วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สมรรถนะหลักของตำรวจทุกคนใน ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะหลักและระดับพฤติกรรมของสมรรถนะหลัก(Core Competencies Indicators)
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1
สล.1 จิตสำนึกให้บริการ(Service Mind)
1.ความสามารถเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของประชาชน หรือผู้มาใช้บริการงานตำรวจ หรือประชาชนที่ตำรวจพบ ซักถาม
2.มีค่านิยมว่า “ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ”หรือประชาชนผู้เดือดร้อน,ผู้แจ้งหรือ ชุมชนเป็นผู้ที่ต้องให้ความสำคัญ
3.ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการจากตำรวจอย่างเอื้ออาทร เต็มใจ ด้วยกริยา วาจา เหมาะสม ครบวงจร ในสภาพที่เป็นไปได้จริง หรือศีลธรรมและกฎหมาย หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
ระดับ 1.ให้บริการประชาชนเพราะหน้าที่ หรือผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ทักทาย ไม่แนะนำ ใช้น้ำเสียง หรือคำพูด กริยา ที่ผู้รับบริการ หรือสัมผัสฟังแล้วทำให้ไม่พอใจ หรือไม่เข้าใจ ทำให้มองภาพพจน์ตำรวจในทางลบ มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทำงานบ่อย
ระดับ 2 ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือปรับบุคลิกภาพหรือมารยาทตามเหตุการณ์ที่เหมาะสม ใช้คำพูด กริยา เหมาะสมไม่ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้รับบริการ แก้ไขปัญหาหรือบริการตามพันธะสัญญาได้ตามที่กำหนด
ระดับ 3 แก้ไขปัญหาของผู้รับบริการได้อย่างพอใจหรือได้ดีกว่าตามพันธะสัญญาที่กำหนดไว้
ระดับ 4 เป็นตัวอย่างในการให้บริการประชาชนหรือผู้รับบริการได้พอใจเป็นแบบอย่างในหน่วยงาน หรือ สภ.
ระดับ 5 ชักนำ หรือเป็นตัวแบบนำผู้ร่วมงาน หรือถ่ายทอด กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานบริการแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือผู้ใช้บริการได้ประทับใจอย่างกว้างขวางในหน่วยงานหรือ สภ.




2
สล2 ความมุ่งผลสัมฤทธิ์(Achievement Motivation)
-ความมุ่งมั่นในหน้าที่ หรือภารกิจที่รับผิดชอบ ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ หรือที่ได้รับมอบหมาย ตามเวลา
ระดับ 1.ทำงานตามที่ได้รับคำสั่ง หรือมอบหมายให้เสร็จได้ตามเวลา โดยที่ต้องมี การกำชับ การเตือน การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด หรือมีสิ่งจูงใจตอบแทนระยะใกล้
ระดับ 2.ทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ อย่างได้ผลดี ตามเวลา โดยมิต้องมีการเตือนหรือการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมิต้องมีสิ่งตอบแทนระยะใกล้มาจูงใจ
ระดับ 3.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ได้ผลเป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีอุปสรรค หรือมีสถานการณ์กดดัน และมีแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แม้ว่าจะไม่มีสิ่งจูงใจหรือการบังคับระยะใกล้ก็ตาม
ระดับ 4.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย มีการตั้งเป้าหมายของตนเองที่ท้าทาย หรือมีอุปสรรค สถานการณ์ความยากลำบากกดดัน มีผลงานดีเด่น สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ โดยไม่หวังผลตอบแทนระยะใกล้
ระดับ 5.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย มีผลงานดีเด่น สามารถชักชวน ถ่ายทอด กระตุ้น จูงใจ ให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาวิธีการทำงานและมุ่งมั่นต่อการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3
สล3 ความร่วมแรงร่วมใจ(Teamwork)
-ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในการปรับตัวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยอาจมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์กัน
ระดับ1.มีปัญหาทะเลาะ ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา บ่อยครั้ง แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงหน่วยที่ทำงาน หรือผู้ที่ร่วมทำงานแล้ว
ระดับ 2.เมื่อทำงานเป็นกลุ่ม มักไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ชอบหลีกเลี่ยงการประชุม คอยจะรับคำสั่งโดยไม่ได้ร่วมใจ ร่วมคิด เพื่อให้งานของหน่วยหรือกลุ่มมีประสิทธิภาพ จะทำงานเฉพาะเมื่อหัวหน้าสั่งหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนระยะใกล้
ระดับ 3 มีความกระตือรือร้นในการทำงานของหน่วยที่เป็นส่วนรวม มีความอดทนอดกลั้น ในเรื่องเล็กน้อย เพื่อไม่ให้งานส่วนรวมเสียหาย
ระดับ 4 กระตือรือร้นในการทำงานส่วนรวม เป็นตัวแบบ(Role Model)ให้แก่เพื่อนร่วมงานในการเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ว่าจะเป็นงานที่ไม่มีผลประโยชน์หรือผลงานที่จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน
ระดับ 5 ไม่เห็นแก่ตัว นำหรือปลุกเร้า จูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้ร่วมใจทำงานส่วนรวม โดยใช้ความหลากหลายในทักษะ ประสบการณ์ หรือความรู้ ให้เกิดประโยชน์


4
สล4 ความมีจริยธรรมตำรวจ
-ความซื่อตรงต่อวินัยตำรวจ อุดมคติตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ เช่นจรรยาบรรณพนักงานสอบสวน ไม่กระทำผิดไปจากวินัยตำรวจ
ระดับ 1.ทำผิดวินัยตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องเสมอ ในเรื่องเล็กๆ น้อย มีความอดทนอดกลั้นทางอารมณ์บ้างแต่น้อย
ระดับ 2 .ปฏิบัติตามวินัยตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตนในแนวทางที่ไม่เสี่ยงหรือเกิดข้อสงสัยในความซื่อสัตย์หรือวินัยตำรวจ เช่น นั่งรถคันเดียวกับผู้ต้องสงสัยหรือผู้มีอิทธิพลบ่อย ๆ มีความอดทนอดกลั้นบ้าง
ระดับ 3 ปฏิบัติตน ตามแนวทางอุดมคติตำรวจ ทั้งคำพูดและการปฏิบัติ มีความอดทนอดกลั้นดี
ระดับ 4 เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานในด้านระเบียบวินัย อุดมคติตำรวจ จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง
ระดับ 5 เป็นตัวแบบให้แก่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งเป็นผู้นำในการกระตุ้น จูงใจ ให้เพื่อนร่วมงานปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ตามแนวทางวินัยตำรวจ อุดมคติตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในหน้าที่


5
สล.5 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ
-ความสามารถ ทักษะในการเรียนรู้ ความใส่ใจในการรวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ หรือแสวงหาความรู้ วิธีการใหม่ เพื่อปรับปรุงสั่งสมความชำนาญในงานตำรวจที่ปฏิบัติ
ระดับ 1.ชอบปฏิเสธ บ่ายเบี่ยงการทำงานแบบใหม่ ๆ หรืองานใหม่ ไม่ชอบการฝึกอบรม เมื่อไปฝึกอบรมมาแล้ว ไม่นำมาใช้ในการทำงาน หรือถ่ายทอด
ระดับ 2.ทำงานแบบเดิม ปรับปรุงการทำงานด้วยตนเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้บังคับบัญชาหรือมีผู้แนะนำ สามารถปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำได้
ระดับ 3.ปรับเปลี่ยนพัฒนา สั่งสมความชำนาญ จัดการองค์ความรู้ ด้วยตนเองได้
ระดับ 4 พัฒนาวิธีการทำงานได้ หมั่นศึกษาหาทางพัฒนาการทำงานใหม่ ๆ จนเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้ หรือเป็นพัฒนาองค์ความรู้ได้
ระดับ 5 เป็นผู้นำปรับปรุงงานและยอมรับการปรับปรุงงานจากความหลากหลายของทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้อื่น หรือของกลุ่มได้ดี และถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

สมรรถนะตำรวจสายอำนวยการและผู้บริหาร ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งการบริหารงานและการเป็นผู้นำและระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1.
สน.1.1 ทักษะทางคอมพิวเตอร์
-ทักษะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมหรือค้นหาข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานผล หรือนำเสนอข้อมูล
ระดับ 1 ไม่สนใจเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เลย และไม่สามารถสั่งงาน ตรวจสอบงาน หรือมอบหมายงานให้เสมียน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้
ระดับ 2 เรียนรู้ขีดความสามารถ ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ ว่าสามารถนำมาประยุกต์ในงานที่ตนรับผิดชอบได้อย่างไรบ้าง และสั่งการให้เสมียน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้บ้าง
ระดับ 3 สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์เบื้องต้นได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมนำเสนอผลงาน หรือโปรแกรมฐานข้อมูล หรือ มีความเข้าใจ และสามารถสั่งงานให้เสมียนหรือผู้รับผิดชอบ ใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ใช้กับงานในหน้าที่ได้ หรือสามารถใช้งานเรียกใช้ข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วย(Intranet)ได้ (เรียกดูฐานข้อมูลหรือส่งข่าวสารใน E-Cop ได้)
ระดับ 4 สามารถใช้โปรแกรมในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้ เรียกใช้ข้อมูลในอินเตอร์เน็ทได้ เช่น เรียกใช้ข้อมูลสถิติคดีอาญา หรือสถิติคดีจราจร และแนะนำให้ผู้ร่วมงานใช้Intranet หรือ E-cop ได้
ระดับ 5 สามารถออกแบบระบบ ฐานข้อมูล หรือการเชื่อมโยงเครือข่าย ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือประยุกต์ใช้กับงานในหน้าที่ได้ และสามารถแนะนำผู้ร่วมงานให้ใช้งานได้

2
สน.1.2 ทักษะด้านภาษาและสื่อสาร
1.ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ภาษากายหรือกริยาอาการ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ตำรวจต้องทำหน้าที่ ในการพบปะกับประชาชน หรือเผชิญเหตุ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ตำรวจ
2.การสื่อสารที่ไม่ทำให้ผู้พบปะตำรวจเจ็บใจ เกิดภาพลบต่อตำรวจ
ระดับ 1 มักพูดโดยไม่ยั้งคิด พูดออกไปแล้ว ทำให้ผู้รับฟังไม่ค่อยเข้าใจ ไม่มีประเด็นชัดเจน ใช้น้ำเสียงเกรี้ยวกราดบ่อย พูดข้อความที่ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ หรือทำให้ประชาชนเจ็บใจ เช่น “ของตัวเองหาย ตัวเองยังคุ้มครองไม่ได้ จะให้ตำรวจตามหาให้ได้อย่างไร” หรือ “สมแล้วที่รถหาย”
ระดับ 2 ใช้คำพูดเหมาะสมกับเหตุการณ์ ที่ตำรวจประสบเหตุ เหมาะกาละเทศะ ไม่พูดให้ประชาชนเจ็บใจ หรือคิดทำนองตำรวจจะหาผลประโยชน์ เช่น จะออกใบสั่งความผิดจราจร ไม่ใช้เวลานานในการพูดอ้อมค้อม อธิบายข้อหา ความผิด แจ้งสิทธิชัดเจน ด้วยน้ำเสียงเอื้ออาทร
ระดับ 3 พูดตรงประเด็นชัดเจน ใช้ภาษาที่คนฟังต้องการ หรือผู้ฟังฟังแล้วบรรเทาอารมณ์ดีขึ้น และสามารถใช้คำพูดโน้มน้าวให้ผู้อื่น เห็นคล้อยตามได้ รับรู้อารมณ์ผู้ฟัง แล้วแก้ไขการพูด การปฏิบัติได้ดี
ระดับ 4 .ใช้ภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ หรือวิธีการพูด เพื่อพูดให้ผู้รับฟังมีความไว้วางใจ ในความจริงใจที่จะพูดคุย เจรจาต่อรองได้ดี มีกริยาที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ พูดแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ลดลงได้
ระดับ 5 มีศักยภาพในการสอน แนะนำ จูงใจให้เพื่อนร่วมงาน ใช้การพูด การปฏิสัมพันธ์กับประชาชนในหน้าที่ตำรวจ ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ เป็นตัวอย่างแก่ตำรวจหน่วยอื่นได้

3
สน.1.3 ทักษะงานอำนวยการและการจัดการ
-ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ โดยให้ผู้อื่นทำงานแทนให้มากที่สุด ด้วยทุนหรือทรัพยากรที่เหมาะสม
ระดับ 1. รอรับคำสั่ง เพื่อทำงานตามคำสั่งเท่านั้น ร่างโต้ตอบหนังสือไม่ได้หรือไม่ตรงประเด็น ไม่มี ทักษะในการเขียนรายงานหรือทำข้อเสนอหรือมีความเห็นใด ๆ ได้ ทำงานให้พ้นไปวัน ๆ ไร้จุดหมาย
ระดับ 2. ร่างโต้ตอบหนังสือได้ มีทักษะการจับเก็บข้อมูลเป็นเอกสาร พัฒนาสั่งสมความรู้ เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับในสายงานที่ตนเองปฏิบัติได้
ระดับ 3 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลอิเลคโทรนิคส์ ตาม ระเบียบงานสารบรรณได้ กำหนดแผนงาน เป้าหมาย วิธีการทำงาน และประเมินผลงานได้
ระดับ 4 สามารถวางระบบการทำงาน หรือออกคำสั่ง หรือแผนปฏิบัติการ หรือระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.)และ แนะนำให้ผู้อื่นทำแทนตนได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีระบบการควบคุมผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้
ระดับ 5 ผลการทำงานในการอำนวยการ จัดการประสบผลสำเร็จ สามารถแนะนำ หรือเป็นตัวอย่าง เพื่อนร่วมงาน หรือหน่วยงานอื่นได้ รวมทั้งมีศักยภาพในการบรรยาย ให้ความรู้ในงานที่ตนรับผิดชอบแก่เพื่อนร่วมงานและหน่วยอื่นได้


























4
สน.1.4 สมรรถนะทางกายและอารมณ์
1.ความสามารถทางร่างกาย หรือทางกายภาพ ที่จะทำงานต่าง ๆ ได้ภายใต้ภาวะเสี่ยงภัย ฉุกเฉิน ตรากตรำหรือกดดัน
2.ความสามารถทางอารมณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ หรือเงื่อนไขความกดดันต่าง ๆ ข้าราชการตำรวจจะตอบสนองอย่างไร
3.ความเหมาะสมของบุคลิกภาพและอารมณ์ ต่อตำแหน่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติ
ระดับ1 มีดัชนีมวลกายอ้วนเกินกว่าเกณฑ์กำหนด ความฉลาดทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ต้องทำงานเสมอ หรือมีความฉลาดทางอารมณ์หรือขีดความสามารถในการปรับตัวน้อย ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้ผลคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์
ระดับ 2 มีดัชนีมวลกาย ไม่เกินกว่าเกณฑ์กำหนด มีความฉลาดทางอารมณ์เหมาะสมกับตำแหน่ง ไม่โกรธ หรือฉุนเฉียวง่าย ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้ผลคะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ระดับ 3 ทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ผลคะแนนดี เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อไม่พอใจสิ่งใด อาจแสดงความไม่พอใจบ้าง แต่จะไม่ละทิ้งหน้าที่
ระดับ 4 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายดีมาก เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมีสิ่งที่ไม่พอใจ จะมีความอดทนอดกลั้น ไม่แสดงออก และสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายดีเลิศ เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ในการปฏิบัติหน้าที่ได้แม้ว่าจะมีภาวะกดดันต่าง ๆ สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่เพื่อนร่วมงานได้

5
สน.1.5 ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
1.ความสามารถในการนำผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานหรือหน่วยงาน ให้ทำงานสำเร็จตามพันธกิจ หรืองานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อการปรับตัว ให้รับกับปัญหา หรือสภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ระดับ 1 ชอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น แต่จะไม่ชอบทำงานดังกล่าว หรือคิดจะทำ หากทำงานใดสำเร็จ จะอ้างว่าเป็นความสามารถของตนคนเดียว ไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือวิธีทำงาน
ระดับ 2 พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง จูงใจให้ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมใจทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ไม่ต่อต้านหากจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ระดับ 3 มีความสามารถในการจูงใจให้สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ มีความสามารถในการคิดหาการทำงาน หรือปรับสภาพหน่วยงาน เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
ระดับ 4 มีความสามารถในการจูงใจให้สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดี หน่วยมีความสามัคคีกลมเกลียวสูง เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของหน่วยในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดีในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมหน่วย และตำรวจในหน่วยให้มีความพร้อมในการรับกับปัญหาในอนาคตได้ จนเป็นแบบอย่างให้แก่หน่วยอื่น

สมรรถนะตำรวจสายสอบสวน ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งสอบสวนและระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1
สน. 4.1 ทักษะการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ความสามารถในการระวังป้องกันในที่เกิดเหตุ การจัดการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานจากสถานที่เกิดเหตุ
ระดับ 1 ปิดล้อมที่เกิดเหตุได้ ไม่ไปทำให้สถานที่เกิดเหตุถูกลบร่องรอยหรือพยานหลักฐานเสียหาย
ระดับ 2 เข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุ โดยมีเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้สถานที่เกิดเหตุเสียหาย เช่น ถุงมือ มีขั้นตอนและการประเมินภาวะอันตรายในการเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุ เก็บพยานวัตถุและพยานเอกสารในที่เกิดเหตุได้ถูกต้องตามหลักการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ระดับ 3 เก็บลายพิมพ์นิ้วมือแฝงโดยระบบปัดฝุ่นและระบบซุปเปอร์กลู เก็บพยานวัตถุ ชิ้นส่วนร่างกาย หรือคราบเลือดเพื่อพิสูจน์ DNA ได้
ระดับ 4 เก็บพยานวัตถุร่องรอยสารเคมีจากมือผู้ใช้ยิงอาวุธปืนได้ หล่อร่องรอยหรือเก็บพยานรอยพิมพ์ (Toolmark) จากพยานวัตถุได้
ระดับ 5 เป็นครูฝึกหรือเป็นวิทยากรฝึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ให้แก่ข้าราชการตำรวจได้ตามหลักวิชา






- 2 -
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
2
สน. 4.2 ความรู้กฎหมายและการสอบสวน
- มีความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตำรวจให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ตั้งข้อหาหรือกำหนดข้อกล่าวหาได้
ระดับ 1 สามารถอธิบายการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่ถูกและผิดกฎหมายได้ในการปฏิบัติงาน
ระดับ 2 มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องการตรวจค้น จับกุม การใช้อาวุธหรือกำลังตามหลักสิทธิมนุษยชน
ระดับ 3 มีความสามารถในการเขียนข้อหาในบันทึกจับกุมในใบสั่งจราจรได้ถูกต้อง และอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ดี
ระดับ 4 มีความเข้าใจกฎหมายเป็นอย่างดี สามารถมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะในการพัฒนาหรือแก้ไขงานของตำรวจได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 มีทักษะเป็นครูฝึกหรือวิทยากรการฝึกอบรมเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในงานหน้าที่ของตำรวจได้เป็นอย่างดี

3
สน. 4.3 ทักษะการทำบันทึกและสำนวนการสอบสวน
1. มีความสามารถในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ หรือจัดทำรายงาน และรวบรวมรายงาน ทำเป็นสำนวนได้
2. ความสามารถในการทำสำนวนการสอบสวนคดีอาญา และคดีสอบสวนสืบสวนข้อเท็จจริง
ระดับ 1 มีความสามารถเขียนรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ระดับ 2 สามารถทำบันทึกเหตุการณ์แล้วนำมาประกอบเรื่องราวเป็นสำนวนการสืบสวนเหตุต่าง ๆ ได้ รวมถึงการทำบันทึกเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาได้ดี


- 3 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง



ระดับ 3 มีความสามารถทำสำนวนการสืบสวนคดี การสืบสวนคดีข้อเท็จจริงหรือสอบข้อเท็จจริง และทำสำนวนคดีอาญาในความผิดพื้นฐานได้
ระดับ 4 ทำสำนวนการสอบสวนคดีอาญาความผิดที่เป็นความพิเศษต่าง ๆ ได้ เช่น กฎหมายที่ดินหรือป่าไม้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ คดีวิสามัญฆาตกรรม
ระดับ 5 มีความเชี่ยวชาญหรือเป็นพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคดี ในระดับจังหวัดที่ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานอื่นยอมรับ

4
สน. 4.4 ความรู้การช่วยเหลืออาชญากรรมและพยาน
- ความรู้ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ ให้ผู้เสียหาย พยาน ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำผิดอาชญากรรมได้รับการเยียวยาชดใช้ทรัพย์สิน รวมถึงมีความปลอดภัยในชีวิตและจิตใจ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุข รวมถึงการดูแลในการดำเนินคดีในชั้นอัยการและศาล
ระดับ 1 แนะนำช่วยเหลือผู้เสียหายเฉพาะเมื่อมาแจ้งความหรือร้องทุกข์ ปล่อยให้ผู้เสียหายไปสถานพยาบาลหรือนำหมายเรียกไปแจ้งคนร้ายเอง
ระดับ 2 อธิบายถึงสิทธิของผู้เสียหาย และพยานตามกฎหมายและหลักปฏิญญาสากล และส่งต่อหรือแนะนำให้หน่วยงานอื่นช่วยเหลือ เยียวยา หรือสงเคราะห์ผู้อื่นได้
ระดับ 3 มีความสามารถในการทำเรื่องขอรับเงินค่าตอบแทนผู้เสียหาย จ่ายเงินค่าตอบแทนพยาน ส่ง


- 4 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง



ผู้เสียหายไปยังหน่วยงานรับสงเคราะห์อื่น จัดการดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อคดีไปสู่อัยการและศาล การแจ้งเตือนดูแลความปลอดภัยของผู้เสียหายและพยาน การดูแลพยานและผู้เสียหายจนเสร็จสิ้นหรือกลับเข้าไปใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติสุข สามารถแจ้งผู้เสียหายเรื่องการปล่อยคนร้ายจากการควบคุมทุกระยะก่อน-หลังคดีเสร็จสิ้น
ระดับ 4 ประชาชนในพื้นที่ให้การยกย่องว่าเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ไม่เฉพาะการแจ้งความร้องทุกข์หรือการจับคนร้ายเท่านั้น
ระดับ 5 เป็นตัวแบบให้แก่เพื่อนตำรวจในการเป็นที่พึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม ทั้งตามที่สิทธิในกฎหมายกำหนด และด้วยความสมัครใจที่จะช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนเสมือนญาติ

5
สน. 4.5 ความรู้นิติวิทยาศาสตร์และวิทยาการตำรวจ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อมาพิสูจน์ความผิดหรือเก็งตัวคนร้าย (Profiling)
ระดับ 1 มีความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์จากมสื่อมวลชน ไม่เคยได้ศึกษาหรือฝึกหัดปฏิบัติ
ระดับ 2 สามารถอธิบายว่าพยานวัตถุใดสามารถตรวจยืนยันทางวิทยาศาสตร์ใดได้บ้าง ในคดีเกี่ยวกับชีวิตร่างกายหรือคดีฆาตกรรม



- 5 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง



ระดับ 3 สามารถวางแผนหรืออธิบายการตรวจพยานวัตถุ โดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาการตำรวจ และนิติวิทยาศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผนประทุษกรรม พยานเอกสารทางเคมี วัสดุศาสตร์ ชีววิทยา กีฏวิทยา (Entomology)
ระดับ 4 มีความชำนาญหรือมีประสบการณ์ สามารถวางแผนหรือเสนอแนะชี้นำเกี่ยวกับการใช้พยานวัตถุ นิติวิทยาศาสตร์ งานวิทยาการตำรวจ เพื่อการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานลงโทษผู้กระทำความผิดได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 มีความเชี่ยวชาญเป็นวิทยากรหรือเป็นที่ยอมรับในหน่วยและนอกหน่วยงานเกี่ยวกับการใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หรืองานวิทยาการตำรวจในการสืบสวนเก็งตัวคนร้าย เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล

สมรรถนะตำรวจสืบสวน ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งสืบสวนและระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1
สน.3.1 ทักษะสังเกต จดจำ เฝ้าจุด สะกดรอย ซักถาม
- ความสามารถ ความอดทนตรากตรำและเชาว์ไว ไหวพริบ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานสืบสวนในสนามในระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
ระดับ1 ปฏิบัติงานสืบสวนตามคำสั่ง ได้ในระยะสั่น ๆที่มอบหมาย ประสบผลสำเร็จบ้าง แต่ต้องมีการตรวจสอบ กำกับดูแล ใกล้ชิด
ระดับ 2 ปฏิบัติงานสืบสวนตามคำสั่ง และมีปฏิภาณ ไหวพริบสังเกต ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีความตั้งใจให้ได้ข่าวสารหรือผลตามที่ได้รับมอบหมาย มีทักษะการซักถามพยานบุคคล
ระดับ 3 ปฏิบัติงานสืบสวนตามคำสั่ง และมีปฏิภาณ ไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีทักษะการซักถามพยานบุคคลตรงประเด็น เขียนรายงานได้ตามเวลา
ระดับ 4 มีความอดทนในการปฏิบัติงานสืบสวนที่ตรากตรำเสี่ยงอันตรายได้ดีเยี่ยม มีทักษะสูงในการ สัมภาษณ์ซักถามพยานแล้วมักให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ระดับ 5 มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนสูง มีจิตวิทยาในการสัมภาษณ์ซักถามพยาน และสามารถเป็นวิทยากรหรือเป็นผู้ฝึกหัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานในการพัฒนาทักษะสืบสวนได้



- 2 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
2
สน. 3.2 ทักษะการสืบสวนด้วยเครื่องมือพิเศษ
- ความสามารถในการปรับใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการหาข่าว รวบรวมข่าว รวบรวมพยานหลักฐาน
ระดับ1 มีทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เครื่องบันทึกพยานหลักฐาน หรืออุปกรณ์เฝ้าฟังในระดับของประชาชนทั่วไป
ระดับ 2 มีทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เครื่องบันทึกพยานหลักฐาน หรืออุปกรณ์เฝ้าฟังในระดับที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการหาข่าว รายงานข่าว รวบรวมพยานหลักฐานได้ดีกว่าประชาชนทั่วไป
ระดับ 3 มีทักษะการพัฒนาใช้เครื่องมือสื่อสาร เครื่องบันทึกพยานหลักฐาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆในระดับที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการหาข่าว รายงานข่าว รวบรวมพยานหลักฐานได้
ระดับ 4 มีทักษะการพัฒนาใช้เครื่องมือสื่อสาร เครื่องบันทึกพยานหลักฐาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
ในระดับที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการหาข่าว รายงานข่าว รวบรวมพยานหลักฐานได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพัฒนา หรือปรับใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการสืบสวน ที่เป็นประโยชน์เหมาะกับการใช้งานสืบสวนแต่ละกรณีได้เป็นอย่างดี

- 3 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
3
สน. 3.3 ความรู้ระบบฐานข้อมูลและการจัดการองค์ความรู้
- ความรู้และความสามารถในการนำเรื่องราวที่ได้สืบสวนมารวบรวม เรียบเรียง มาวิเคราะห์ แสดงผลได้เป็นระบบ และสามารถเก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
ระดับ 1 จัดทำสมุดภาพคนร้าย
สารบบงาน ทะเบียนประวัติอาชญากร และฐานข้อมูล โดยทำแฟ้มเอกสารได้
ระดับ 2 ทำบันทึกรายงานการสืบสวน ทำสำนวนการสืบสวน บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ หรือเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ได้
ระดับ 3 สามารถออกแบบระบบฐานข้อมูลการข่าว มีทักษะการควบคุมแหล่งข่าว การจัดระเบียบองค์ความรู้ สามารถหาแหล่งความรู้เพื่อการสืบสวนได้ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการสืบสวนได้ เช่น โปรแกรมความเชื่อมโยงของเครือข่ายคนร้าย (Link Notebook)
ระดับ 4 มีความเชี่ยวชาญในการเชื่อมโยง ตรวจสอบ ข้อมูลจากฐานข้อมูลของส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานเอกชนอื่น เพื่อใช้ในการสืบสวนได้
ระดับ 5 มีทักษะในการเป็นครูฝึกหรือผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลและโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการสืบสวน



- 4 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
4
สน. 3.4 ความรู้ด้านการบริหารการสืบสวน
- ความรู้เกี่ยวกับงานสืบสวน งานการข่าวกรอง เพื่อให้ได้ข่าวสาร พยานหลักฐาน และการบริหารงานงานสืบสวน
ระดับ1 สืบสวนตามที่ได้รับคำสั่ง หรือหาข่าวได้ตามที่ได้รับหัวข้อข่าวสารสำคัญเท่านั้น ไม่มีแนวความคิดหรือการวางแผนรูปแบบเค้าโครงของคดี
ระดับ 2 มีความสามารถในการกำหนดประเด็นการสืบสวน และวางแผนเค้าโครงการสืบสวน และจะหาพยานหลักฐานจากที่ใดได้
ระดับ 3 สามารถมีแนวคิดในการกำหนดประเด็นการสืบสวน และวางแผนเค้าโครงการสืบสวน มีความสามารถในการหาพยานหลักฐานเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐาน แนวทางสืบสวนได้เป็นอย่างดี
ระดับ 4 มีความรู้ในการสืบสวนกว้างขวาง สามารถอธิบาย บทเรียนการสืบสวนที่ผ่านมา แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการวางแผน และบริการการสืบสวนได้เป็นผลสำเร็จเสมอ
ระดับ 5 มีศักยภาพในการเป็นวิทยากร หรือฝึกฝนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมมือ มีความสามารถในการบริหารการสืบสวน



- 5 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
5
สน. 3.5 ความรู้การวิเคราะห์อาชญากรรม
- ความรู้ในการวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของคนร้าย หรือการเกิดเหตุคดีที่เกิดขึ้น (Crime Matching) ในระดับแผนประทุษกรรม(Tactical Crime Analysis)หรือ ความเชื่อมโยงทางเครือข่าย หรือองค์กรอาชญากรรม(Intelligence Crime Analysis) หรือพฤติกรรมของคนร้าย (Criminal Investigation Analysis) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสืบสวนจับกุมคนร้าย
ระดับ1 สืบสวนได้เป็นรายคดี ไม่มีความคิดหรือแนวทางในการ จัดระบบ ระเบียบในการเทียบเคียง หาความเชื่อมโยงระหว่างคดีที่เกิดขึ้น หรือคนร้ายได้
ระดับ 2 หาความเชื่อมโยงคดีที่เกิดขึ้น หรือคนร้ายที่ก่อเหตุ ได้อย่างมีเหตุมีผลเสมอโดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ระดับ 3 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นระบบ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้อื่นได้ในการหาความเชื่อมโยง เหตุที่เกิด หรือคนร้ายได้อย่างดี
ระดับ 4 มีการเก็บข้อมูลไว้เป็นระบบ ในสารบบที่เป็นสากล หรือทันสมัย เช่นฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกใช้ มาสนับสนุนงานสืบสวน วิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ หรือคนร้ายได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 มีการวิเคราะห์อาชญากรรม และกรรมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ประโยชน์ข้อมูลแก่หน่วย และหน่วยข้างเคียงจนเป็นที่ยอมรับ โดยหน่วยข้างเคียงมาขอใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือการวิเคราะห์

สมรรถนะตำรวจจราจร ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งจราจรและระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1
สน. 5.1 ทักษะการให้สัญญาณและการจัดการจราจร
- ความสามารถในการให้สัญญาณจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 24 และจัดการจราจร
ระดับ 1 ให้สัญญาณมือและนกหวีดจัดการจราจรบนถนนที่ไม่มีการจราจรคับคั่งได้ถูกต้องตามแบบ
ระดับ 2 ให้สัญญาณมือและนกหวีดจัดการจราจรเมื่อมีอุบัติเหตุจราจร
ระดับ 3 ให้สัญญาณมือและนกหวีดในสี่แยกที่มีการจราจรคับคั่ง ในกรณีที่สัญญาณไฟขัดข้อง
ระดับ 4 จัดการจราจรในพื้นที่คับคั่งของการจราจรได้เป็นอย่างดี มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนจนได้รับคำชม
ระดับ 5 เป็นครูฝึกหรือพัฒนางานจัดการจราจรได้ผลเป็นที่พอใจหรือยอมรับของหน่วยงานทั่วไป

2
สน. 5.2 ความรู้กฎหมายจราจรขนส่งและรถยนต์
- มีความรู้สามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและความผิดเกี่ยวกับการจราจรได้อย่างพอใจ
ระดับ 1 เข้าใจข้อหาที่เขียนลงในใบสั่งหรือบันทึกจับกุมได้เท่านั้น
ระดับ 2 สามารถอธิบายข้อหาหรือความผิดในใบสั่งหรือบันทึกจับกุมได้เป็นอย่างดี
ระดับ 3 มีความรู้เสนอแนะเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร, พ.ร.บ.รถยนต์, พ.ร.บ.ขนส่ง
ระดับ 4 มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่ง โดยใช้กฎหมายเป็นแนวทางจนได้ผลดี

- 2 -
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง



ระดับ 5 มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายจราจร, รถยนต์, ขนส่ง จนสามารถเสนอแนะแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายได้ อีกทั้งเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่หน่วยงานปละประชาชนได้


3
สน. 5.3 ทักษะการจัดการเหตุวิกฤติและเหตุฉุกเฉิน
- มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเหตุเร่งด่วนฉุกเฉิน อันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์และภัยพิบัติในเบื้องต้นได้ เพื่อการช่วยเหลือให้ประชาชนปลอดภัย
ระดับ 1 เข้าใจแผนการปฏิบัติในการเผชิญเหตุวิกฤติของหน่วย เช่น ไฟไหม้ อุบัติเหตุขนาดใหญ่ การจัดการเหตุระเบิด การช่วยเหลือตัวประกัน การช่วยเหลือผู้ฆ่าตัวตาย การเกิดอุบัติเหตุ สารเคมีตกหล่น
ระดับ 2 มีทักษะในการปฏิบัติตามแผนการเผชิญเหตุวิกฤติ
ระดับ 3 สามารถแนะนำเพื่อนร่วมงานหรืออาสาสมัคร หรือหน่วยงานอื่นได้ เช่น หน่วยดับเพลิง รถพยาบาล ในการแก้ไขเหตุวิกฤติได้
ระดับ 4 มีทักษะในการเข้าแก้ไขเหตุปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้ผลดีมาแล้ว และมีแนวทางในการพัฒนาวิธีปฏิบัติและเสนอวิธีแก้ไขแผนเผชิญเหตุของ สภ.
ระดับ 5 มีทักษะการเป็นวิทยากรในการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุต่าง ๆ ของ สภ. เช่น แผนเผชิญเหตุระเบิด แผนเผชิญเหตุจับตัวประกัน แผนเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ไฟไหม้ ตึกถล่ม

- 3 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
4
สน. 5.4 ทักษะการประชาสัมพันธ์
- ความสามารถในการทำความเข้าใจกับประชาชน โดยตำรวจ ทำให้มองภาพลักษณ์ของตำรวจไม่เสื่อมเสีย
ระดับ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตำรวจอย่างเดียว โดยไม่พูดคุยทำความเข้าใจหรือปฏิบัติตน ให้ประชาชนเชื่อถือศรัทธา
ระดับ 2 มีการพบปะพูดคุยหรือปฏิบัติตนให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเชื่อถือศรัทธาตำรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ
ระดับ 3 มีการพบปะพูดคุยหรือปฏิบัติตนให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเชื่อถือศรัทธาตำรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ผลดี
ระดับ 4 เป็นตัวอย่างในการเผยแพร่หรือสร้างความเข้าใจระหว่างตำรวจกับประชาชนจนเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานและพื้นที่
ระดับ 5 เป็นครูฝึกหรือวิทยากรชักนำข้าราชการตำรวจให้ใช้หลักการประชาสัมพันธ์ผลงานให้ประชาชนในพื้นที่เชื่อถือศรัทธา

5
สน. 5.5 ทักษะการใช้อุปกรณ์ควบคุมและบังคับใช้กฎหมายจราจร
- ความสามารถในการใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจราจรหรือการควบคุมจราจรในพื้นที่ได้
ระดับ 1 มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ไฟวับวาบ ได้
ระดับ 2 มีความสามารถในการใช้เปิดปิดสัญญาณไฟจราจรได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการจราจร และใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจได้


- 4 -

ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ - ระดับ 3,4 และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3 หรือ 4 ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง



ระดับ 3 มีความสามารถในการเรียนรู้ หรือใช้อุปกรณ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เช่น เครื่องตรวจจับความเร็ว
ระดับ 4 มีทักษะในการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมจราจรได้อย่างรวดเร็ว เช่น กล้องวีดีโอตรวจสภาพการจราจร
ระดับ 5 สามารถเป็นครูฝึกในการแนะนำวิธีการจัดการจราจรให้แก่ข้าราชการตำรวจและอาสาจราจรได้เป็นอย่างดี

สมรรถนะของตำรวจภูรภาค 7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งป้องกันปราบปราม และระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1.
สน.2.1 ทักษะการรักษาความปลอดภัยและความสงบ
1.ความรู้เกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ การควบคุมฝุงชน การข่าวกรอง การแก้ไขปัญหาความไม่สงบ การต่อต้านการข่าว การแก้ไขเหตุวิกฤติและภัยพิบัติ และภัยคุกคามชุมชนและประเทศรูปแบบต่าง ๆ
2..ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยสถานที่ บุคคล และความรู้เกี่ยวกับการก่อการร้ายสากล การก่อความไม่สงบ และกล การก่อความไม่สงบ และภัยคุกคามต่าง ๆ
3.ความสามารถในการถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ และราชวงษ์ ตามกฎหมายหรือระเบียบ
4.ความรู้เกี่ยวกับแผนปฏิบัติดังกล่าวของหน่วยด้วย
ระดับ 1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ จากสื่อมวลชนเท่านั้น ปฏิบัติหน้าที่ตามความคุ้นเคยที่ได้ทำมาเท่านั้น
ระดับ 2 มีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อต้าน การก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ การควบคุมฝูงชน และมีทักษะการ รปภ.บุคคล สถานที่ และการ ถปภ.
ระดับ 3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ และมีทักษะการ รปภ.บุคคล สถานที่ และการ ถปภ.ความเข้าใจเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง
ระดับ 4 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ และมีทักษะการ รปภ.บุคคล สถานที่ และการ ถปภ.ความเข้าใจเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง และเข้าใจแผนการปฏิบัติของหน่วยเป็นอย่างดี
ระดับ 5 มีความสามารถในการเป็นผู้บรรยายหรือครูฝึกเกี่ยวกับการ ถปภ.การ รปภ.การข่าวกรอง การต่อต้านการก่อการร้าย ให้แก่ตำรวจ และประชาชน เพื่อป้องกันภัยจากผุ้ก่อความไม่สงบ ผู้ก่อการร้าย ภัยพิบัติได้

2
สน.2.2 ทักษะยุทธวิธีตำรวจ
-ความสามารถของตำรวจในการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ที่ตำรวจต้องประสบ เพื่อระงับเหตุ ค้นหาพยานหลักฐานหรือจับกุมคนร้าย ให้ได้ถูกต้องมากสุดใน 4 มิติคือ
1.การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือระงับเหตุไม่ให้เกิด หรือช่วยเหลือเหยื่อ ตำรวจ ประชาชนให้ปลอดภัยหรือเป็นอันตรายน้อยได้
2.การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่ใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
3.การจับกุมคนร้าย
4.การไม่ทำให้ภาพลักษณ์ตำรวจเสื่อมเสีย เป็นเงื่อนไขปัญหาอื่น
ระดับ1 ทดสอบการจำลองเหตุการณ์ใน 4 เรื่องหลัก ไม่ผ่านตามเกณฑ์คือ
1.หลักการยุทธวิธีตำรวจพื้นฐาน
2.การตรวจค้นบุคคล
3.การตรวจค้นสถานที่
4.การตรวจตั้งจุดตรวจจุดสกัด และตรวจค้นยานพาหนะ
ระดับ 2 ทดสอบผ่านเกณฑ์การจำลองเหตุการณ์ทางยุทธวิธีตำรวจ 4 เหตุการณ์
ระดับ 3 ทดสอบผ่านเกณฑ์การจำลองเหตุการณ์ทางยุทธวิธีตำรวจ 4 เหตุการณ์ ได้เป็นอย่างดี
ระดับ 4 ทดสอบผ่านเกณฑ์การจำลองเหตุการณ์ทางยุทธวิธีตำรวจ 4 เหตุการณ์ ได้เป็นอย่างดี และมีการพัฒนาวิธีการทำงานหรือแก้ไขปัญหา ให้ดีขึ้น
ระดับ 5 มีทักษะการเป็นครูฝึก และสามารถฝึกและพัฒนาผู้ร่วมงานให้มีทักษะหรือทำงานเป็นทีมในการแก้ไขปัญหายุทธวิธีตำรวจทั้ง 4 เหตุการณ์ที่ใช้ทดสอบได้เป็นอย่างดี

3
สน.2.3 ทักษะการใช้อาวุธปืนและ อาวุธไม่ถึงตาย
-ความสามารถในการใช้อาวุธปืนในการปฏิบัติหน้าที่ และอาวุธที่ไม่ถึงตายอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการจับกุม การป้องกัน ระดับการใช้กำลัง และหลักสิทธิมนุษยชน
ระดับ 1ทดสอบการใช้อาวุธปืน ตามหลักสูตรการยิงปืนทดสอบมาตรฐาน ไม่ถึงเกณฑ์ (80%) ไม่มีทักษะในการใช้กระบองสั้น สเปรย์พริกไทย ตามข้อกำหนดของหน่วย
ระดับ 2ทดสอบการใช้อาวุธปืน ตามหลักสูตรการยิงปืนทดสอบมาตรฐาน ถึงเกณฑ์ (80%) มีทักษะในการใช้กระบองสั้น สเปรย์พริกไทย ตามข้อกำหนดของหน่วย
ระดับ 3ทดสอบการใช้อาวุธปืน ตามหลักสูตรการยิงปืนทดสอบมาตรฐาน เกินเกณฑ์ (80%) มีทักษะในการใช้กระบองสั้น สเปรย์พริกไทย ตามข้อกำหนดของหน่วย
ระดับ 4ทดสอบการใช้อาวุธปืน ตามหลักสูตรการยิงปืนทดสอบมาตรฐาน เกินเกณฑ์ (90%ขึ้นไป) มีทักษะในการใช้กระบองสั้น สเปรย์พริกไทย ตามข้อกำหนดของหน่วย
ระดับ 5 ทดสอบการใช้อาวุธปืน ตามหลักสูตรการยิงปืนทดสอบมาตรฐาน เกินเกณฑ์ (80%) มีทักษะในการใช้กระบองสั้น สเปรย์พริกไทย ตามข้อกำหนดของหน่วย และมีทักษะเป็นครูฝึกของหน่วยในเรื่องการใช้อาวุธปืน การใช้กระบอง สเปรย์พริกไทย และอาวุธไม่ถึงตายอื่น ๆ ของหน่วยได้ดี


4
สน.2.4 ความรู้การควบคุมอาชญากรรม
-ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ ทฤษฎีการเกิดอาชญากรรม ทฤษฎีหรือหลักการป้องกันป้องกันอาชญากรรมแบบต่าง ๆ การจัดสายตรวจแบบต่าง ๆ การควบคุมสายตรวจ ระเบียบวิธีปฏิบัติของสายตรวจในเหตุการณ์ต่าง ๆ การวิเคราะห์อาชญากรรม
ระดับ 1. ไม่สามารถอธิบายหลักการ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรม
ระดับ 2. สามารถอธิบายหลักการ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรมได้บ้าง แต่ไม่สามารถเสนอแนะ หรือพัฒนางานระดับผู้ปฏิบัติหรือสายตรวจได้
ระดับ 3 มีความรู้ปานกลาง สามารถแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาอาชญากรรมในระดับพื้นที่ได้ หรือพัฒนางาน มีข้อเสนอแนะในการพัฒนางานควบคุมอาชญากรรมที่เป็นประโยชน์
ระดับ 4 สามารถอธิบาย หลักการ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรม สามารถวิเคราะห์อาชญากรรม และเสนอแนะวิธีแก้ไขได้เป็นอย่างดี พัฒนางานควบคุมอาชญากรรมได้ดี
ระดับ 5 มีทักษะในการให้ความรู้ อธิบาย แก้ไขปัญหาการควบคุมอาชญากรรมให้แก่เพื่อนร่วมงาน ในหน่วยและนอกหน่วยได้เป็นอย่างดี

5
สน.2.5 ทักษะตำรวจชุมชน และ งานชุมชนมวลชนสัมพันธ์
1.ความสามารถในการเป็นผู้นำให้ชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกับตำรวจ
2.มีความสามารถ ในการปฏิบัติการเพื่อให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับตำรวจ
ระดับ 1 มีปัญหาในเรื่องความประพฤติ ความไว้วางใจ ที่ประชาชนมีต่อตำรวจ
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีเป้าหมาย ไม่ทราบว่าจะต้องใช้ความร่วมมือ หรือให้ประชาชน ชุมชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยชุมชนเอง หรือร่วมกับตำรวจอย่างไร
ระดับ 2 ประชาชน ในพื้นที่ให้ความไว้วางใจ ให้ความร่วมมือ ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ ทั้งการเข้าถึงประชาชน การให้ประชาชนมีความรู้ และร่วมกันป้องกันภัยด้วยตนเอง การให้ประชาชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอาชญากรรม
ระดับ 3 มีความสามารถในการเป็นผู้นำ ชุมชนในพื้นที่ แก้ไขปัญหาอาชญากรรม โดยประชาชนศรัทธา นับถือ ตำรวจ
ระดับ 4 สามารถดำเนินกิจกรรมการยุติธรรมสมานฉันท์ได้ผลเช่น การไกล่เกลี่ยกลุ่มคนที่เป็นศัตรูให้คืนดีกัน การให้ผู้เสียหายและผู้ต้องหาคืนดีกัน กลับสู่ชุมชน โดยไม่ระแวงกันร่วมมือเป็นเพื่อนบ้านที่ดีกัน
ระดับ 5 สามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่ให้ความเคารพศรัทธา ตำรวจและสามารถสร้างเครือข่ายประชาชน ชุมชน เพื่อการป้องกันอาชญากรรม และการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยหลักสมานฉันท์ได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยและส่วนราชการอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552