเจ้นท์ , นายกรัฐมนตรีเวียดนาม พักที่โรงแรมมาริออท คอทยาร์ด , นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ พักที่โรงแรมเชอราตัน ซึ่งจัดเป็นศูนย์ผู้สื่อข่าวด้วย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ พักที่โรงแรมฮิลตัน ,นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พักที่โรงแรมโซฟิเทล เซนทารา, ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พักที่โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่
- 3 -

การเดินทางของขบวนรถผู้นำในระหว่างการประชุม มีการติดขัดเล็กน้อย เนื่องจากมีขบวนรถบุคคลสำคัญหลายขบวน ทั้งที่เกี่ยวกับการประชุมและที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประชุม ซึ่งใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมเพียงเส้นทางเดียว แต่ไม่ถึงกับเป็นปัญหาอุปสรรคหรือเสียบรรยากาศของการจัดการประชุม การรักษาความปลอดภัยไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติหรือเกิดอาชญากรรมที่รุนแรงในพื้นที่จัดการประชุม การแสดงออกของกลุ่มผู้ชุมนุม มีเพียงการนัดชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์ไปรวมตัวกันทำกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ เช่น กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อพม่า ได้ไปรวมตัวขี่จักรยานแจกเอกสารประมาณ 20 คน ที่หอนาฬิกาเมืองหัวหิน กลุ่มคนเสื้อแดง ประมาณ 8 คน ได้ไปยื่นหนังสือข้อเรียกร้องที่โรงแรมเชอราตันแก่ผู้สื่อข่าว กลุ่มกรีนพีช ได้ขึ้นติดป้ายผ้าที่หน้าโรงแรม ข้อความว่า “Ten Nations One Vision Climate Action Now” และแสดงละครล้อเลียนใส่หน้ากากผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ที่ถนนหน้าทางเข้าโรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท กลุ่มภาคประชาสังคมจากประเทศพม่า ได้ยื่นหนังสือที่ศูนย์ผู้สื่อข่าวโรงแรมเชอราตัน แสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประชุมภาคประชาสังคมกับผู้นำประเทศ มีกลุ่มการเมืองเสื้อเหลือง ได้นัดและรวมพลประมาณ 200 คนเศษ เข้าพักที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ รีเจ้นท์ และที่บ้านพักเอกชน ทางด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานหัวหิน เพื่อเตรียมแสดงพลังสนับสนุนการประชุม แต่มิได้มีการเคลื่อนขบวนออกมาแสดงตัวแต่อย่างใด กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบฯ กลุ่มต่าง ๆ ได้แสดงออกด้วยการแจกเอกสารและปราศรัยที่สี่แยกเข้าตัวเมืองประจวบฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ไม่กระทบต่อการประชุม มีกระแสข่าวว่ากลุ่มเสื้อแดงจากจังหวัดอยุธยา จะมาชุมนุมแสดงการเคลื่อนไหวภายในพื้นที่ แต่จากการตรวจสอบแล้วไม่พบ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้จัดรณรงค์เพื่อให้ประชาชนมีการสนับสนุนการประชุม โดยก่อนหน้านี้ได้ให้มีการใส่เสื้อน้ำเงินคอยบริการตามจุดบริการข้างทาง ไปยังโรงแรมดุสิตฯ ซึ่งหน่วยงานด้านการข่าวทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ได้ร่วมกันติดตามข่าว และเข้าไปประสานเพื่อให้มีการแสดงออกที่ไม่ผิดกฎหมายหรือรบกวนการประชุม
สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาในการจัดการประชุมระดับนานาชาติครั้งต่อไป
1. กำลังพลและการฝึกอบรม
1.1 ควรจัดให้ผู้แทนครูหรืออาจารย์ที่ฝึกอบรมแต่ละชุด เช่น ชุดควบคุมฝูงชน ชุด รปภ.เส้นทาง ชุด รปภ.โรงแรม ชุดขับรถบุคคลสำคัญ ชุดเจ้าหน้าที่ รปภ.ประจำตัว ชุดอาวุธพิเศษ อยู่ประจำเป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อประจำ ศปก.สน. เพื่อช่วยเหลือควบคุมสั่งการ และนำตัวอย่างแผน หรือผลงานการฝึกอบรมที่ได้จากการฝึกมาจัดทำระเบียบปฏิบัติประจำของเจ้าหน้าที่ในแต่ละส่วนที่ได้ฝึกอบรมมาในการปฏิบัติหน้าที่จริง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ฝอ. ประจำ ศปก. เนื่องจากการปฏิบัติในครั้งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือครูอยู่ช่วย ทำให้ไม่ทราบขีดความสามารถของผู้รับการฝึกที่ปฏิบัติงานจริง ทำให้ขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานจริงตามที่ได้ฝึกอบรมมา


- 4 -

1.2 การจัดเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยุควบคุมสั่งการควบคุมขบวนรถบุคคลสำคัญ ควรจัดจากเจ้าหน้าที่วิทยุ สภ.ท้องที่ หรือ ภ.จว. ที่รู้เส้นทางเป็นอย่างดี และมีความชำนาญในการติดต่อสื่อสารขบวนรถบุคคลสำคัญ
1.3 ควรให้ ตร. จัดผู้ชำนาญการสายงานสนับสนุนพิเศษระดับสารวัตรขึ้นไป ของหน่วยสนับสนุนแต่ละสาขาที่ส่งกำลังมาขึ้นควบคุมการปฏิบัติในการปฏิบัติภารกิจ เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน หรือนายตำรวจติดต่อประจำ ศปก.สน.เพื่อช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในการควบคุมสั่งการหน่วยงานสนับสนุนพิเศษต่าง ๆ เช่น หน่วยบินตำรวจ ตำรวจน้ำ หน่วยควบคุมฝูงชน หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด โดยที่ในการประชุมครั้งนี้แต่ละส่วนได้จัดมาเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ แต่ขาดนายตำรวจติดต่อ (นตต.) ประจำ ศปก.สน. ส่วนหน่วยงาน ตร. ที่มาร่วมปฏิบัติหน้าที่ โดยมิได้เป็นหน่วยพิเศษ เช่น ตำรวจทางหลวง, ตชด., บช.ส., ตม. เป็นต้น ควรให้จัดนายตำรวจติดต่อที่มาร่วมประชุมที่ ศปก.สน. ได้ตลอดเวลา
1.4 ควรเลือกผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้านที่เหมาะสมกับภารกิจ และคุ้นเคยกับทีมงานในส่วนงานนั้น มากกว่าที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสายงานเดิม ทำหน้าที่ในภารกิจพิเศษนี้ เนื่องจากภารกิจเช่นนี้เป็นระยะเวลาสั้น มีเวลาเตรียมการน้อย อีกทั้งยังมีความตึงเครียดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านการข่าว สถานการณ์ และกำหนดการตลอดเวลา
1.5 การจัดกำลังพลทั้งในและนอกเครื่องแบบ ปฏิบัติงานควรคัดเลือกบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสมกับภารกิจที่ปฏิบัติ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ รปภ.โรงแรม ไม่ควรจัดคนที่ไว้ผมยาวหรือมักไม่โกนหนวด ไม่รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่เหมาะกับการปฏิบัติหน้าที่ในโรงแรม ซึ่งต้องแต่งกายชุดสูทสากล ส่วนผู้ที่ต้องแต่งเครื่องแบบให้คัดเลือกจากผู้ที่แต่งเครื่องแบบ เรียบร้อย สะอาด หมวกไม่เก่า
1.6 การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำหน้าที่ผู้บังคับขบวนรถบุคคลสำคัญ มีความสำคัญมาก เพราะต้องนั่งในรถนำของตำรวจทางหลวง และมีความรับผิดชอบในขบวนรถรองจากเจ้าหน้าที่ รปภ.ประจำตัวบุคคลสำคัญ ควรกำหนดภารกิจและหน้าที่การงานให้ชัดเจน และควรจัดจากระดับสารวัตรหรือรองผู้กำกับการขึ้นไป ที่มีความชำนาญในงานจราจรและพื้นที่ เพื่อจะทำให้มีทักษะและศักยภาพในการบังคับขบวนของผู้นำเข้าสู่ที่หมาย รวมทั้งประสานการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน (Liaison Officer) ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมักจัดจากระดับผู้อำนวยการกอง
1.7 ชุดล่วงหน้าควรจัดจากตำรวจในพื้นที่ เนื่องจากรู้พื้นที่และมีความอ่อนตัวในการปฏิบัติมากกว่าจัดจากสันติบาล ซึ่งมักอ้างว่าไม่รู้พื้นที่ และเป็นตำรวจต่างสังกัด ทำให้การร้องขอในการ รปภ.เพิ่มเติม เป็นไปด้วยความยากลำบาก



- 5 -

2. การข่าว แผนการปฏิบัติการ
2.1 การปฏิบัติครั้งนี้ กองตำรวจสื่อสารได้จัดรถสื่อสารถ่ายทอดเคลื่อนที่ มีขีดความ สามารถถ่ายทอดวีดีโอวงจรปิด จำนวน 1 กล้อง จากที่เกิดเหตุไปยัง ศปก.สน. ซึ่งไม่เพียงพอต่อการ รปภ. ในยุคปัจจุบัน ภ.7 ขอเช่ากล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังพื้นที่หน้าโรงแรมที่พักทุกแห่ง แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ทำให้ขีดความสามารถใน รปภ. และอำนวยการจราจรลดลง
2.2 การประเมินภัยคุกคามทางด้านการแสดงออกของกลุ่มชุมนุมประท้วง ยังไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะสาระของการประชุมที่อาจกระตุ้นให้เกิดการชุมนุมประท้วง เนื่องจากการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ให้มีภาคประชาสังคม หรือกลุ่มเอ็นจีโอ เข้าร่วมประชุมกับผู้นำประเทศสมาชิกด้วย แต่การประเมินภัยคุกคามมิได้นำปัจจัยเรื่องนี้มาพิจารณา ทำให้แผนการรวบรวมข่าวสารไม่ครอบคลุม ส่งผลถึงการเตรียมการปฏิบัติกับผู้ที่จะมาชุมนุมเรียกร้องยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร จึงมีการแสดงความไม่พอใจโดยการยื่นหนังสือประท้วงกับสื่อมวลชน ณ ศูนย์สื่อมวลชนโรงแรมเชอราตัน ของกลุ่มประชาสังคมพม่า คือกรณีคุณเด็บบี้ ได้ถูกปฏิเสธหรือมีท่าทีจากฝ่ายพม่าและกัมพูชา ที่ไม่ยินดีจะให้กลุ่มเอ็นจีโอจากประเทศดังกล่าวเข้าร่วมประชุมกับผู้นำด้วย เช่นเดียวกับเอ็นจีโอ ชาติอื่น เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
2.3 ควรจัดให้ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบ ค้นหาข่าว บนเว็บไซต์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดที่เกี่ยวกับการประชุม เช่น การก่อการร้ายสากล เว็บไซต์ของกลุ่มการเมือง กลุ่มเอ็นจีโอต่างประเทศที่เคลื่อนไหว เนื่องจากศักยภาพของ ศทส.ภ.7 และ ศทส.ภ.จว. ไม่มีศักยภาพที่จะทำได้ เพียงมีหน้าที่บริหารระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในงานเท่านั้น
2.4 ควรกำชับให้ ฝอ. ของแต่ละส่วนงานและนายตำรวจติดต่อใน ศปก.สน. พัฒนากระดานสถานการณ์ (Situation Board) และแผนที่สถานการณ์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์การบรรยายสรุป ข่าวสาร ในหน้าที่งานของตนได้ทุก 6 ช.ม. หรือให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บังคับบัญชาได้ทันทีเมื่อสั่งการ เนื่องจากสามารถบันทึกความก้าวหน้าของสถานการณ์ได้ทุกวัน การจัดทำแผนที่สถานการณ์ การวางกำลัง และสถานการณ์การข่าว ควรพัฒนาอยู่บนระบบแผนที่อิเล็คทรอนิคส์บนคอมพิวเตอร์แทนการติดแผนที่สถานการณ์บนแผนที่กระดาษ โดย ภ.7 ได้พัฒนาระบบการวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยข่าวกรองและภูมิศาสตร์ (TAWILS)
2.5 ควรมีการประชาสัมพันธ์การปฏิบัติในการแสดงออกที่เหมาะสมของแต่ละฝ่ายตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล เพื่อสร้างความเข้าใจไม่ให้มีการละเมิดกฎหมาย และเป็นตัวแบบในการสืบสวนสอบสวนเก็บรวบรวมพยานหลักฐานของชุดสอบสวน ตั้งแต่เริ่มต้นที่ยังไม่เป็นความผิด และนำมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ ว่าการปฏิบัติใดที่หมิ่นเหม่หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่า เป็นการแสดงออกตามสิทธิที่มีตามรัฐธรรมนูญ

- 6 -

3. การส่งกำลังบำรุงและการสื่อสาร
3.1 ควรประสานงานให้จังหวัดจัดตั้ง ศปก.ส่วนหน้า ในพื้นที่ใกล้กับสถานที่ประชุม เช่น ในกรณีการประชุมครั้งนี้ ควรขอให้จังหวัดเพชรบุรี จัดตั้ง ศปก.สน. ณ ที่ อบต.ท้องที่ หรือที่ว่าการอำเภอชะอำ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้ง ศปก.สน. ที่ว่าการอำเภอหัวหิน และ ภ.7 จัดเจ้าหน้าที่ติดต่อไปประชุมร่วม เพื่อให้การสนับสนุนตามภารกิจของจังหวัด เช่น การรักษาความสะอาด การควบคุมมวลชน การบริการด้านสาธารณูปโภค และเป็นที่ทำการของผู้ว่าราชการจังหวัด ป้องกันจังหวัด นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนของจังหวัด เทศบาล ปฏิบัติภารกิจตลอด 24 ช.ม. เช่นเดียวกับที่กระทรวงการต่างประเทศ ตั้ง ศปก.ที่ โรงแรมวิลันดา และฝ่ายทหาร ตั้ง ศปก.ที่ กอร.ไกลกังวล หัวหิน
3.2 ควรกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่มาปฏิบัติภารกิจนำวิทยุประจำตัวมาปรับคลื่นความถี่ที่ต้องใช้ในภารกิจนี้ แจ้งนามเรียกขานของตนเมื่อมารายงานตัวให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับงานตัวบันทึกไว้แล้วแจกจ่าย และให้แจ้งความเคลื่อนไหวกับศูนย์ควบคุมสั่งการทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ รปภ.ประจำตัวบุคลสำคัญ หรือผู้บังคับขบวนรถ ซึ่งในการปฏิบัติครั้งนี้เจ้าหน้าที่ รปภ.บุคคลสำคัญ ระดับรัฐมนตรี มักไม่ค่อยแจ้งศูนย์ควบคุมสั่งการ เมื่อมีการเคลื่อนขบวนออกจากที่พักของบุคคลสำคัญ ทำให้ศูนย์ควบคุมสั่งการมีปัญหาบ้างในการจัดลำดับความเร่งด่วนของการใช้เส้นทางของบุคคลสำคัญแต่ละระดับ
4. ด้านประชาสัมพันธ์ งานมวลชน
4.1 การประชาสัมพันธ์ ให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง ยังมีการประชาสัมพันธ์น้อยไป ประชาชนได้รับความเดือดร้อนบ้างจากการปิดถนนรถขบวนของผู้นำ
4.2 การรายงานข่าวโดยใช้ SMS แก่ผู้บังคับบัญชาของ ตร. ที่รับผิดชอบภารกิจนี้ ได้ผลดีระดับหนึ่ง แต่ควรจะทำความเข้าใจหรือมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานหรือนายเวรเปิดตรวจสอบและแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชาทันที เพื่อความรวดเร็วเกี่ยวกับการชิงเสนอข่าวสารที่ถูกต้องก่อนสื่อมวลชน
4.3 บัตรผ่านของกระทรวงการต่างประเทศ ควรแจ้งล่วงหน้าและแสดงตัวอย่างให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติตามโรงแรมได้ทราบ
4.4 การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ยังไม่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ คงเป็นการประชาสัมพันธ์แบบแยกส่วน หรือไม่มีทิศทางเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายใดมีระดับการสนับสนุนการประชุมระดับใด เท่าใด หรือสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานระดับใด
5. งบประมาณและการเงิน
5.1 ภ.7 ขอรับการสนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 24,651,320 บาท ตร.อนุมัติโดยจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 14,944,620 บาท สรุปค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในภารกิจฯ แต่ 20 ก.พ.- 2 มี.ค.52 ของหน่วยในสังกัดเป็นเงินทั้งสิ้น 19,665,600 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม
- 7 -

จำนวน 4,720,980 บาท สาเหตุที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจาก กำลังที่ปฏิบัติภารกิจบางส่วน ตร.ไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่าย เช่น กำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจแฝง เช่น เจ้าหน้าที่เวรยามเฝ้ารถ เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดศูนย์ปฏิบัติการ, เจ้าหน้าที่ตำรวจ รปภ. ป้องกันการก่อวินาศกรรมระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่, งานบริการต่าง ๆ เช่น ตกแต่งศูนย์ปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถขนผู้ต้องหา เป็นต้น
5.2 ควรให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดงบประชาสัมพันธ์ ให้แก่ฝ่ายตำรวจเพื่อการ รปภ.บุคคลสำคัญด้วย เพราะต้องสร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะด้านการจราจร และความร่วมมือของมวลชนในพื้นที่
5.3 ควรมีการเตรียมการจัดชุดมวลชนสัมพันธ์ ไปเตรียมการด้านมวลชนและลงพื้นที่เฝ้าตรวจ แจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของมวลชนในพื้นที่จัดการประชุมก่อนด้วย
6. การใช้ ศปก.ส่วนหลัง
6.1 การจัดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ศปก.ภ.7 ส่วนหลัง ณ ที่ตั้ง ตำรวจภูธรภาค 7 จังหวัดนครปฐม ได้ช่วยเหลือ ศปก.ภ.7 ส่วนหน้า ค่ายพระรามหก ในการเฝ้าฟังและบันทึกเทปการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ทางสื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์
6.2 เฝ้าฟังระวังป้องกันการเคลื่อนไหวของกลุ่มมวลชนในพื้นที่จังหวัดอื่น ที่อาจเข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่จัดการประชุม ส่งไปให้ ศปก.ภ.7 ส่วนหน้า ที่ค่ายพระรามหก วันต่อวัน ทางช่องทางอินเตอร์เน็ต
6.3 อำนวยการในการประสานการ รปภ. ขบวนรถบุคคลสำคัญระดับรัฐมนตรี และสัมภาระที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านเส้นทางในจังหวัด นอกเขตจังหวัดเพชรบุรี

--------------------------------------------







บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ ภ.7 โทร. 0-3424-3751 ต่อ 26
ที่ 0023.123/ วันที่ มีนาคม 2552
เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติและข้อขัดข้องเบื้องต้นในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้าน
การจราจรในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14


เรียน รอง ผบ.ตร. (มก)

ตามสั่งการของท่านด้วยวาจา ให้ ภ.7 จัดส่งสรุปผลการปฏิบัติและข้อขัดข้องในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 เบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการประชุมจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ในวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552
พร้อมบันทึกนี้ ได้แนบเอกสารดังกล่าวมาด้วยแล้ว จำนวน 6 แผ่น โดยจะนำเสนอข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการปฏิบัติในโอกาสต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

พล.ต.ต.
( ชัยชาญ กิติจันทร์ )
รอง ผบช.ภ.7 ปรท.ผบช.ภ.7













ด้านกำลังพลและการฝึกอบรม

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเตรียมการปฏิบัติงาน ไม่มีตัวอย่างที่ได้รับการฝึกมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จริง เช่น ไม่มีตัวอย่างแผน รปภ.โรงแรม มาเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติจริง และ ผู้บังคับบัญชาไม่ทราบขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่รับการฝึกอบรมมาแล้ว เท่าที่ควร
1.1 จัดตัวแทนครูหรืออาจารย์แต่ละชุด เช่น ชุด รปภ.โรงแรม เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อประจำ ศปก.สน. ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา ควบคุมสั่งการ
1.2 ตัวแทนครูหรืออาจารย์ที่เป็นนายตำรวจติดต่อประจำ ศปก.สน. จัดทำตัวอย่างหรือแผนการปฏิบัติให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ปฏิบัติหน้าที่จริงแต่ละด้าน
2. การจัดลำดับความเร่งด่วนของการใช้เส้นทางของขบวนบุคคลสำคัญ ไม่คล่องตัว
2. จัดเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยุควบคุมสั่งการจาก ภ.จว.หรือ สภ.ที่รู้เส้นทางดี และเคยทำหน้าที่เป็นประจำ
3. เมื่อต้องการสั่งการหน่วยที่มาขึ้นควบคุมการปฏิบัติ หรือหารือวางแผนการสั่งใช้กำลัง ไม่สามารถติดต่อกับหน่วยที่มาขึ้นควบคุมการปฏิบัติได้
3. ทุกหน่วยที่มาขึ้นปฏิบัติจัดนายตำรวจติดต่ออยู่ประจำหรือเข้าเวร ศปก.สน.
4. ทีมงานแต่ละด้านขาดการประสานงานภายในทีมงาน
4. เลือกผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้าน (หัวหน้า) แล้วให้หัวหน้าไปเลือกลูกมือหรือทีมงานเองที่คุ้นเคยหรือรู้มือกัน
5. จัดกำลังพลทำงานไม่เหมาะสมกับภารกิจหรือสถานที่ เช่น ใส่สูท แต่นั่งข้างขอบถนน โรงแรม หรือแต่งเครื่องแบบเก่า ไม่เหมาะกับการนั่งในขบวนรถบุคคลสำคัญ
5. จัดคนให้เหมาะกับงานหรือภารกิจ หรือสถานที่
6. ผู้บังคับขบวนรถบุคคลสำคัญขาดความคล่องแคล่วในการติดต่อ
6. คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุด ระดับสารวัตรหรือรองผู้กำกับการ ที่เคยผ่านงานจราจร หรือเคยอยู่ในขบวนรถบุคคลสำคัญ
7. ชุดล่วงหน้าไม่คุ้ยเคยพื้นที่และมักอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ในการไปสำรวจหรือ รปภ.สถานที่ล่วงหน้า ที่เป็นภารกิจเร่งด่วน ไม่มีในแผนของผู้นำ
7. เนื่องจากภารกิจเช่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหรือความอ่อนตัวมาก ควรจัดจากตำรวจพื้นที่ที่รู้พื้นที่ และอยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้บังคับบัญชาใน ศปก.สน. ซึ่งมักจะเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาสังกัดของตน ที่แม้จะสั่งนอกภารกิจ แต่มีความจำเป็น เพื่อให้งานสำเร็จก็เต็มใจที่จะทำ.สนญชาในากภารกิจเช่นนี้มีกาุมก------------.ที่ โรงแรมวิลัน

ด้านการข่าวและแผนการปฏิบัติ

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. การยึดครองพื้นที่ ไม่มีประสิทธิภาพต้องใช้กำลังตำรวจเฝ้าตรวจอย่างเดียว ทำให้เสียกำลังพล
1. ควรเช่าหรือจัดหาวีดีโอวงจรปิด เพื่อเฝ้าตรวจและยึดครองพื้นที่ป้องกันผู้ชุมนุมเรียกร้อง มายึดครองพื้นที่หรือทำให้ผิวถนนใช้การไม่ได้ด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ
2. การประเมินภัยคุกคาม ไม่ครบถ้วน
2. จัดเจ้าหน้าที่ติดตามผลการประชุมโดยตรง เพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามที่เกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง เนื่องจากผลการประชุม เช่น กรณี กลุ่มประชาคมพม่าถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมประชุมภาคประชาสังคมกับผู้นำประเทศอาเซียน จึงยื่นหนังสือประท้วงต่อนักข่าวต่างประเทศ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยบ้าง ซึ่งทางฝ่าย ศปก. ไม่ได้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามหรือตอบสนองต่อข่าวสารที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร
3. เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของภาคและ ภ.จว. ไม่มีศักยภาพเสนอแนะ สืบค้นเว็บไซต์ที่เป็นสิ่งบอกเหตุของกลุ่มก่อการร้ายสากลหรือกลุ่มเอ็นจีโอที่จะมาประท้วง
3. ให้ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (สทส.) ตรวจสอบเว็บไซต์ แจ้งเตือนแนวโน้มข่าวสารที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อการประชุม (จัดให้อยู่ในแผนรวบรวมข่าวสาร ตามวงรอบข่าวกรอง)
4. ฝอ. และนายตำรวจติดต่อ ไม่มีกระดานสถานการณ์ แผนที่สถานการณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การบรรยายสรุปข่าวสารในหน้าที่งานของตนได้ทันที
4. กำชับให้แต่ละ ฝอ. และ นตต. จัดทำกระดานสถานการณ์ แผนที่สถานการณ์ บนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แผนที่ และจัดทำบรรยายสรุปเป็นเพาเวอร์พอยต์ บรรยายสรุปได้ตลอดเวลา
5. ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะตำรวจไม่เข้าใจเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพการแสดงออกตามหลักสิทธิมนุษยชน กับการกระทำหรือประท้วงที่เป็นการรบกวนที่ผิดกฎหมายหรือคุกคามต่อการประชุม
5. จัดทำตัวแบบเหตุการณ์สมมติ และคำอธิบายในการปฏิบัติ ในการแสดงออกแต่ละกรณี ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เช่น การยกป้ายที่เป็นข้อความสร้างสรรค์ กับการยกป้ายที่เป็นข้อความหมิ่นประมาท อธิบายให้ตำรวจและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ


การส่งกำลังบำรุงและการสื่อสาร

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. เมื่อต้องการประสานงานหรือร้องขอให้จังหวัดที่รับผิดชอบงานมวลชนในพื้นที่ การดูแลรักษา ปรับปรุงแต่งสถานที่ หรือเส้นทางเมื่อมีเหตุการณ์มักติดต่อได้แต่ทางโทรศัพท์
1. ร้องขอให้จังหวัดตั้ง ศปก.ส่วนหน้าในพื้นที่ใกล้กับสถานที่ประชุม รวบรวมงานแต่ละด้านของแต่ละจังหวัดมาเข้าเวร ปฏิบัติหน้าที่ 24 ช.ม. เช่นเดียวกับฝ่ายตำรวจเพื่อแก้ปัญหาได้ 24 ช.ม.
2. การติดต่อทาง ว. เป็นปัญหาเนื่องจากตำรวจมาจากหลายหน่วย ใช้คลื่นความถี่ไม่ตรงกัน ไม่ทราบนามเรียกขานของทีมงานหรือต้องการติดต่อ
2.1 กำชับให้นำวิทยุติดตัวมาด้วยทุกคน ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่
2.2 ศปก.สน. จัดเจ้าหน้าที่สื่อสารมาปรับความถี่ให้กับเครื่องวิทยุ
2.3 ศปก.สน. จัดเจ้าหน้าที่รับลงทะเบียน พร้อมแจกบัตร รปภ.ประจำตัว หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และกำชับให้ลงนามเรียกขานเพื่อแจกจ่ายได้ทันที


















การประชาสัมพันธ์

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. ยังมีประชาชนแสดงความไม่พอใจ มีการบีบแตรเมื่อหยุดรถ ก่อนขบวนผู้นำผ่าน
1. ประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และมีการวัดระดับความเข้าใจรับรู้ของประชาชน ที่จะสนับสนุนการประชุม
2. ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. แจ้งว่าไม่ได้รับข่าวสารอย่างทันเวลา จากระบบ SMS บนโทรศัพท์มือถือ
2. ศปก.สน. ทำหนังสือประสานงานกับผู้บังคับบัญชาหรือนายเวร เพื่อให้ทราบถึงระบบการแจ้งข้อมูลข่าวสารอย่างเร่งด่วน ทุกเรื่องที่อาจกระทบต่อการประชุมหรือการปฏิบัติงานของตำรวจก่อนที่สื่อมวลชนจะนำไปลงข่าว
3. เจ้าหน้าที่ รปภ.ประจำโรงแรม ไม่ยอมให้ผู้ถือบัตรผ่านบางประเภทเข้าในพื้นที่หวงห้าม
3. ประสานงานกระทรวงการต่างประเทศล่วงหน้า แจ้งบัตรผ่านให้ทุกส่วนปฏิบัติเข้าใจว่าบัตรใดมีสิทธิเท่าใด
4. การประชาสัมพันธ์ขาดเป้าหมายและทิศทาง กล่าวคือ ไม่มีการรายงานว่าประชาชนมีการรับรู้หรือสนับสนุนการทำงานของตำรวจในภารกิจนี้เท่าใด อย่างไร ต้องมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมหรือแก้ไขในเรื่องใด
4. จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติตามแผนอย่างมีกระบวนการ














งบประมาณและการเงิน

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. ตร.สนับสนุนงบเฉพาะภารกิจหลัก ภารกิจแฝงหรืองานสนับสนุน เช่น การทำความสะอาด ตร.ไม่ได้จัดสนับสนุนให้
1.1 พิจารณางบประมาณให้เหมาะสม
1.2 ผู้ที่สั่งการให้กำลังตำรวจเข้าปฏิบัติในหน้าที่เพิ่มเติม ควรรับผิดชอบแต่ละส่วนเอง หากมีความจำเป็นให้เสนอของบประมาณได้ในภายหลัง ตามที่ ตร.อนุมัติ เนื่องจากภารกิจลักษะนี้เป็นภารกิจเร่งด่วน จึงมักมีการจัดกำลังเพิ่มเติมเสมอ
2. งบประมาณที่จัดให้ไม่มีงบประชาสัมพันธ์
2. พิจารณาจัดงบประชาสัมพันธ์
3. การควบคุมมวลชนในพื้นที่จัดการประชุม ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ปัจจุบันยังใช้งาน ชมส.ของพื้นที่ตามปกติ ซึ่งไม่อาจเพียงพอต่อภารกิจ หากมีปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จัดการประชุมสูง จะต้องใช้ชุดมวลชนสัมพันธ์เข้าไปปฏิบัติการจิตวิทยา จัดเตรียมประชาชนเพื่อให้การสนับสนุนการประชุม
3. ควรประมาณการในการจัดชุดมวลชนสัมพันธ์ไปดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่จัดการประชุม
















การใช้ ศปก.ส่วนหลัง

ปัญหา
แนวทางพัฒนา
1. ศปก.ส่วนหน้า ไม่มีศักยภาพและเครื่องมือที่จะเฝ้าฟังข่าวทางโทรทัศน์ได้ทุกสถานี และไม่อาจบันทึกเทปได้
1. ศปก.ส่วนหลัง ดำเนินการเฝ้าฟังบันทึกเทปจัดสนับสนุนประมาณการด้านการข่าวแก่ ศปก.ส่วนหน้า
2. ศูนย์วิทยุหรือศูนย์ควบคุมสั่งการของ ศปก.ส่วนหน้า ไม่มีศักยภาพในการอำนวยการควบคุมสั่งการ กว้างไกล ครอบคลุมพื้นที่ ภ.7
2. ศปก.ส่วนหลัง อำนวยการประสานการ รปภ.ขบวนรถบุคคลสำคัญและสัมภาระที่อาจเดินทางผ่านเส้นทางนอกเขตจังหวัดเพชรบุรี
3. ศปก.ส่วนหน้า มุ่งเน้นบริหารเหตุการณ์หรือดำเนินกิจกรรมในพื้นที่การประชุม อำเภอชะอำ-หัวหิน
3. ศปก.ส่วนหลัง แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารกลุ่มผู้ชุมนุมที่อาจเคลื่อนไหวนอกพื้นที่เข้าไปยังสถานที่ประชุม