วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์:ตำรวจไทยตัองนำมาใช้

A-1
APPENDIX A
PRINCIPLES OF STRATEGIC COMMUNICATION
1. Caveat
a. The nine “Principles of Strategic Communication” listed in Figure A-1 are included
in the Principles of Strategic Communication Guide, signed by the Principle Deputy
Assistant Secretary of Defense for Public Affairs 15 August 2008, Figure A-2.
b. These principles are provided in this handbook to assist dialogue and instruction,
promoting understanding of Strategic Communication. They are not listed in order of
precedence.
2. Discussion
a. Leadership-Driven—Leaders must decisively engage and drive the strategic
communication process. To ensure integration of communication efforts, leaders should
place communication at the core of everything they do. Successful Strategic
Communication – integrating actions, words, and images – begins with clear leadership
intent and guidance. Desired objectives and outcomes are then closely tied to major lines
of operation outlined in the organization, command or joint campaign plan. The results
are actions and words linked to the plan. Leaders also need to properly resource strategic
communication at a priority comparable to other important areas such as logistics and
intelligence.
Definition of a principle: A fundamental tenet; a determining characteristic; an
essential quality; an enduring attribute.
DOD Memorandum Principles of Strategic Communication Guide
15 August 2008
Figure A-1. Principles of Stragetic Communication
PRINCIPLES OF STRATEGIC COMMUNICATION
Credible Understanding
Dialogue Pervasive
Unity of Effort Results-Based
Responsive Continuous
Perception of truthfulness and respect Deep comprehension of others
Multi-faceted exchange of Ideas Every action sends a message
Integrated and coordinated Tied to desired end state
Right audience, message, time, and place Analysis, planning, execution, assessment
Leadership-Driven
Leaders must lead communication process

-------------------
read more / อ่านเพิ่มเติมจากต้นฉบับ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอการพัฒนาการควบคุมฝุงของตำรวจไทย

บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ ฝอ.2 บก.อก.ภ.7 โทร. 0 3424 3751 – 5 ต่อ 26
ที่ 0023.12/ วันที่ 12 พฤษภาคม 2552
เรื่อง การตรวจสอบและวิจารณ์การฝึกควบคุมฝูงชนเพื่อ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียน ผบช.น. (ผ่าน ผบก.ตปพ.)

1. ต้นเรื่อง
ตามสั่งการด้วยวาจาของ ผบช.น.ได้ประสาน ผบช.ภ.7 เมื่อ 4 พ.ค.2552 ให้กระผม พ.ต.อ.ณรงค์ ทรัพย์เย็น ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7 ไปตรวจสอบวิจารณ์การฝึกและเสนอแนะการพัฒนาการฝึกการควบคุมฝูงชน ซึ่ง บช.น.ได้จัดฝึก กก.ปจ.บก.ตปพ.ร่วมกับกำลังของ บช.ตชด.,บก.ป.เพื่อเตรียมการ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน ที่ประชุม ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯใน 7-8 พ.ค.2552 และให้เสนอแนะการพัฒนาการฝึก การเตรียมกำลังตำรวจควบคุมฝูงชนของ ตร.ในภาพรวมนั้น
2. ข้อเท็จจริง
2.1 กระผมได้ไปสังเกตการณ์ฝึกเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2552 (วันฉัตรมงคล) ที่สโมสรตำรวจ บางเขน มี เวลา 09.00 น มี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา และ พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ รอง ผบช.น. เป็นประธาน กำลังที่มาฝึกประกอบด้วย ร้อย ปจ.จาก กก.2 (ปจ.) บก.ตปพ.จำนวน 3 กองร้อย ,ร้อย ปจ.(คอมมานโด) จาก บก.ป.จำนวน 2 กองร้อย , จาก กก.ตชด.11 จำนวน 1 กองร้อย และ จาก กก.ตชด.12 จำนวน 1 กองร้อย รวม 7 กองร้อย
2.2 เวลา 09.30-10.30 น. พ.ต.อ.ไพทูรย์ มณีอินทร์ ผกก.2 บก.ตปพ.(กก.ปจ.).ได้บรรยายและนำภาพวีดิโอเกี่ยวกับ ฝูงชนที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในห้วงที่ผ่านมา และภาพการสาธิตการฝึกการใช้กำลัง กองร้อยควบคุมฝูงชน ซึ่งท่าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร.ได้จัดสาธิตเมื่อ 28 เม.ย.2551 ณ สนามกีฬาบุณยะจินดา และเวลา 10.30-11.00 น. พ.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิติประภัสสร์ รอง ผบก.ตปพ.ได้บรรยายผลจากการไปสัมมนาร่วมกับ บก.กองทัพไทย เมื่อ 4 พ.ค.2552 เกี่ยวการควบคุมฝูงชนในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 12 เม.ย.2552 และเวลา 11.00-12.00 น กระผมได้บรรยายเกี่ยวกับหลักการจัดการฝึก ตามคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐซึ่งจะเน้น ให้ฝึกเหมือนกับสภาพที่ต้องไปทำงานจริง FM 7-1 BATTLE FOCUSED TRAINING (ฝึกเหมือนกับที่ต้องรบจริง)) และกระผมเห็นว่ากำลังพลส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจที่ต้องปรับปรุง จึงได้ขอให้เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้มาดูภาพยนตร์เรื่อง Rule Of Engagement (แปลว่ากฎการใช้กำลัง แต่ชื่อเรื่องภาษาไทย ใช้ว่า “คำสั่งฆ่าคนบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ ไปช่วยทูตออกมาจากวงล้อมของฝูงชนที่บ้าคลั่งล้อมสถานทูตอยู่ แต่ทำให้มีคนตายถึง 83 คน หัวหน้าชุดจึงต้องขึ้นศาลทหาร เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการนำพยานหลักฐานการแก้ปัญหาฝูงชนมาสู่ศาล ถึงการใช้กำลังหรืออาวุธอย่างไร จึงไม่เกินกว่าเหตุ) เพื่อให้ตำรวจที่ดูมีความรู้สึกภาคภูมิใจกับ
/ภารกิจ....
- 2 -
ภารกิจที่ต้องมาปฏิบัติในครั้งนี้ (สรุปเนื้อเรื่องการบรรยายปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1)
2.3 เวลา 13.00-17.00 น ได้มีการฝึกจำลองเหตุการณ์ให้กองร้อยควบคุมฝูงชนทั้ง 7 กองร้อยเข้าสลายฝูงชน โดยใช้แผนรักษาความสงบของ ตร.ปี 48 (แผนกรกฎ 48) เป็นแนวทางการปฏิบัติในการเข้าสลายฝูงชนที่สมมุติเหตุการณ์เข้ายึดพื้นที่ ทำเนียบรัฐบาลแล้วไม่ยอมออกจากพื้นที่ โดยใช้สนามหน้า กก.2 ปจ. เป็นสถานที่สมมุติว่าเป็นทำเนียบรัฐบาล ใช้รถฉีดน้ำ การใช้รูปขบวนระดับกองร้อยเข้าผลักดัน การใช้การจับกุมและการใช้กระสุนยาง และลูกระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าผลักดัน ผลการปฏิบัติส่วนใหญ่ กำลังของ กก.ตชด.11 และ กก.ตชด.12 จะไม่เข้าใจในการปฏิบัติในการควบคุมสั่งการของ ผบ.ร้อย ผบ.มว ปจ.ในการจัดรูปขบวนเข้าปฏิบัติ ณ ที่หมาย เนื่องจากเป็นการสนธิกำลังมาจาก กองร้อย ตชด.ในสนาม ทั้งตัวกำลังในกองร้อย ปจ. และตัวผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มีการฝึกซ้อมมาก่อน (ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบการนำหน่วย)
2.4 วันรุ่งขึ้น (6 พ.ค.2552) กำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนที่ฝึกทั้ง 7 กองร้อย ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาการณ์ กลุ่ม นปช. ที่มายื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล และกลับมาฝึกซ้อมอีกครั้ง เมื่อเวลา 14.00 น. โดยมี พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต ผบก.ตปพ. เป็นผู้ควบคุมการฝึก , พ.ต.อ.ดำรงค์ศักดิ์ฯ รอง ผบก.ตปพ.ร่วมฝึกโดยทำหน้าที่เป็น ผบ.เหตุการณ์, พ.ต.อ.ไพทูรย์ฯ เป็นผู้ให้ปัญหาฝึก เป็นการฝึกจำลองเหตุการณ์ในการเข้าสลายการชุมนุม เหมือนที่ผ่านมา โดยได้ปรับปรุงการฝึกใหม่ มีการ นำระบบการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร มาใช้ โดยจัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการสลายการชุมนุม มอบภารกิจให้แก่ ผบ.ร้อย หรือผู้ควบคุมกำลังทั้ง 7 กองร้อย ให้บรรยายสรุปกลับ (Backbrief) ซักซ้อมความเข้าใจ โดยให้ ผบ.ร้อย ทั้งหมด ปฏิบัติตามหลักการ “ระเบียบการนำหน่วย” และได้กำหนดให้มีการซ้อมจำลองเหตุการณ์การปฏิบัติเข้าสลายการชุมนุม ณ ที่หมายจำลอง เฉพาะตัว ผบ.มว.และ ผบ.ร้อย เพื่อความสะดวกในการฝึก เป็นขั้นตอน (ฝึกผู้บังคับบัญชาเพื่อการวางกำลัง และการปฏิบัติก่อน เป็นการฝึกทางยุทธวิธีโดยไม่ใช้กำลังพลร่วมฝึก (Tactical Exercise Without Troops = TEWT) จำนวน 1 รอบก่อน เมื่อเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนของ ผบ.เหตุการณ์แล้ว จึงได้มีการฝึกเคลื่อนกำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยมีผู้ชุมนุมสมมุติเข้าปะทะกับกองร้อยควบคุมฝูงชน ประกอบการใช้รถฉีดน้ำ กระสุนยาง และแก๊สน้ำตา การจับกุมแกนนำ ซึ่งการฝึกเป็นไปตามขั้นตอนด้วยดี
2.5 ผบก.ตปพ.ได้สั่งให้ ผบ.ร้อย และผู้ควบคุมกำลังนำกำลังทั้งหมดไปปฏิบัติหน้าที่ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน ขึ้นการบังคับบัญชากับ ศปก.บช.น.(สน.) ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ก่อนเวลา 23.00 น.ของวันที่ 6 พ.ค.2552 และกระผมได้รับคำสั่งจาก ผบช.น.ให้มาสังเกตการณ์ ของ ศปก.บช.น.สน. และการใช้กำลังควบคุมฝูงชนดังกล่าว โดย กำลังทั้งหมดได้รับมอบภารกิจให้ยืนเฝ้าจุดระวังป้องกันโรงแรมดุสิตธานี โดยกองร้อยควบคุมฝูงชนจาก กก.ตชด.11 ,12 กก.2 บก.ตปพ.รวม 5 กองร้อย วางกำลังด้านถนนพระราม 4 (ทิศเหนือด้านหน้าโรงแรม) และกำลัง จำนวน 2 กองร้อยจาก บก.ป.เฝ้าจุดระวังป้องกันด้านถนนสีลม (ทิศตะวันตกของโรงแรม) กำลังทั้งหมด ได้เลิกปฏิบัติเพราะเสร็จสิ้นการประชุม บุคคลสำคัญเดินทางกลับหมดเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 8 พ.ค.2552 การปฏิบัติบรรลุภารกิจ เหตุการณ์ปกติ ไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด

/3. ข้อพิจารณา...
- 3 -
3. ข้อพิจารณา
3.1 กรอบในการให้ข้อเสนอแนะของกระผม จะใช้ฐานการตรวจสอบการฝึกในครั้งนี้ และการจัดกำลังเข้าทำงานในการควบคุมฝูงชนของ ตร.ในภาพรวม ทั้งในเขต บช.น.,ภ.1 (สนามบินสุวรรณภูมิ),และการชุมนุมของกลุ่มการเมืองและกลุ่มเรียกร้องต่าง ๆ ในประเทศไทยเช่นที่จังหวัดอุดรธานี หรือการปิดถนนของกลุ่มผู้ชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้กรอบการเสนอแนะ 3 กรอบดังนี้
3.1.1 ใช้กรอบการเสนอแนะการดำเนินการควบคุมฝูงชนในภาพรวมของ ตร.เนื่องจาก กำลังของ กองบัญชาการใด กองบัญชาการหนึ่งหรือการปฏิบัติของ บช.ใด บช.หนึ่งไม่ครอบคลุมการชุมนุมเรียกร้องได้หมด (เช่น ผู้ชุมนุมมาจากต่างจังหวัดเข้าไปชุมนุมใน กทม. ,แกนนำจาก กทม.ไปจัดชุมนุมที่ต่างจังหวัด เพราะเหตุผลของระบบการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ และสื่อสารมวลชนที่ดีขึ้น)
3.1.2 .ใช้กรอบเสนอแนวคิดที่เป็น ระบบการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องที่เป็นหลักสากลที่อารยะประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องยอมรับ หรือออกกฎ หรือถือปฏิบัติ ตามที่ศาลปกครองกลาง ได้กำหนดไว้ในคำสั่งศาล ที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อ 7 ต.ค.52 มากกว่าที่จะนำเสนอหรือชี้ข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไขเป็นรายละเอียดการปฏิบัติ แต่จะนำเสนอ เป็นลักษณะของ ระบบการแก้ไขเหตุการณ์ เครื่องมือ หรือระบบการบริหารเหตุ หรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้แก้ไขได้เป็นระบบ ยั่งยืน และเป็นหลักสากลได้มากกว่า การเสนอแนะแก้ไขเป็นส่วน ๆ
3.1.3 มุ่งเน้นเสนอแนะ ที่สามารถแก้ไข หรือเป็นไปได้ ทั้งในมิติของงบประมาณ กฎหมาย ระเบียบ ในระยะเวลาอันใกล้ก่อน
3.2 ข้อเสนอแนะการปรับปรุงระบบการควบคุมฝูงชนในประเทศไทย
3.2.1 การปรับปรุงองค์ความรู้การควบคุมฝูงชน เนื่องจากคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของกรมตำรวจ ฉบับประกาศใช้ เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2536 ได้ใช้มาเป็นเวลานานและหลักการพื้นฐาน กลยุทธ์ น่าจะเหมาะสำหรับการควบคุมฝูงชนที่เกิดจากฝูงชนที่ไม่ได้มีการจัดตั้ง หรือมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างในปัจจุบัน ประกอบกับแกนนำฝูงชนในปัจจุบัน มักเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหรือผ่านงานด้านสงครามกองโจรรบพิเศษหรือสงครามการเมือง รูปแบบของฝูงชนจึงมีความซับซ้อน และมีการวงแผนอย่างแยบยลทั้งระดับยุทธวิธีและระดับยุทธศาสตร์ แต่คู่มือการปฏิบัติควบคุมฝูงชนที่ ตร. ใช้ฉบับลงวันที่ 20 ส.ค.2536 เป็นคู่มือการปฏิบัติระดับยุทธวิธีเท่านั้น จึงเห็นควรใช้คู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐ เรื่อง การควบคุมฝูงชน (F.M.3-19.15 CIVIL DISTURBANCE OPERATIONS) ฉบับเดือนเมษายน 2005 (เอกสารประกอบหมายเลข 2) ซึ่งเขียนขึ้นจากพื้นฐานการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาสันติภาพ ซึ่งการก่อความไม่สงบจากฝูงชนมักเกิดจากพื้นฐานทางการเมืองแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน
3.2.1.1 สิ่งที่ ผบช.น. ห่วงใยและยกเป็นประเด็นในการประชุมทางจอภาพของกองอำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน ของ ตร. ที่ผ่านมา กรณีการใช้กระบองของชุดควบคุมฝูงชน คู่มือตาม F.M. 3-19.15 หน้า 4-5 ได้เปลี่ยนหลักการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ที่ไม่ตีหรือกระแทกจุดตายจาก

/ที่กำหนด...
- 4 -
ที่กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของกรมตำรวจ ฉบับวันที่ 20 ส.ค.2536 หน้า 162 (เอกสารประกอบหมายเลข 3)
3.2.1.2 กลยุทธ์ใน F.M. 3-19.15 จะใช้ฐานความคิดจากระบบ “การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร” โดยใช้ฐานการข่าวเป็นหลัก เมื่อข่าวเปลี่ยนไปการประมาณการหรือการประมาณสถานการณ์ก็จะเปลี่ยนไป ทำให้การใช้กลยุทธ์หรือวิธีการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ชุมนุม (ที่ต้องพิจารณาปัจจัย METT – TC = ภารกิจ ภัยคุกคาม สภาพพื้นที่ สังคม กำลังฝ่ายเรา เวลา และการยอมรับได้ของสังคม) ใช้ให้เหมาะสมกับปัจจัยดังกล่าว กว้างขวางกว่าที่แผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) หรือที่คู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของ ตร. เมื่อปี 2536 กำหนดไว้ เช่น การใช้เรื่องการข่าว กลยุทธ์การป้องกันการรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่ต้น การรักษาความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ดาวกระจายไปแต่ละจุด การใช้ชุดตรวจการณ์คุ้มกันจากที่สูง (DM = Designated marksman) การใช้ชุดจับกุมขนาดใหญ่ (Mass Arrest) เป็นต้น
3.2.1.3 การต้องยึดถือหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือหลักการสากลในการควบคุมฝูงชน โดยที่ผ่านมาคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของ ตร. ฉบับปี 2536 มิได้พูดถึงความชอบธรรมหรือแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการควบคุมฝูงชน สหประชาชาติได้ออกปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักการพื้นฐานการใช้กำลังและอาวุธของผู้รักษากฎหมาย ฉบับข้อมติที่ 45/121 ลง 18 ธ.ค.1990 (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ได้กำหนดหลักการสากลเกี่ยวกับการใช้กำลังควบคุมฝูงชน จะต้องใช้จากเบาไปหาหนัก สมส่วน และต้องมีการทดสอบมาตรฐานการใช้กำลังหรือต้องให้ผู้ที่รักษากฎหมายใช้กำลังหรืออาวุธ ต้องมีการฝึก (เอกสารประกอบหมายเลข 4 ข้อที่ 12,13,14,19 และ 20) จึงทำให้หน่วยงานตำรวจทั่วโลกหรือผู้ที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฝูงชน จะต้องถือหลักสำคัญของการใช้กำลังให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว เช่น กองทัพไทย ได้ประกาศกฎการใช้กำลังในการปราบปรามจลาจล ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะที่ 19/50 ลง 7 มี.ค.2550) (เอกสารประกอบหมายเลข 5) และหน่วยตำรวจในต่างประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา จะมีคณะกรรมการที่กำหนดมาตรฐานการใช้กำลังของตำรวจในด้านต่าง ๆ รวมถึงกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางในการควบคุมฝูงชน เช่น คณะกรรมการมาตรฐานการฝึกอบรมของผู้รักษาความสงบ (Commission on Peace Officer Standard and Training = POST) ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาญา มาตราที่ 13514.5 ออกแนวทางให้หน่วยตำรวจในมลรัฐแคลิฟอร์เนียถือปฏิบัติในการควบคุมฝูงชน (เอกสารประกอบหมายเลข 6) แต่ตำรวจไทยไม่เข้าใจในเรื่องกฎการใช้กำลังนี้ โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้และไม่เข้าใจและไม่มีการฝึก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ที่หน้ารัฐสภา ภาระความรับผิดชอบ โดยเฉพาะทางกฎหมายจึงตกหนักกับ ผบ.เหตุการณ์ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ ตร.
3.2.2 การปรับปรุงระบบวิธีการจัดการฝึก
3.2.2.1 การฝึกควบคุมฝูงชนของ ตร.ที่ผ่านมา มักใช้ระบบการฝึกที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน เช่น เน้นเฉพาะการฝึกกำลังพลที่อยู่ประจำในกองร้อยควบคุมฝูงชนเท่านั้น ให้มีความพร้อมในการใช้โล่กระบองและรูปขบวน โดยส่วนมากละเลยการฝึกระดับผู้บังคับบัญชา คือ ผบ.
/หมวด ผบ.ร้อย...
- 5 -
หมวด ผบ.ร้อย ควบคุมฝูงชน เกี่ยวกับระเบียบการนำหน่วย การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) และส่วนใหญ่การฝึกอบรมของตำรวจไทยจะเน้นแค่ “การมีความรู้” เป็นเหตุให้ไม่มีการฝึกทักษะการนำหน่วย หรือการใช้สถานการณ์ด้านการข่าวมาเป็นตัวชี้นำในการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาการควบคุมฝูงชน ส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) จะเป็นเครื่องมือหรือสูตรสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาฝูงชน โดยละเลยหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจหรือทักษะในการใช้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือระบบแสวงข้อตกลงใจทางทหาร ซึ่งก็จะทำให้ส่งผลย้อนกลับไปถึงการจัดการฝึกที่ไม่ตรงกับที่ต้องไปทำงานจริง เพราะผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการไม่ได้มีความคิดหรือความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชาการเหตุการณ์หรือการแสวงหาข้อตกลงใจทางทหาร จึงเห็นควรมีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติตามแนวความคิดในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐที่ว่าฝึกให้เหมือนกับที่ต้องไปทำงานจริง F.M.7-1 (Battle Focused Training)
3.2.2.2 พัฒนาระบบฝ่ายอำนวยการและศูนย์ปฏิบัติการ
ตามหลักนิยมของการฝึกการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ จะต้องให้ฝ่ายอำนวยการมาร่วมฝึกด้วย 2 ระดับ เช่น การฝึกซ้อมในครั้งนี้ เป็นการฝึกเพื่อเตรียมกำลังควบคุมฝูงชนใช้ในภารกิจการจัดการชุมนุมเรียกร้องในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยในคู่มือการจัดการและวางแผนรักษาความสงบ สำหรับจัดงานสำคัญ : แนวทางสำหรับผู้รักษากฎหมาย (Planning for and Managing Demonstrations) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (เอกสารประกอบหมายเลข 7) ได้เสนอแนะหลักการว่าต้องมีการฝึกเรื่องการข่าว เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาผู้ชุมนุมที่จะมารบกวนการจัดงานด้วย ในการฝึกครั้งนี้หากไม่มี ศปก.บช.น. และ ศปก.ตร. ที่ช่วยสนับสนุนด้านการข่าว กลุ่มผู้ชุมนุมที่จะมารบกวนการประชุม หรือที่อาจกระทบต่อการประชุม เช่น กลุ่มผู้ค้าที่ถูกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จับกุมเรื่องลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าที่ย่านพัฒพงษ์ก่อนการประชุม เนื่องจากกองร้อยควบคุมฝูงชนที่รับการฝึก 7 กองร้อยดังกล่าว ไม่มีขีดความสามารถและเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานด้านการข่าว ทั้งในและนอกเขต บช.น. ศปก.น. ควรทำหน้าที่ ที่บังคับการ (หลัก) ที่สนับสนุนด้านการข่าว การส่งกำลังบำรุง ส่วน ศปก.ตร. ควรทำหน้าที่ ศปก.หรือ ที่บังคับการหลัง ที่สนับสนุนข้อมูลการข่าวนอก บช.น. และสนับสนุนข้อมูลด้านกฎหมาย (กฎการใช้กำลังหรือกฎการปะทะ) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกปฏิบัติหรือการทำงานที่ต้องปะทะกับฝูงชน นอกจากนี้ ศปก.ตร. ควรสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตำรวจและให้ง่ายต่อการรักษาความสงบ
3.2.3 การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์
3.2.3.1 ควรพัฒนาเรื่องการสื่อสารของทีมควบคุมฝูงชน ให้มีระบบปากพูดหูฟังติดที่หมวก โดยเฉพาะระดับ ผบ.หมู่ ผบ.หมวด ผบ.ร้อย เพื่อการสั่งการและพัฒนาข้อมูลด้านการข่าวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่จุดรวมพลไปจนถึงการปฏิบัติ ณ พื้นที่เป้าหมาย
3.2.3.2 ควรให้มีหมายเลขหมวก เพื่อป้องกันความไม่มีตัวตนที่ตำรวจจะไปทำร้ายประชาชน และไม่ทราบว่าตำรวจผู้ใดทำร้าย (ผลจากการสรุปบทเรียนในการควบคุมฝูงชน การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือน พ.ย.1999 และกรณีที่ตำรวจอังกฤษ ถูกกล่าวหาว่าผลักชายอายุ 40 กว่าปี ที่เดินผ่านมา ในขณะควบคุมฝูงชน และเสียชีวิตในเวลา
/ต่อมา...
- 6 -
ต่อมา ในการประชุม G20 เมื่อ 1 เม.ย.2552) ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ไปผลักหรือไปทำร้ายประชาชนไม่มีชื่อหรือหมายเลขประจำตัว ให้ผู้อื่นมองเห็นได้ ภาระทางกฎหมายจึงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชา หรือผู้บัญชาการเหตุการณ์
3.2.3.3 ควรพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ตามความต้องการขององค์ความรู้ด้านการควบคุมฝูงชนที่ต้องให้ฝ่ายอำนวยการ มีการติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา และอำนวยความสะดวกแก่กำลังพลเมื่อต้องเคลื่อนย้าย เช่น การจัดรถศูนย์ปฏิบัติการเคลื่อนที่ ที่มีเครื่องมือสื่อสาร และห้องน้ำห้องส้วมไว้บริการ จากการสอบถามกำลังพลที่มาฝึกในครั้งนี้ ได้ชี้แจงว่าหน่วยงานต่าง ๆ มักเดือดร้อนจากการที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมและตำรวจมาใช้สถานที่ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ
3.2.4 การพัฒนาระบบขวัญและกำลังใจ ขวัญและกำลังใจของข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมฝูงชนทุกส่วน อยู่ในภาวะที่ตั้งรับและมีความรู้สึกไม่ภาคภูมิใจในหน้าที่ ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาเรื่องใด หรือจะทำการฝึกควบคุมฝูงชน โดยใช้ระบบหรือเครื่องมืออย่างไร เมื่อผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชามาอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับการควบคุมฝูงชน หรือกำลังพล ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่มาทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน ไม่มีความเต็มใจ ภาคภูมิใจ หรือมีความสำนึกในหน้าที่ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว ก็จะไม่สามารถพัฒนาได้ ภาระทั้งหมดจะตกอยู่กับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่ จึงควรดำเนินการดังนี้
3.2.4.1 ควรให้ ตร. กำหนดสมรรถนะประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มงานที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ เช่น สายป้องกันปราบปราม จราจร สืบสวน กำหนดไว้ในแบบประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ท้ายหนังสือ ตร. ที่ 0004.51/ว 101 ลง 2 ส.ค.2550 โดยให้มีสมรรถนะในเชิงทักษะการควบคุมฝูงชนแต่ละระดับ เช่น ผบ.หมู่ ควรมีทักษะการใช้กระบอง โล่ ในการควบคุมฝูงชน และจัดรูปขบวนควบคุมฝูงชนได้ถูกต้อง ส่วนระดับ รอง สว. ขึ้นไป ให้กำหนดสมรรถนะในเชิงทักษะ ในการใช้ระเบียบการนำหน่วยในการควบคุมฝูงชน หรือวางแผนในการควบคุมฝูงชนได้ ตามแบบที่ใช้ทดสอบ หากไม่ผ่านการประเมินควรที่จะไม่ให้รับเงินเพิ่มพิเศษดังกล่าว หรือหากเคยปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชน ในรอบปีได้ 10 ครั้งขึ้นไป อาจให้ถือว่าผ่านการประเมิน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันระบบการรับเงินเสี่ยงภัยของตำรวจ มีลักษณะที่น่าจะมีข้อกำหนดที่ง่ายกว่าวิชาชีพอื่นที่รับเงินเพิ่มพิเศษ
3.2.4.2 ควรกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านประชาสัมพันธ์หรือหรือปฏิบัติการจิตวิทยาของตำรวจ นำหลักการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communication) มาใช้ในการสร้างความชอบธรรมหรือส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการควบคุมฝูงชน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการในเชิงรุก ด้านยุทธศาสตร์ เสริมจากการปฏิบัติการด้านข่าวสาร (Information Operations) ซึ่งเป็นการปฏิบัติในเชิงตั้งรับในปัจจุบัน
4. ข้อเสนอแนะ
ปรากฏตามเอกสารหมายเลข 8

พ.ต.อ.
( ณรงค์ ทรัพย์เย็น )
ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7























เอกสารประกอบหมายเลข 8
ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระบบการควบคุมฝูงชนในประเทศไทย

ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
1 การฝึกอบรม การปรับปรุงองค์ความรู้การควบคุมฝูงชน 1. นำหลักการในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐ เรื่อง การควบคุมฝูงชน (F.M.3-19.15 CIVIL DISTURBANCE OPERATIONS, คู่มือ F.M.7-1 BATTLE FOCUSED TRAINING (ฝึกเหมือนกับที่ต้องรบจริง)) และคู่มือการจัดการและวางแผนรักษาความปลอดภัยสำหรับจัดงานสำคัญ : แนวทางสำหรับผู้รักษากฎหมาย (Planning for and Managing Demonstrations) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยให้ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์จัดพิมพ์แปลและแจกจ่ายให้กับกำลังพล
2. ทำหนังสือขออนุญาตใช้คู่มือตามข้อ 1. เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในการควบคุมฝูงชนต่อสถานเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์ และเพิ่มน้ำหนักในการใช้อ้างอิง เมื่อใช้เป็นข้ออ้างในศาลสำหรับตำรวจ หากเป็นคู่มือของ ตร. เอง เชื่อว่าน้ำหนักน่าเชื่อน่าจะน้อยกว่าของต่างประเทศที่มีความเป็น “สากล” มากกว่า
3. จัดการฝึกให้คล้ายกับที่ทำงานจริง โดย ศปก.น. ร่วมฝึกด้วยกับกองร้อย ปจ. คล้ายกับที่ปฏิบัติงานจริงในแต่ละหน้าที่
4. ออกประกาศกฎการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชนให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และส่งให้องค์กรเอกชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และสำนักตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลได้ตรวจสอบเห็นชอบ และฝึกกำลังพลในการเผชิญเหตุตามแนวทาง 1. จัดทำคู่มือการควบคุมคุมฝูงชนของ ตร. ที่พัฒนาและทันสมัยและเหมาะสมกับประเทศไทย มากกว่าใช้ของต่างประเทศ
2. จัดระบบการฝึกอบรมการควบคุมฝูงชน 3 หลักสูตร
2.1 กำลังพลในกองร้อยควบคุมฝูงชนทั่วไป
2.2 ผู้ปฏิบัติงานอาวุธพิเศษในการควบคุมฝูงชน เช่น เครื่องยิงแก๊สน้ำตา ระเบิดขว้าง กระสุนยาง
2.3 ระบบบัญชาการเหตุวิกฤติการควบคุมฝูงชน (อบรม ผบ.หมวด ผบ.ร้อย ฝ่ายอำนวยการและผู้บังคับบัญชา)
3. กำหนดให้บันทึกการฝึกอบรมและการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมฝูงชนลงในสมุดประจำตัวสายตรวจตามระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 24
บทที่ 22 นอกเหนือจากบันทึกใน กพ.7 1. บช.ศ. , รร.นรต. และ บช.ต่าง ๆ จัดการฝึกอบรมและบันทึกผลการฝึกอบรมลงในสมุดประจำตัวสายตรวจ เพื่ออนุมัติให้เป็นไปตามปฏิญญาสากลของสหประชาชาติว่าด้วยกลักการพื้นฐานของการใช้กำลังและอาวุธของผู้รักษากฎหมาย
2. จัดการฝึกกองร้อยควบคุมฝูงชนผู้บังคับบัญชาให้ครบทุกหลักสูตร และให้เหมือนปฏิบัติการจริง
3. ในการฝึกทุกระดับให้นำกฎการใช้กำลังของ ตร.ไปทำการฝึกด้วย โดยอาจออกแนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุที่ต้องเผชิญแต่ละภารกิจ (Graduated Response matrix =GRM)
2 –
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
นี้โดยอาจออกแนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุที่ต้องเผชิญแต่ละภารกิจ (Graduated Response Matrix =GRM) เช่น ถ้าประชาชนขว้างไข่ใส่ตำรวจ ตำรวจจะไม่ตอบโต้ แต่ถ้าทุบกระจกทางเข้าโรงแรมตำรวจจะจับกุม หรือใช้แก๊สน้ำตา เป็นต้น 4. ศปก.ตร., บช.ศ. และ รร.นรต. จัดการวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาหลักนิยมในการฝึกสรุปบทเรียนทำเป็นตำราหลักนิยมคล้ายกับที่ปฏิบัติงานจริง
5. จัดทำระบบคู่มือการฝึกหรือคู่มือปฏิบัติงานให้มีระบบคล้ายคู่มือราชการสนามตามแบบของกองทัพบกไทย
6. จัดทำระบบสมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง โดยเน้นการฝึกและสมรรถนะด้านการควบคุมฝูงชนให้มีชุดครูฝึกที่มีสมรถนะสูงสุด ทำการฝึกหลักสูตรกำลังพลในกองร้อยควบคุมฝูงชนทั่วไปได้
7. ออกกฎการใช้กำลังโดยขออนุมัติจากรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และฝึกกำลังพลทุกระดับตามแนวกฎการใช้กำลัง
2 ระบบการข่าว 1. นำระบบการฝึก การบัญชาการเหตุการณ์ และระบบการแสวงข้อตกลงใจทางทหารมาใช้ในการฝึกและการปฏิบัติงานจริง โดยฝ่ายการข่าวและเจ้าหน้าที่ใน ศปก.จะต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนเพื่ออำนวยการให้การปฏิบัติหน้าที่ของกองร้อยควบคุมฝูงชนที่อยู่ในพื้นที่ได้มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยตลอดเวลา
2. ประเมินภัยคุกคามในเชิงเลวร้ายทีสุดในการรักษาความปลอดภัย 1. จัดระบบ ศปก.ตร.เป็น ทก.ส่วนหลัง ในการประสานงานด้านการข่าวนอกเขตพื้นที่ บช.ต่างๆ สนับสนุนการปฏิบัติของ บช.ที่เกิดเหตุวิกฤตหรือากรชุมนุม
2. กระจายข่าวกรองของ ศปก.ตร.ให้ทันเวลา บริการแก่หน่วยกำลังหรือ 1. จัดระบบ ศขส.สภ.มีฐานข้อมูลข่าวประจำตู้ยามสายตรวจตำบลเกี่ยวกับแกนนำทุกกลุ่ม
2. มีระบบเกาะติดแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของกลุ่ม

- 3 -
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
การจัดงานต่างๆ กองร้อย ปจ.ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
3. ดำเนินมาตรการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communition) เพื่อสร้างความชอบธรรม และประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้แก่หน่วยตำรวจ แกนนำในพื้นที่ของสายตรวจตำบล ตู้ยาม และอำนวยความสะดวกแกนนำที่จะเข้าไปชุมนุมตั้งแต่ต้นทาง
3 การพัฒนาขวัญและกำลังใจของกำลังพลทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน 1.ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนมีความภาคภูมิใจในภารกิจที่ทำ ในยามที่ยังไม่มีเหตุ โดยไม่ต้องรอการปฏิบัติการข่าวสารเมื่อมีการปฏิบัติหน้าที่แล้ว หรือมีประเด็นที่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุแล้ว
2.ใช้ระบบสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งผู้รับเงินเสี่ยงภัยต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะทุกปี แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ร้อย ปจ.ควรกำหนดให้ผ่านการทดสอบทันทีเมื่อผ่านการฝึก ปจ. และทำหน้าที่ 10 ครั้งต่อปีขึ้นไป โดยบันทึกไว้ในสมุดประจำตัวสายตรวจ 1. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการจิตวิทยาของ ตร.ดำเนินการตามแผนประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ในการควบคุมฝูงชน
2. จัดทำระบบคะแนนเพิ่มในการเป็นแต้มต่อในการสอบเลื่อนฐานะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร กรณีที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนหรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อันตราย ปฏิบัติแนวทางเดียวกับ บช.น.
4 การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ 1.จัดทำระบบนโยบายการใช้อุปกรณ์ในการควบคุมฝูงชนต่างๆ หรือกฎการใช้กำลัง การใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น เครื่องยิงแก๊สน้าตา เครื่องช็อตไฟฟ้าเทเซอร์ (การฝึกครั้งนี้ชุดอาวุธพิเศษของ กก.2 ตปพ.มีเครื่องช็อตไฟฟ้าไปร่วมฝึกด้วย แต่ยังไม่ได้ใช้แสดงและยังไม่มีกฎการใช้ที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร 1. จัดระบบให้โรงเรียนตำรวจ หรือ ศฝร.มีระบบการรับรองคู่มือและมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมฝูงชน เช่น กระสุนแก๊สน้ำตา กระสุนยาง เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่าใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานยิงไปแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิต
- 4 -
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
2. ประสานกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชบให้มีหน่วยงานในการทำหน้าที่รับรองความมีมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนมากกว่าที่จะออกมาวิจารณ์เมื่อมีเหตุสงสัยถึงอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว 1. ตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์การควบคุมฝูงชนให้ตรงตามมาตรฐานและจำหน่ายอุปกรณ์ที่หมดอายุแล้ว เช่น แก๊สน้ำตา



ตรวจแล้วถูกต้อง

พ.ต.อ.
(ณรงค์ ทรัพย์เย็น)
ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คู่มือการเขียนแผนปฏิบัติราชการสถานีตำรวจ

คู่มือ
การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ของสถานีตำรวจ





จัดทำโดย
พันตำรวจเอก ณรงค์ ทรัพย์เย็น
ฝ่ายอำนวยการ ๒ กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๗



คำนำ

แผนปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจนับว่าเป็นหัวใจในการบริหารงานที่สำคัญ ซึ่งใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการทุกด้านของสถานีตำรวจ อีกทั้งยังใช้เป็นแนวทางในการให้บริการประชาชนและใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกในการบริหารของผู้บริหารสถานีตำรวจ
จึงหวังว่าเอกสารคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการของสถานีตำรวจเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร งานตำรวจและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมทั้งประชาชน



พันตำรวจเอก ณรงค์ ทรัพย์เย็น
ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ ๒กองบังคับการอำนวยการ
ตำรวจภูธรภาค ๗
๑๓ เมษายน ๒๕๕๒ วันมหาสงกรานต์เดือด
โทร.๐๘๑-๙๘๑๑๘๘๖ email:sapyen.na@gmail.com
Blog:sapyenna.blogspot.com


สารบัญ
หน้า

หลักการและเหตุผล 1
ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำแผน 2
ส่วนประกอบของแผนปฏิบัติราชการ 2
กระบวนการบริหารตามแผนปฏิบัติราชการ
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกับการดำเนินงาน 3
ขั้นตอนในการจัดทำแผน 3
- การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงาน 4
- การสร้างกลยุทธ์หน่วยงาน 5
- การวิเคราะห์งบประมาณหน่วยงาน 6
- การจัดทำโครงการ/กิจกรรม 6
- หัวข้อการเขียนโครงการ 6 - 7
วิธีการจัดทำโครงการ 8
การดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม 8
แบบสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ 9
ภาคผนวก
ใบงานที่ 1 – 5 10 - 14
# สิ่งที่ต้องกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 15
บรรณานุกรม




หลักการและเหตุผล
แผนปฏิบัติการ หรือ แผนปฏิบัติราชการ ตามคู่มือนี้ ให้ถือว่าเป็นชื่อเรียกอย่างเดียวกัน เนื่องจากตามตำราหรือเอกสารทางวิชาการทั่วไป จะเรียกแผนทางด้านการบริหารที่กำหนดรายละเอียดโครงการ เป้าหมาย การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ นี้ว่า แผนปฏิบัติการ แต่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546 มาตรา ๙กำหนดไว้ว่า
“(๑) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่จะใช้ในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของภารกิจ...”
และในมาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ 2 ประเภท ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการ 4 ปี โดยต้องสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี (จัดทำตามปีงบประมาณ)โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติของส่วนราชการดังนี้
- เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ประมาณการรายได้และรายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
แผนปฏิบัติการของหน่วยงานประกอบด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแผนดำเนินการ
1. ผลผลิตที่หน่วยงานกำหนด
2. เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน
3. ตัวชี้วัดผลผลิต (ด้านปริมาณ,ด้านคุณภาพ,ต้นทุนและระยะเวลา)
4. งบประมาณที่ใช้
ในการจัดทำงบประมาณและการบริหารงบประมาณตามนโยบายภาครัฐ กำหนดให้เป็นไปตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Base Budgeting : SPBB) ดังนั้นหน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการให้บริการ กำหนดเป็นผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลาและต้นทุน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของแต่ละปี และใช้ในการจัดทำข้อตกลงการจัดทำผลผลิต (SDA) ระหว่างหน่วยงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการต่อไป
ดังนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานตำรวจทุกระดับ รวมทั้ง สถานีตำรวจ จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ โดยมีสาระของการให้บริการเดิมและสาระของการให้บริการใหม่ที่รัฐ หรือหน่วยงานต้นสังกัด เช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค หรือนโยบายของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับโดยตรง เพิ่มเติมนโยบายใหม่เข้ามา จัดทำเป็นงานหรือโครงการ โดยมีกิจกรรมแสดงเป็นรายละเอียดการทำงาน เพื่อกำหนดให้กิจกรรมเป็นตัวแทนของศูนย์ต้นทุน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักงบประมาณจะกำหนดให้นำค่าใช้จ่ายของศูนย์ต้นทุนดังกล่าวไปผ่านกระบวนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและต้นทุนผลผลิตต่อไป เพื่อนำไปใช้สำหรับวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ และใช้ต้นทุนผลผลิตและต้นทุนกิจกรรมสำหรับประมาณการ การจัดทำงบประมาณของหน่วยงานต่อไป ตลอดจนใช้พัฒนาต้นทุนของสถานีตำรวจ และ ของทุกหน่วยงาน เพื่อความเพียงพอสำหรับการจัดทำผลผลิตที่มีบริบทที่แตกต่างกันไป

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
1. เพื่อใช้เป็นกรอบ ทิศทาง และแนวทางในการพัฒนาหน่วยงาน
2. เพื่อใช้เป็นคู่มือในการบริหารจัดการหน่วยงาน
3. ใช้เป็นกรอบบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงาน
4. เพื่อให้หน่วยงานมีกรอบในการวางแผนและตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกในการบริหารงบประมาณ
5. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อไป
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

ส่วนประกอบของแผนปฏิบัติการ
1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานีตำรวจทั้งหมด
2. ส่วนที่ 2 ทิศทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ เป้าหมายผลผลิต ตัวชี้วัด (ซึ่งควรต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ผู้บังคับบัญชาได้จัดทำขึ้นตามระบบคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ)
3. ส่วนที่ 3 สรุปโครงการ/งบประมาณ
4. ส่วนที่ 4 รายละเอียดโครงการตามกลยุทธ์
ภาคผนวก


กระบวนการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการ
1. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค(SWOT Analysis) หน่วยงานทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานและสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน
2. กำหนดทิศทางของหน่วยงานเพื่อให้ได้วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
3. กำหนดยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ให้ออกมาเป็นแผนงาน(กลยุทธ์) โครงการ กิจกรรม งบประมาณ
4. ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด (โดยผ่านความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยในที่นี้คือ ผู้กำกับการ หรือ สารวัตรใหญ่ สารวัตร แล้วแต่ระดับของสถานีตำรวจ)
5. การควบคุมการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด
6. การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน โครงการ/กิจกรรม เพื่อประเมินสภาพหน่วยงานหลังจากการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรมแล้ว
7. พัฒนา ปรับปรุงตามผลงานจากการติดตามประเมินผล

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกับการดำเนินงาน
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) หรือแผนปฏิบัติราชการ มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดผลลัพธ์ (Outcome or Goals) หน่วยงานต้องกำหนดผลลัพธ์ของหน่วยงานที่ต้องการ
ผลผลิต (Outputs or Objective) หมายถึงผลผลิตที่หน่วยงานต้องการ กระบวนการ (Process) กำหนดกระบวนการที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่กำหนด
ทรัพยากร (Inputs) หมายถึงทรัพยากรต่างๆที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินตามกระบวนการที่กำหนด(เงิน คน วัสดุอุปกรณ์)
2. การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
ทรัพยากร กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์


การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงานและสภาพแวดล้อม(โดยวิธี SWOT Analysis)
2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยนำมาจากยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ยุทธศาสตร์ของจังหวัด และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรจังหวัด ปรับให้สอดคล้องกับกำหนดหน้าที่การงาน หรือภารกิจของหน่วยหรือสถานีตำรวจ
3. กำหนดเป้าหมาย โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัด โดยนำมาจากตัวชี้วัดของ ตร.ตำรวจภุธรภาค ตำรวจภะรจังหวัดและจากพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และของหน่วยเหนือ และปรับปรุงให้ให้เข้ากับสภาพของหน่วยงานหรือความเหมาะสม
4. กำหนดกลยุทธ์ หรือแผนงานให้สอดคล้องกับ เป้าหมาย หรือตัวชี้วัด
5. การเขียนรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และตัวชี้วัด
6. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นการรวบรวมส่วนต่างๆเป็นแผนปฏิบัติการและการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม (Implementation)
7. การควบคุม กำกับ ติดตามการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม
8. การประเมินผลและการรายงานผล


1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงาน เพื่อให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยงานและวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนและการส่งเสริมปรับปรุงจุดแข็งของหน่วยงาน
การฝึกปฏิบัติ
1. แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม (5 งานของสถานีตำรวจ คือ งานอำนวยการ,ป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน จราจร) ให้เวลาในการประชุม 50 นาที ให้อภิปรายในเรื่องจุดอ่อน และจุดแข็งของหน่วยงาน วิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อนและวิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงานตามตารางดังนี้ (สามารถหลอมรวมข้อความได้)

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง การส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง




2. นำผลจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง มากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ (นำวิธีแก้ไขจุดอ่อนจุดแข็ง)
การกำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการแสดงถึงความต้องการให้สถานีตำรวจเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต โดยย้อนมองอดีต มองปัจจุบัน วาดฝันอนาคตและนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์(ใบงานที่ 2)
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
การกำนดพันธกิจ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดได้
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
การกำหนดเป้าประสงค์ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................


3. กลุ่มย่อยนำเสนอผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง วิธีการพัฒนาปรับปรุง การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าประสงค์ ต่อกลุ่มใหญ่ ช่วยกันปรับปรุงหลอมรวมข้อความให้สอดคล้องกันและสรุปวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................

2. การสร้างประเด็นยุทธศาสตร์ของ สถานีตำรวจ กำหนดตัวชี้วัดและแนวทางในการดำเนินการ
แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม ( 5 งานของสถานีตำรวจ) ให้ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด ต้นสังกัด กำหนดตัวชี้วัดตามกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินการ (กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน) ให้วิเคราะห์เฉพาะที่หน่วยงานสามารถปฏิบัติได้) แล้วนำมาเป็นกลยุทธ์ของหน่วยงาน กำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงาน และแนวทางในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของหน่วยงาน (ใบงานที่ 3)
กลยุทธ์ที่ 1 ......................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัด............................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
แนวทางดำเนินงาน........................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. การวิเคราะห์งบประมาณของหน่วยงาน โดยคาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจ และดูจากการจัดสรรงบประมาณจาก ตำรวจภูธรจังหวัดให้แก่สถานีตำรวจในปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์หรือแนวทาง (ตามใบงานที่ 4)
3.1 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการระยะปานกลาง (3-5 ปี) เป็นการคาดถึงจำนวนงบประมาณที่จะได้รับในแต่ละปี โดยใช้จำนวนข้าราชการตำรวจเป็นตัวกำหนดแล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับในแต่ละระดับชั้น โดยวิธีการดังนี้
- คาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจที่สถานีตำรวจได้คาดว่าจะได้รับจัดสรร หรือโยกย้ายมา
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายใน ขีดความสามารถที่รับได้ จำนวนตำรวจ ขนาดหรือความเจริญของพื้นที่หรือภารกิจ เช่น มีการเปิดโรงงาน ศูนย์การค้า หรือศูนย์ราชการใหม่ในพื้นที่
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายนอก ความนิยม จำนวนประชากรในชุมชน สภาพเศรษฐกิจ สภาพชุมชน
3.2 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการประจำปี ให้ใช้จำนวนข้าราชการตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ(ช่วงตุลาคม) มาเป็นตัวกำหนด แล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับ ก็จะทำให้ทราบถึงรายรับของสถานีตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ รวมถึงรายรับด้านอื่นที่สถานีตำรวจจะได้รับค่อนข้างแน่นอน เช่นเงินอุดหนุนสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจจะได้รับจัดสรรจาก ตร.โดยตรงเดือนละ20,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของสถานีตำรวจ หรือเงินงบประมาณ หรือน้ำมันเชื้อแพลิง ที่จะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การจัดทำโครงการ/กิจกรรม มี 2 แบบ
4.1 แบบประเพณีนิยม เป็นการเขียนโครงการตามความถนัดหรือความต้องการของบุคคล ผู้บริหารหรือสถานีตำรวจ เป็นหลัก โดยไม่มีการยึดกลยุทธ์ของแต่ละหน่วยงานต้นสังกัด
4.2 แบบเหตุผลสัมพันธ์ เป็นการเขียนโครงการที่ผสมผสาน ความต้องการของสถานีตำรวจและกลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัด โดยการนำกลยุทธ์ของต้นสังกัดมาปรับให้เข้ากับความต้องการของสถานีตำรวจ
หัวข้อการเขียนโครงการ ประกอบด้วย (ใบงานที่ 5)
1. ชื่อโครงการที่ต้องดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ กลยุทธ์ที่ ลักษณะโครงการ งานที่รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ
ระยะเวลาดำเนินการ
2. หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้นๆ ความเป็นมา
3. วัตถุประสงค์โครงการ แสดงให้เห็นถึงผลที่จะเกิดหลังจากทำโครงการนี้
4. เป้าหมายของโครงการ เป็นการกำหนดผลงานของโครงการ โดยให้กำหนดเป็นตัวชี้วัด
ด้านปริมาณ แสดงเป้าหมายเป็นจำนวน
ด้านคุณภาพ แสดงถึงลักษณะเฉพาะอย่างของผลงาน
5. วิธีดำเนินการ แสดงถึงวิธีดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จะแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม (Activities plan)
6. งบประมาณ งบประมาณที่จะใช้ในโครงการและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในแต่ละด้าน แต่ละรายการ แหล่ง
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์


รวม

7. การวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลสำเร็จของโครงการ โดยการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้วัด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม





8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดคะเนผลของโครงการ หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้ว
- ด้านปริมาณ
- ด้านคุณภาพ
9. ผู้เสนอโครงการ - เช่น สว.ผู้รับผิดชอบงาน
ผู้เห็นชอบโครงการ –เช่น รองผู้กำกับการหัวหน้างานสถานีตำรวจ
ผู้อนุมัติโครงการ - ควรเป็น หัวหน้าสถานีตำรวจ ที่เป็นผู้อนุมัติโครงการ




\


วิธีการจัดทำโครงการ
1. นำแนวทางดำเนินงานจากขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์หน่วยงานมาบูรณาการเข้ากับวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนหรือการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นโครงการ/กิจกรรม ตามความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสถานีตำรวจ
2. นำแนวทางที่ได้หลังจากที่ได้บูรณาการแล้วมาเขียนโครงการตามรูปแบบที่กำหนด
3. นำเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหัวหน้างานโดยผ่านหัวหน้าสายงานที่รับผิดชอบ
4. นำเสนอโครงการในที่ประชุมผู้บริหารสถานีตำรวจ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการ หรือพิจารณาปรับปรุงโครงการให้เหมาะสม หรือถ้าสถานีตำรวจใด หัวหน้าสถานีตำรวจใช้ระบบอนุมัติงบประมาณรวมศูนย์ที่ตัว หัวหน้าสถานีตำรวจตัดสินใจเพียงคนเดียว ก็ควรต้องให้ หัวหน้าสถานีตำรวจอนุมัติงบประมาณ หรือถ้าไม่มีงบประมาณ ก็ควรจะปรึกษาหัวหน้าสถานีตำรวจว่าจะหางบประมาณมาได้จากช่องทางใด เช่น ขอสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พิจารณาโครงการตามความจำเป็นและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความเหมาะสมภายใต้กรอบวงเงินที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าแล้ว
6. เสนอโครงการที่ได้รับพิจารณาให้ผู้มีอำนาจเห็นชอบโครงการและอนุมัติโครงการ และเรียงลำดับความสำคัญของโครงการ (ในกรณีที่โครงการนั้น ต้องใช้เงินงบประมาณจากส่วนอื่น นอกเหนือจากของสถานีตำรวจ ก็ควรให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่จัดสรรเงินเป็นผู้อนุมัติโครงการ หรือให้เป็นเจ้าของโครงการ เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบงานงบประมาณ และหรือระเบียบการพัสดุ)
7. นำโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วรวบรวมจัดทำรูปเล่ม
8. ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการ ที่ได้รับพิจารณา

การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
1. งานอำนวยการของสถานีตำรวจ จัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความต้องการจำเป็นเร่งด่วน นำเสนอหัวหน้าสถานีตำรวจ ให้ความเห็นชอบและแจ้งให้เจ้าของโครงการทราบ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ โดยทำบันทึกแนบโครงการผ่านงานอำนวยการ ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการและงบประมาณ
3. เสนอขออนุมัติการดำเนินการต่อหัวหน้าสถานีตำรวจ
4. ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
5. ผู้บริหาร เช่น หัวหน้าสถานีตำรวจ รองผู้กำกับการ หรือรองหัวหน้าสถานีตำรวจ หัวหน้าสายงาน ติดตามการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
6. เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตามแบบสรุปโครงการ



แบบสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

1. ชื่อยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์................................................................................................................................................
2. ชื่อโครงการ..............................................................................................................................................
ระยะเวลา......................................................ผู้รับผิดชอบ........................................................................
3. วัตถุประสงค์.............................................................................................................................................
ผลที่คาดหวัง..............................................................................................................................................
4. กิจกรรม....................................................................................................................................................
5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ....................................................................................................................................
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ..................................................................................................................................
7. งบประมาณ..............................................................................................................................................
แหล่งงบประมาณ จำนวนที่ได้รับ จำนวนที่ใช้ คงเหลือ หมายเหตุ
งบประมาณ ตร./หน่วยเหนือ
งบประมาณจากหน่วยงานอื่น
เงินนอกงบ
รวม

8. ผลการดำเนินงาน
ผลที่คาดหวัง ผลที่ได้รับ ผลลัพธ์/หน่วย
(ร้อยละความสำเร็จ)
ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ



9. สรุป...........................................................................................................................................................
10. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ................................................................................................................

ลงชื่อ......................................................ผู้รับผิดชอบโครงการ ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมินผล
(.....................................................) (............................................)
ตำแหน่ง.................................................. ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีตำรวจ.............................



กลุ่มที่.............................................
ใบงานที่ 1 วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งหน่วยงานและวิธีปรับปรุงพัฒนา

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง วิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง










ใบงานที่ 2 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์

วิสัยทัศน์...........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

พันธกิจ............................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

เป้าประสงค์......................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................


ใบงานที่ 3 การสร้างกลยุทธ์ ตัวชี้วัด แนวทางดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ (ข้อความกลยุทธ์).........................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัดกลยุทธ์…………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
แนวการดำเนินงาน........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 4 การวิเคราะห์งบประมาณหน่วยงาน

สายงาน ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2553
ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ
งานอำนวยการ
งานป้องกันปราบปราม
งานสืบสวน
งานจราจร
งานสอบสวน







รวมงบประมาณทั้งสิ้น

ใบงานที่ 5 การจัดทำโครงการ/กิจกรรม

โครงการ........................................................................................................................................................................
กลยุทธ์ที่.......................................................................................................................................................................
ลักษณะโครงการ..........................................................................................................................................................
งานที่รับผิดชอบ...........................................................................................................................................................
ผู้รับผิดชอบ..................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ....................................................................................................................................................
หลักการและเหตุผล.......................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
วัตถุประสงค์
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
เป้าหมาย
เชิงคุณภาพ.....................................................................................................................................................
เชิงปริมาณ.....................................................................................................................................................
วิธีดำเนินการ
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................

แผนการดำเนินงาน
กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ผู้ควบคุม
ตค พย ธค มค กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย





งบประมาณ รวมทั้งสิ้น...............................บาท
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์



รวม

การวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม







ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านคุณภาพ.....................................................................................................................................................
ด้านปริมาณ....................................................................................................................................................


ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ
ลงชื่อ.................................................. ลงชื่อ......................................................
(……………………………….) (...................................................)
ตำแหน่ง.................................................... ตำแหน่ง.....................................................

ผู้อนุมัติโครงการ
ลงชื่อ.......................................
(........................................)
ตำแหน่ง ผู้กำกับการสถานีตำรวจ................

15.สิ่งที่ควรกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ(โครงการ)

1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการให้ชัดเจน
2. ระบุจำนวนวันและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
3. ระบุกลุ่มและกลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการ
4. ระบุเป้าหมายของโครงการทั้งด้านคุณภาพและด้านปริมาณ
5. กำหนดมาตรฐานคุณภาพของงาน สถานีตำรวจ ตามตัวชี้วัด โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
6. กำหนดผลผลิตของโครงการ
7. งบประมาณที่ใช้ต้องระบุรายการให้ชัดเจน
- ค่าตอบแทน - ค่าใช้สอย - ค่าวัสดุ (ระบุรายการ)




บรรณานุกรม

1. ดร.วัฒนา พัฒนพงษ์ :(2547) BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน,พิมพ์ดีการพิมพ์,กรุงเทพฯ.
2. สำนักงาน กพร.:(2548),การจัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติราชการประจำปี การติดตามผล
เว็อบไซด์ สำนักงาน กพร.
3. สำนักงาน กพร.:(2548),การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติด้วยการบริหารโครงการ เว็บไซด์สำนักงาน กพร.
4. สำนักงบประมาณ : (2552) ,แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๔)เพื่อการจัดทำงบประมาณ เว็บไซด์ สำนักงบประมาณ
--------------------------------------------------------------

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างข้อสอบวิชาแผนโครงการ หลักสุตรสารวัตร

คำถาม ก่อนเรียน วิชา แผนโครงการ ของ พ.ต.อ.ณรงค์ ทรัพย์เย็น http//sapyenna.blogspot.com โทร.๐๘๑-๙๘๑๑๘๖
-ให้เลือกคำตอบโดยขีดกากบาทข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
๑.ข้อใด ไม่น่าเป็นผลผลิตของ สภ.ที่ควรต้องเขียนไว้ในแผนปฏิบัติราชการ
ก.จำนวนครั้งที่ถวายความปลอดภัย
ข.การไกล่เกลี่ยคดีจำนวนกี่คดี
ค.จำนวนผู้ว่างงานที่ตำรวจแนะนำไปหางานให้
ง.จำนวนหมู่บ้านเป้าหมายที่สายตรวจตำบลไปทำชุมชนเข้มแข็ง
๒.ประสิทธิผล กับประสิทธิภาพ แตกต่างกันในมิติใดมากสุด
ก.ชื่อเรียก
ข.ความคุ้มทุน
ค.การใช้ทรัพยากร
ง.ถูกทุกข้อ
๓.ปัจจัย T-TERRAIN หมายถึงสิ่งใดบ้าง
ก.พื้นที่ สภ.โป่งยอ เป็นป่า มีเขาเป็นลูกคลื่น
ข.คนใน อ.โป่งยอ มีหลายเชื้อชาติ มีความเป็นเครือญาติสูง
ค.ข้อ ก.และ ข.
ง.สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองใน อ.โป่งยอ มีการแก่งแย่งกัน



๔.ข้อใด ไม่ใช่แผนแผนปฏิบัติการ
ก.แผนปฎิบัติการประจำปีจังหวัดสารขันธ์
ข.แผนบริหารราชการแผ่นดินประจำปี๕๓ ของรัฐบาล
ค.แผนปฏิบัติงานประจำปี๕๒ ของ ภ.จว.สันติบุรี
ง.แผนถวายความปลอดภัย พระราชอาคันตุกะเสด็จฯองค์พระปฐมเจดีย์
๕.แผนปฏิบัติงาน และแผนปฏิบัติราชการต่างกันอย่างไร
ก.ต่างกันที่ชื่อ
ข.แผนปฏิบัติงานใช้กับทุกหน่วยได้ ส่วนแผนปฏิบัติราชการ ใช้กับส่วนราชการ
ค.ถ้าเป็นแผนยาว๒ปีขึ้นไปใช้ว่าแผนปฏิบัติราชการ
ง.ถ้าเป็นแผนปีเดียวใช้ว่า แผนปฏิบัติการ
๖.สิ่งใดที่ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไม่ได้กำหนดว่าต้องมีในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ
ก.สภ.กระต่ายเต้นลดคดีลักรถ จยย.ปี ๕๓ ให้เหลือหาย ๓๐ คัน/ปี น้อยกว่าปี ๕๒ จำนวน ๑๐ ราย คิดเป็นลดร้อยละ ๑๐
ข.สภ.หนองบัว จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงตำรวจให้ได้ เต็มเดือนทุกเดือน
ค.สภ.หนองแห้ง จะลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าให้เหลือเดือนละ ๑๗,๐๐๐ บาท จากปี ๕๒ ที่จ่ายเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาทคิดเป็นร้อยละ ...........
ง.สภ.โคกสูง พัฒนาชุมชนหนองตาแต้ม และหมู่บ้านวังรัก จำนวน ๒ หมู่บ้านเป็นชุมชนเข้มแงปลอดยาเสพติดให้ได้ในปี ๕๓ เพิ่มจากปี ๕๒ จำนวน ๑ หมู่บ้าน
๗.ให้ท่านเลือกว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ของ สภ.โป่งยอ ข้อใด สอดคล้องกันที่สุด
ก.เป็นหน่วยงานที่ประชาชน ให้ความร่วมมือ ป้องกันแก้ไข ไม่ให้ชาวบ้านหวาดกลัวภัยอาชญากรรม
ข.มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม
ค.จัดทำส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง
ง.ดำเนินการจัดสายตรวจตำบลเป็นวิทยากรกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

๘.ตามข้อ ข้างต้น ข้อใด น่าจะเป็นผลผลิตในเชิงปริมาณที่ต้องกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการของ สภ.
ก.ข้อ ค.และ ง
ข.ข้อ ค.
ค.ข้อ ก
ง.ข้อ ง
๙.ข้อใดน่าจะเป็นตัวชี้วัดผลผลิตด้านคุณภาพ ที่ควรต้องประกอบไว้ในแผนปฏิบัติราชการของ สภ.
ก.จับกุมผู้ขายยาเสพติดรายย่อยได้ ๑๑๑ ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๕๒ ร้อยละ๑๐
ข.จับกุมผู้เสพยาเสพติดได้ ๑๒๐๐ ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๕๒ ร้อยละ ๑๐
ค.จับกุมผู้ขายยาเสพติดรายย่อยได้จากการขยายผลเครือข่าย ได้ ๒๐ ราย เพิ่มขี้นจากปี ๕๒ ร้อยละ ๑๐
ง.จับกุมผู้ค้ารายใหญ่ได้ที่จุดตรวจได้ยาบ้า เกิน ๔๐๐๐ เม็ด เพิ่มขึ่นจากปี ๕๒ ร้อยละ ๑๐
๑๐.ข้อใดน่าจะเป็นตัวชี้วัดผลผลิตด้านคุณภาพ ที่ควรต้องประกอบไว้ในแผนปฏิบัติราชการของ สภ.
ก.มีผู้ร้องเรียนพนักงานสอบสวนเหลือ ๑ราย/ปี/พงส.๑ คน
ข.พนักงานสอบสวนรับคดีเพิ่มมากขึ้น ๑๐๐ คน/คดี/ปี
ค.ผู้แจ้งความพึงพอใจการบริการของ พงส.เพิ่มเป็นร้อยละ ๘๐ มากกว่าปี ๕๒ ที่กำหนดไว้ร้อยละ ๗๐
ง.ร้อยละการสั่งคดีของพนักงานอัยการ ตามความเห็นพนักงานสอบสวนในการสั่งคดี เป็นร้อยละ ๙๙ ของคดีที่เป็นสำนวน(เว้นคดีศาลแขวง)
๑๑. สภ.โคกสูง ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบท ได้รับนโยบาย ๖ หลัก ๙ เร่ง ที่ ภ.จว.สันติบุรี ได้เขียนไว้ในแผน นโยบายด้านการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ให้มีการจัดกิจกรรมการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ข้อใดที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการของ สภ.โคกสูง ตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าวของ ภ.จว.สันติบุรี ได้ดีที่สุด
ก.ทำเว็บไซด์ให้บริการประชาชนฝากบ้านไว้กับตำรวจในเทศกาลสำคัญ
ข.ออกเสียงตามสายในหมู่บ้านโดยสายตรวจตำบลให้พ่อแม่ดูแลอย่าให้เด็กๆขับรถ จยย.ช่วงสงกรานต์
ค.จัดกิจกรรมนำชาวบ้านเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันต้านยาเสพติดโลก
ง.เชิญชวนประชาชนมาชมนิทรรศการให้ประชาชนจัดสภาพแวดล้อมหมู่บ้านเพื่อป้องกันอาชญากรรมที่สถานีตำรวจ
๑๒.ข้อใดควรจะเป็นวิสัยทัศน์ของ สภ.อ่างทองเหลือง ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท (เป็นอำเภอที่ติดกับอำเภอเมือง ที่ว่าการอำเภอห่างศาลากลางจังหวัด ๑๐ กม)มากสุด
ก.สภ.อ่างทองเหลือง คือ สภ.ที่ตำรวจและชาวบ้านอยากมาอยู่มากที่สุด
ข.สภ.อ่างทองเหลือคือ พื้นที่ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
ค.สภ.อ่างทองเหลืองคือหน่วยงานที่ทันสมัยที่สุด
ง.สภ.อ่างทองเหลือง คือหน่วยงานที่ให้ความยุติธรรมกับประชาชนมากที่สุด
๑๓.อะไรน่าจะเป็นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ที่ต้องเขียนไว้ในแผนปฏิบัติราชการ
ก.สายตรวจไปเซ็นตู้แดงได้ผลัดละ ๑ รอบ
ข.จราจร ตั้งจุดกวดขันวินัยจราจรให้มีผู้สวมหมวกกันอันตรายร้อยละ ๘๐ ของผู้ขับขี่ จยย.ที่สี่แยกหน้าที่ว่าการอำเภอ
ค.งานสืบสวนทำแฟ้มสืบสวนเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด และแก็งค์ลักรถ นำไปสู่ออกหมายค้นทุกเดือน
ง.ประชาชนในพื้นที่ สภ. พึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ของสายตรวจตำบลทุกแห่งร้อยละ๘๐ ขึ้นไป

๑๔.ในข้อข้างต้นข้อใด น่าจะเป็นวิสัยทัศน์ มากสุด
ก.ข้อ ก.
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ค.
ง.ข้อ ง.
๑๕.ข้อใดหมายถึงแผนทางการบริหาร
ก.แผนการสอนวิชาแผนโครงการ หลักสูตรสารวัตร
ข.แผนเข้าตีเร่งด่วนช่วยตัวประกันที่ยึดโรงพยาบาลราชบุรี
ค.แผนปฏิบัติงานประจำปีโรงเรียนโคกสูง
ง.แผนการจ่ายตลาดของแม่ครัว ศฝร.ภ.๗

๑๖.ในข้อข้างต้นข้อใดน่าจะเป็นพันธกิจ มากสุด
ก.ข้อ ก.
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ค.
ง.ข้อ ง.
๑๗.ในข้อ ข้างต้นข้อใด น่าจะเป็นกลยุทธ์ของ สภ.โป่งยอ มากที่สุด
ก.ข้อ ก.
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ค.
ง.ข้อ ง.
๑๘.ตามหลักการทำงานตำรวจชุมชน ท่านคิดว่า อุปสรรค หรือภัยคุกคามใดที่เป็นปัญหาที่ทำให้ การทำงานของตำรวจไม่บรรลุเป้าหมาย
ก.คนไทย ชอบเล่นการพนันกินเหล้า โดยเฉพาะชาวบ้านในเขต อ.บ้านกล้วย
ข.นิสัย ความประพฤติของตัวตำรวจเอง
ค.ผู้บังคับบัญชาตำรวจไม่ให้การสนับสนุนการทำงาน
ง.กฎหมายเมืองไทย ไม่เข้มงวดรุนแรงพอ

๑๙.ข้อใด เหมาะสมเป็นเป้าประสงค์ของ สภ.โป่งยอ ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบท แต่มีรีสอร์ท ระดับ ๓ ถึง ๔ ดาวอยู่ในพื้นที่มาก คนในกรุงเทพฯมักไปพักผ่อนในวันหยุด เสียค่าที่พักคืนละ ๗,๐๐๐ บาทต่อห้อง เพราะเป็นป่าที่ใกล้กรุงเทพฯมากสุดเพียง ๑๖๐ กม.
ก.สายตรวจไปตรวจตู้แดง ทุกรีสอร์ท ผลัดละ ๑ รอบ
ข.คนมาเที่ยว และคนที่อยู่มีความรู้สึกปลอดภัยจากอาชญากรรม
ค.คนมาเที่ยว รู้สึกสะดวกในการเดินทางและใช้ถนน
ง.จับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุเช่น ไม่สวมหมวกกันอันตราย ขับรถเร็ว เพิ่มขึ้นจากปี ที่ได้ ร้อยละ ๑๐
๒๐.สภ.นาขุนแสน เป็นชุมชนเก่าแก่ ชาวบ้านส่วนมากทำนา และทำไร่ เป็นชุมชนชนบทใหญ่ มีคนอยู่หนาแน่นประมาณ ๕หมี่นคนทั้งอำเภอ มีบางหมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติดผู้ติดส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นผู้ชาย แต่บางหมู่บ้านก็ไม่มีปัญหา เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด นโยบายของ กอ.รมน.จังหวัด และ ภ.จว.สันติบุรี ต้องการให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ข้อใด ควรเป็นเป้าประสงค์ ของ สภ.นาขุนแสน ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี นี้
ก.มี พันตำรวจเอก จรินทร์ เป็นผู้กำกับการ ต้องไม่มียาเสพติดในนาขุนแสน
ข. จับกุมผู้ค้ารายย่อย และผู้เสพให้ได้มากกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ ๑๐
ค.แก้ไขไม่ให้คนติดยาเสพติด หันไปเสพอีกได้ร้อยละ ๕๐ ของผู้ที่ถูกจับกุม
ง.แก้ไขหมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติด เป็นหมู่บ้านเข้มแข็งปลอดยาเสพติดได้ร้อยละ ๕๐ ของหมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติด
๒๑.หากจะแก้ปัญหายาเสพติดโดยมีข้อมูลพื้นฐานของ สภ.นาขุนแสน ตามข้อ ๑๘ ผลผลิตหรือตัวชี้วัดใดเหมาะสม
ก.ผลผลิตเชิงปริมาณ เช่นจับกุมผู้เสพได้มากขึ้น
ข.ผลผลิตด้านคุณภาพ หรือตัวชี้วัดด้านคุณภาพ เช่นจับกุมผู้ค้ารายใหญ่ ได้มากขึ้นกว่าปีที่แล้วร้อยละ ๑๐
ค.ผลผลิตเชิงปริมาณของกิจกรรม เช่นตรวจค้นจับกุมบ้านเป้าหมายผู้ค้า ได้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ๑๐
ง.ผู้เสพ เลิกเสพยาได้มากขึ้นร้อยละ ๙๐ ของผู้เสพที่ขึ้นทะเบียนโดยกรรมการหมู่บ้าน
๒๒.ผบก.ภ.จว.สันติบุรี ได้ออกคำรับรองว่า ให้ สภ.ทุกแห่งในสังกัด ทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปี หรือโครงการ ที่มีผลลัพธ์ ของการต่อสู้ ยาเสพติดได้เด็ดขาด ให้ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการประจำปีด้วย ให้ใช้ข้อมูล สภ.นาขุนแสน เลือกคำตอบที่แสดงถึงผลลัพธ์หรือตัวชี้วัดในคำรับรอง หรือแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ สภ.นาขุนแสน เกี่ยวกับการต่อสู้ปัญหายาเสพติดนี้
ก.มีผลการจับกุมผู้ค้ารายใหญ่ ได้ เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ ๑๐
ข.มีหมู่บ้านที่ปลอดยาเสพติด เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐ จากปีที่ผ่านมา
ค.มีหมู่บ้านที่ได้ใช้กองทุนแม่ในการพัฒนาหมู่บ้านต้านยาเสพติดได้เป็นจำนวนเงิน ร้อยละ ๗๐ ของเงินกองทุนที่มีอยู่
ง.มอบธงครอบครัวปลอดยาเสพติดได้เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาได้ร้อยละ ๒๐
๒๓.โครงการของ สภ.นาขุนแสน ด้านยาเสพติดตามข้อข้างต้น ควรที่จะต้องสอดรับกับ เป้าประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด อย่างไร ให้ท่านพิจารณาเป้าหมายโครงการเหล่านี้ ข้อใด สอดคล้องมากสุด
ก.โครงการ เรียนทอผ้า เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้ติดยา มีงานทำ ไม่มั่วสุม
ข.โครงการ ลานกีฬา ต้านยาเสพติด ให้วัยรุ่นเล่นกีฬา จะได้ใช้เวลากับกีฬา ไม่ไปเสพ
ค.โครงการ ให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
ง.โครงการจัดสายตรวจร่วม สายตรวจตำบล กับชาวบ้าน ไม่ให้วัยรุ่นไปซื้อยานอกหมู่บ้าน
๒๔.ข้อใดเป็นจุดแข็ง(Strength)ของ สภ.นาขุนแสน ตามข้อมูลข้อข้างต้น
ก.ตำรวจร้อยละ ๗๐ เป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์และธนาคารที่นำมาซื้อรถยนต์หรือใช้จ่ายประจำวัน
ข.ประชาชนให้ความร่วมมือกับตำรวจดี เคารพเชื่อถือตำรวจมากกว่า สภ.ที่อยู่ในเมืองใหญ่
ค.อบจ.และ ภ.จว.ทุ่มงบประมาณ และให้ความสำคัญในการจัดวิทยากระบวนการเพื่อทำให้ชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่
ง.มีนายทุนมาลงทุนทำรีสอร์ท สถานบริการ ทำโรงงานในพื้นที่มาก ทำให้วิถีชีวิตชนบทเริ่มเปลี่ยนไป
๒๕.ข้อใด ตามข้อข้างต้น เป็นจุดอ่อนของ สภ.นาขุนแสน
ก.ข้อ ก
ข.ข้อ ข
ค.ข้อ ค
ง.ข้อ ง
๒๖.ข้อใด ตามข้อข้างต้นเป็นโอกาส ของ สภ.นาขุนแสน
ก.ข้อ ก.
ข.ข้อ ข
ค.ข้อ ค
ง. ข้อ ง
๒๗.ข้อใด ตามข้อข้างต้นเป็นอุปสรรค ของ สภ.นาขุนแสน
ก.ข้อ ก
ข ข้อ ข
ค ข้อ ค
ง.ข้อ ง
๒๘ ข้อใด คือโครงการที่แสดงออกถึงการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด จากการทำการวิเคราะห์SWOT ของโรงพักนาขุนแสนว่า มีตำรวจที่ไม่เป็นหนี้อยู่มาก ทุกคนไม่อยากย้าย และ อบจ.สนับสนุนงบประมาณให้ สภ.นาขุนแสนทำโครงการ ชุมชนเข้มแข็งแก้ปัญหาอาชญากรรม ด้วยวิธีการ วิทยากรกระบวนการ
ก.ทำโครงการ ส่งเสริมอาชีพแม่บ้านตำรวจ
ข.ทำโครงการเตรียมตัวเกษียณอายุให้ตำรวจ
ค.ทำโครงการ ประชาคมหมู่บ้านแก้ปัญหายาเสพติด
ง.ทำโครงการพัฒนาตัวตำรวจให้มาก ๆ
๒๙.สภ. บ้านกล้วย เป็น สภ.ที่อยู่ในเมือง แต่ตัวตำรวจเกินครึ่ง คือ ๑๒๐ คนมีเมียน้อย หรือกิ๊ก ทำให้ต้องไปกู้เงินธนาคารออมสิน เฉลี่ยตำรวจเป็นหนี้คนละประมาณ ๒ แสนบาท พนักงานสอบสวน ๒๐ คน ถูกร้องเรียนปีนี้ เฉลี่ยคนละ ๑ เรื่อง สวป.กับรอง ผกก.ป.ไม่ค่อยกินเส้นกัน เพราะเรื่องตู้แดง (ไม่ต้องบรรยายรายละเอียด เพราะคนทั้งตลาดเค้ารู้กันว่าเรื่องอะไร ไม่เชื่อไปถามคนส่งน้ำแข็งที่ร้านค้าหลัง สภ.ที่มีงานเสริมเก็บดอกเบี้ยรายวันจากตำรวจจราจรด้วย) ชาวบ้านเบื่อหน่ายความประพฤติของตำรวจ คาดว่าการประชุมประจำเดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้านเดือนหน้า ชาวบ้านจะมารวมตัวไปที่จังหวัด เพื่อขอให้ย้าย ผกก.และ รอง ผกก.ป เมื่อมาวิเคราะห์แล้ว ตามหลักการ SWOT สภ.บ้านกล้วยมีลักษณะอย่างไร
ก.Strength บวก Opportunity
ข.Strength + Threats
ค.Weakness + Opportunity
ง.Weakness +Threats
๓๐.แผนกลยุทธ์ ต่างจากแผนปฏิบัติการธรรมดาอย่างไร
ก.แผนกลยุทธ์ มีการทำการวิเคราะห์ จุดอ่อนจุดแข็ง แล้วนำมาทำแผนให้ถูกกับสภาพแวดล้อม
ข.แผนกลยุทธ์ มีการนำสภาพปัจจัยแวดล้อมมาเป็นตัวกำหนดวิธีทำงาน
ค.แผนปฏิบัติการธรรมดา ไม่ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อม
ง.ถูกทุกข้อ
๓๑โครงการใด ของ สภ.บ้านกล้วย ที่ท่านคิดว่า เมื่อพิจารณาปัจจัย METT-TC แล้ว สังคมรับไม่ได้
ก.โครงการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเฉพาะชั้นประทวน
ข.โครงการตรวจค้นยาเสพติดทุกรอบ ๑ เดือน
ค.โครงการ ผักสวนครัว รั่วบ้านตำรวจชั้นประทวนกินได้
ง.โครงการวารสารสถานีตำรวจ ที่ออกแผ่นปลิวแจ้งข่าวงานโรงพัก งานรักษาความสงบให้ชาวบ้านรู้ เช่น รถจยย.ลูกนางแจ๋ว ถูกยึดไว้ที่ โรงพัก ไม่มีใครเอาหลักฐานไปรับมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว
๓๒.เมื่อพิจาณา วิเคราะห์จาก ปัจจัย PEST แล้ว โครงการใด ของ สภ.โป่งยอ ที่เป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ไม่น่าเป็นที่ยอมรับของสังคมได้
ก.โครงการบริการข้อมูลเว็บไซด์ ตามรีสอร์ทในป่าที่ระบบโทรศัพท์ไปถึง
ข.โครงการจัดส่งหัวหน้าสายตรวจตำบล ไปรณรงค์ด้านการเมืองก่อนเลือกนายก อบต.
ค.โครงการ ครู ๕ นาทีอบรมนักเรียนเกี่ยวกับการจราจรช่วงเปิดเทอม
ง.โครงการรณรงค์ เมาไม่ขับ ในวันเทศกาลต่าง ๆที่มีนักท่องเที่ยวมานอนรีสอร์ทในป่า
๓๓.ข้อใดคือยุทธศาสตร์
ก.สภ.บ้านกล้วย จัดสายตรวจตรวจตู้แดงผลัดละ ๑ รอบ
ข.สภ.บ้านกล้วย จัดระดมกวาดล้างเป้าหมายยาเสพติด และอาชญากรรมพื้นฐานเดือนละ ๑ ครั้ง
ค.สภ.บ้านกล้วย สร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่ไม่หวาดกลัวภัยอาชญากรรม ได้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
ง.สภ.บ้านกล้วย จัดหนังสือพิมพ์บริการสร้างความประทับใจให้กับผู้มาแจ้งความ
๓๔.ตามข้อข้างต้นขัอใด น่าจะเป็นกลยุทธ์ของยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
ก.ข้อ ก.
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ก.และ ข.
ง.ข้อ ค.
๓๕.ปัจจัย METT-TC ที่นำมาพิจารณา ในการทำโครงการหรือภารกิจของตำรวจ ข้อใด ครอบคลุมคำว่า MISSION มากที่สุด
ก.ตรวจตู้แดง
ข.ตรวจตู้แดง เพื่อลดโอกาสการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ค.ไปเล่นดนตรีให้กับเด็กในโรงเรียนเพื่อสร้างมวลชนสัมพันธ์
ง.จัดทำแฟ้มสืบสวนแก็งค์คนร้าย ให้ได้ครบทุกฐานความผิด
๓๖.ปัจจัย Enamies หมายถึงเรื่องอะไร ที่ครอบคลุมมากสุด
ก.คนร้าย
ข.ศัตรู
ง.ฝ่ายตรงข้าม
จ.สิ่งที่จะทำภารกิจไม่สำเร็จ
๓๗.เป้า ประสงค์ กับเป้าหมาย ที่จะเขียนกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการของ สภ.ต่างกันอย่างใด
ก.เป้าประสงค์ บอกทิศทาง ผลลัพธ์ระยะยาว
ข.เป้าหมาย บอกตัวชี้วัด ผลผลิต การดำเนินกิจกรรมระยะสั้น
ค.เป้าประสงค์ มักเป็นตัวบอกหรือกำหนดเป้าหมายในระดับยุทธศาสตร์
ง. ถูกทุกข้อ


๓๘.ใน GRANTT มักไม่บอกอะไรบ้าง
ก.ขั้นตอนการทำโครงการ
ข.เวลาทำงานเมื่อใด
ค.ผู้รับผิดชอบ
ง.ค่าใช้จ่าย
๓๙.ผลผลิต หมายถึงข้อใด
ก.ผู้กำกับการตรวจตู้ยามสายตรวจได้ครบทุกตู้ในรอบ๑ เดือน
ข.สร้างความพึงพอใจในการเยี่ยมเยียนสายตรวจตำบล ชาวบ้านพอใจ ร้อยละ ๘๐ร่วมมือกับตำรวจมากขึ้น
ค.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม ระดับเกินร้อยละ ๘๐
ง.ถูกทุกข้อ
๔๐ ข้อใดในข้อข้างต้นคือผลลัพท์
ก.ข้อ.ก
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ค.
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๑.ข้อใดในข้อ ๓๘ คือผลสัมฤทธิ์
ก.ข้อ.ก
ข.ข้อ ข.
ค.ข้อ ค.
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๒.เมื่อสอน อบรมหลักสูตรสารวัตรแล้ว ท่านมีความภูมิใจที่จะไปทำงานในหน้าที่ตำรวจแสดงว่าท่านมี
ก.ความรู้
ข.มีความคิด
ค.มีทักษะ
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๓.จักรพรรดิ นโปเลียนกล่าวไว้ว่า 'There are but two powers in the world, the sword and the mind. In the long run the sword is always beaten by the mind.' กลยุทธ์ในโครงการใด ที่สอดคล้องกับความคิดหรือคำกล่าวของนโปเลียนดีงกล่าวนี้
ก.การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องใช้การตรวจค้นจับกุม โดยพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดอาชญากรรมว่าเกิดจากสาเหตุใด แล้วแก้ที่สาเหตุนั้น ๆ ให้ตรงประเด็น
ข.การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องใช้งานตำรวจชุมชน
ค.การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ง.การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องใช้หลายกลยุทธ์ให้เหมาะกับสาเหตุ แต่ท้ายสุดการชนะใจประชาชน คือการแก้ปัญหาทั้งปวง
๔๔.วิทยากรกระบวนการ ต่างจากหลักการตำรวจชุมชนอย่างไร
ก.ต่างกันแค่ชื่อเรียก
ข.กลยุทธ์ต่างกัน
ค.การสำรวจสภาพปัญหาพื้นที่หมู่บ้านต่างกัน
ง.วิทยากรกระบวนการแก้ได้เฉพาะปัญหายาเสพติดเท่านั้น
๔๕.เมื่อเทียบกันแล้ว สภ.โป่งยอ มีประสิทธิภาพดีกว่า สภ.บ้านกล้วย ตรงกับข้อใด
ก.สภ.โป่งยอ จับคนเสพยาบ้าได้ ๑๐ ราย สภ.บ้านกล้วยจับได้ ๒๐ ราย
ข. สภ.โป่งยอ จับไม่สวมหมวกกันน็อค ได้ ๑๐ ราย ปรับได้ ๑๐ ราย แต่ สภ.บ้านกล้วย จับได้ ๒๐ ราย ว่ากล่าว ๑๓ ราย
ค.สภ.โป่งยอ ได้รับงบประมาณทั้งหมด ๑๐ ล้าน ชาวบ้านมั่นใจในความปลอดภัย ในชีวิตทรัพย์สินร้อยละ ๘๐ เท่ากับคนใน สภ.บ้านกล้วย ซึ่งได้รับงบประมาณ ๒๐ ล้าน และอยู่ในเมืองมากกว่า
ง.ถูกทุกข้อ
๔๖.เป้าประสงค์ กับ เป้าหมาย ในคำรับรองปฏิบัติราชการต่างกันอย่างไร
ก.ต่างกันที่ชื่อเรียก
ข.เป้าหมาย คิดในเชิงยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์คิดในเชิง กลยุทธ์
ค.เป้าประสงค์ เป็นเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์ ที่หวังในระยะยาว
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๗.โครงการ ไปเกี่ยวข้องกับ คำรับรองปฏิบัติราชการอย่างไร
ก.ไม่เกี่ยวกัน
ข.มีคำรับรอง ต้องมีโครงการ
ค.โครงการ เป็นแผนการปฏิบัติ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามคำรับรอง
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๘.ข้อใด เป็นการวัดระดับความสำเร็จ หรือเป้าหมายเป็น ลำดับขั้นความสำเร็จในการดำเนินการหรือ Milestone
ก.จับกุมคดีฆ่าผู้อื่น ได้ร้อยละ ๕๐ ของคดีที่รับแจ้ง
ข.รับแจ้งคดีเกี่ยวกับทรัพย์ลดลง ร้อยละ๑๐ ของปีที่ผ่านมา
ค.จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาความสำคัญคดีค้างเก่า
ง.ถูกหมดทุกข้อ
๔๙.ข้อใด คือการทำข้อสอบในโลกของการทำงานจริง
ก.ผกก.สั่งให้ท่านนั่งทำโครงการ ตำรวจสายตรวจรถจักรยาน อยู่ในห้องคนเดียวให้ส่งให้เสร็จภายใน วันจันทร์หน้า
ข.ผกก.สั่งให้ท่านนั่งทำโครงการ สายตรวจจักรยานในห้อง โดยผกก.อธิบาย รายละเอียดให้ท่านฟังก่อน ๑ ชั่วโมง
ค. ผกก.สั่งให้ รอง ผกก.ปป.ทำโครงการถจักรยานสายตรวจแล้วบอกว่า ห้ามไม่ให้ถามใคร หรือค้นคว้า
ง.ผกก.สั่ง ในที่ประชุม หรือเรียกท่านมาสั่ง ให้ทำโครงการสายตรวจจักรยาน ส่งภายในสัปดาห์หน้า
๕๐.เมื่อท่านทำข้อสอบใกล้หมดแล้ว ถ้าเป็นการทำปัญหาในชีวิตการทำงานจริง ท่านคิดว่าจะใช้วิธีใด จึงจะตอบปัญหาได้ถูกที่สุด และเร็วที่สุด
ก.ค้นคว้าจากอินเตอร์เนตด้วยตนเอง
ข.ถามผู้รู้
ค.นั่งทำคนเดียว ค้นคว้าตำรา
ง.นึกถึง ทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้วตอบคำถาม
-------------------------------------------------------------------------------------------------------