วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวทางจัดตั้งชุดฟื้นฟูเยียวยา (Family liaison officer)

ชุดฟื้นฟูเยียวยา (Family Investigation Liaison Officer: FILO)
หน่วยตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลียได้จัดชุดตำรวจฝ่ายสืบสวนทำหน้าที่ประสานงานญาติผู้เสียหายหรือเหยื่อ เรียกว่า “Family Investigation Liaison Officer: FILO” ส่วนตำรวจ นครบาลมหานครลอนดอน หรือสก๊อตแลนด์ยาร์ด ใช้ชื่อว่าชุด “Family Liaison Officer: FLO” ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้
1. เป็นทั้งตำรวจในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบแต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบที่ทักษะการสืบสวนด้วย เพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ญาติผู้เสียหาย
2. จะได้รับมอบหมายจากพนักงานสืบสวนผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบคดี
(Senior Investigative Officer :SIO) ให้ทำหน้าที่เป็นชุดประสานงานระหว่างญาติกับตำรวจในคดีสำคัญ เช่น คดีฆาตกรรม หรือคนหาย
3. ตำรวจชุดนี้จะมีจำนวนกำลังพลตามแต่ความซับซ้อนหรือใหญ่ของคดี และใช้ในการรวบรวมข่าวสารหรือพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งอาจเป็นผู้ต้องสงสัยด้วยในคราวเดียวกัน
4. ตำรวจชุดนี้ต้องมีทักษะการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งตำรวจชุดนี้จะเป็นบุคคลที่คอยปลอบใจญาติผู้เสียหาย หรือเป็นไหล่ที่ให้ญาติผู้เสียหายซบร้องไห้ (Shoulder to cry on )
5. บางครั้งตำรวจชุดนี้จะช่วยเหลือในการให้ข่าวแก่สื่อมวลชนในกรณีที่ญาติผู้เสียหายไม่ต้องการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และอนุญาตให้ตำรวจชุดนี้ให้สัมภาษณ์แทน
6. ตำรวจชุดนี้จะช่วยเหลือญาติผู้เสียหาย หรือเหยื่ออาชญากรรม หรือญาติบุคคลสูญหายในการขอรับค่าตอบแทน ผู้เสียหาย การขอการคุ้มครองพยานจากตำรวจและหน่วยเกี่ยวข้อง การจัดการศพหรือขอรับศพจากหน่วยนิติเวช หรือป้องกันการนำศพไปเป็นเงื่อนไข (แห่ศพประท้วง)
7. ในกรณีภัยพิบัติจะคอยช่วยเหลือจัดการเกี่ยวกับพิสูจน์เอกลักษณ์ การขอรับเงินประกันภัยหรือเงินช่วยเหลือ
8. ในกรณีการก่อความไม่สงบหรือที่การตาย หรือการสูญหายเป็นเงื่อนไขทางการเมือง ตำรวจชุดนี้จะสร้างความเข้าใจหรือลดเงื่อนไขการนำไปสู่ความไม่สงบ
ตำรวจออสเตรเลียได้นำไปใช้ในกรณีเกิดเหตุสึนามิในประเทศไทย ปี พ.ศ.2547 สึนามิที่ซามัว คนออสเตรเลียเสียชีวิตเมื่อเดือน พ.ย. ค.ศ.2008 ที่เมืองมุมไบ อินเดีย และการช่วยเหลือประสานประชาชนที่ต้องถูกอพยพออกจากสลัมในปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายจากการปฏิบัติการ Operation Neath ที่เมืองซิดนีย์ เมื่อปี ค.ศ.2008
การฝึกอบรม
ควรใช้ชุดชุมชนมวลชนสัมพันธ์ซึ่งมีประจำอยู่ทุกสถานีตำรวจ อย่างน้อยชุดละ 8-12 นาย เมื่อมีเหตุที่ต้องใช้ให้แปรสภาพเป็นชุดฟื้นฟูเยียวยา โดยทำหน้าที่เช่นเดียวกับชุด Family Investigation Liaison Officer: FILO โดยในการเตรียมการควรฝึกอบรม ดังนี้
1. พ.ร.บ.และระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
2. การคุ้มครองพยาน
3. การรวบรวมพยานหลักฐาน และขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนชั้นอัยการ ชั้นศาล การให้การเป็นพยานชั้นตำรวจ อัยการ และศาล และระเบียบการแจ้งความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนของ ตร.
4. การชันสูตรพลิกศพ หรือพิสูจน์เอกลักษณ์ และการดำเนินคดีเกี่ยวกับการไต่สวน หรือดำเนินการชั้นศาลเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพ
5. ทักษะการตั้งใจรับฟัง (Active Listening Skill)
6. ศาสนพิธีเกี่ยวกับงานศพ พุทธ อิสลาม คริสต์
7. การต่อต้านการก่อความไม่สงบ
8. วิชาว่าด้วยเหยื่ออาชญากรรม (Victimology)
9. สิทธิของผู้เสียหายตามปฎิญญาสากลของสหประชาชาติ

**********************

แนวคิดการจัดชุดเคลื่อนที่เร็วต่อต้านการก่อความไม่สงบในเมือง

ชุดเคลื่อนที่เร็ว (Mobile Field Force : MFF)

เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วระดับหมวด มีลักษณะเป็นชุดปฏิบัติการเอนกประสงค์ในการแก้ไขปัญหาก่อความไม่สงบในเมือง ซึ่งหน่วยตำรวจในมลรัฐแคลิฟลอเนียร์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานการจัดการเหตุวิกฤติโดยผู้บังคับใช้กฎหมายได้ให้ความเห็นชอบและจัดตั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997
โดยเป็นการสนธิกำลังจัดเป็นชุดดังกล่าวนี้ขึ้น และใช้ในภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบหรือการชุมนุมประท้วง เหตุภัยพิบัติและเหตุภาวะฉุกเฉินต่างๆ ในเมือง ในสถานการณ์เมื่อระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจโดยตำรวจท้องที่กระทำได้ไม่เต็มที่หรือมีขีดจำกัดในเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น การบริการหรือการปฏิบัติของตำรวจท้องที่ไม่สามารถทำได้เต็มที่ เช่น แผ่นดินไหว ไฟฟ้าดับ หรือสถานีตำรวจถูกเผา หรือปิดล้อม
1. การจัดเฉพาะกิจ (56 นาย ส. 1, ป.55)
1.1 ผบ.ชุด 1 นาย (รอง สว.- สว.)
1.2 รองหัวหน้าชุด 1 นาย (ด.ต.)
1.3 ผบ.หมู่ 4 นาย (จ.ส.ต. – ด.ต.)
1.4 ผู้บังคับรถ ชั้นประทวน 12 นาย
1.5 พลขับ 14 นาย (ชั้นประทวน)
1.6 เจ้าหน้าที่บันทึกวิดีโอ 2 นาย (ป.)
1.7 เจ้าหน้าที่ชุดต่อต้านการซุ่มยิง 2 นาย (ป.)
1.8 ตำรวจประจำชุด 24 นาย (ป.)
1.9 ตำรวจประจำรถควบคุมผู้ต้องหา 4 นาย (2 คันๆ ละ 2 คน หากเป็นไปได้ควรเป็นผู้หญิง คันละ 1 คน)
2. อุปกรณ์มาตรฐานขั้นต่ำ
2.1 รถยนต์สายตรวจ 4 ประตู เอนกประสงค์ 14 คัน
2.2 วิทยุแบบมือถือ 16 เครื่อง พร้อมแบตเตอรี่สำรอง
2.3 อาวุธปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. ประจำตัวตำรวจ 1 นาย/1 กระบอก (เว้นเจ้าหน้าที่ประจำรถควบคุมผู้ต้องหา) จำนวน 52 กระบอก
2.4 ปืนลูกซองประจำรถยนต์สายตรวจ 1 กระบอก/คัน จำนวน 14 กระบอก
2.5 กระสุนปืนลูกซอง 350 นัด
2.6 กระสุนปืนลูกซองแบบกระสุนยาง 140 นัด
-2-

2.7 กระสุนขนาด 9 มม. จำนวน 700 นัด
2.8 อุปกรณ์ฉุกเฉิน
2.8.1 ถังดับเพลิงแบบยกได้ (5 ปอนด์) 1 ถัง/รถสายตรวจ 1 คัน จำนวน 14 ถัง
2.8.2 ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1 ชุด
2.8.3 กระบองไฟเรืองแสงให้สัญญาณจราจร จำนวน 52 อัน
2.8.4 ผ้าห่มใช้ดับไฟ 2 ผืน/รถ 1 คัน จำนวน 28 ผืน
2.9 อุปกรณ์ทางยุทธวิธี
2.9.1 กล้องส่อง 2 ตา จำนวน 2 อัน
2.9.2 เครื่องเปล่งเสียงแบบเคลื่อนที่ 1 ชุด (ไม่รวมที่ติดกับรถสายตรวจ)
2.9.3 สายกั้นที่เกิดเหตุสำหรับตำรวจ 5 ชุด
2.10 รถยนต์บรรทุกผู้ต้องหา 2 คัน
2.11 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 176 เส้น
2.12 ชุดกล้องถ่ายวิดีโอ 2 ชุด พร้อมถ่านสำรอง
2.13 ปืนเล็กยาว 52 กระบอก พร้อมกระสุน 60 นัด/กระบอก
2.14 อุปกรณ์ไม่ถึงตายสำหรับควบคุมฝูงชน
2.14.1 หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ 56 อัน
2.14.2 เครื่องยิงแก๊สน้ำตา 24 กระบอก, กระสุนแก๊สน้ำตา 12 นัด/กระบอก
2.14.3 แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง 120 ลูก
2.14.4 ระเบิดเสียง 600 ลูก (150 ลูก/หมู่)
3. ขีดความสามารถ/ขีดจำกัด
3.1 เป็นรถสายตรวจ 14 คัน โดย 2 คัน เป็นรถ หน.ชุด และ รอง หน.ชุด ส่วนอีก 12 คัน ประกอบกำลัง 4 นาย/คัน เป็นสายตรวจรักษาความสงบในพื้นที่ที่มีเหตุจลาจลหรือก่อความ ไม่สงบ
3.2 เป็นจุดอำนวยการและควบคุมการจราจรได้ประมาณ 20 จุดพร้อมกัน
3.3 ตั้งจุดตรวจได้ 12 จุดพร้อมกันในพื้นที่ก่อความไม่สงบ
3.4 รักษาความปลอดภัยและระวังป้องกันที่ตั้ง หรือสาธารณูปโภคสำคัญ
3.5 จัดรูปขบวนควบคุมฝูงชนได้ 4 หมู่ ดำเนินกลยุทธ์ควบคุมฝูงชนและใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนได้ แต่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
-3-

3.6 จัดรูปขบวน 3 หมู่ ควบคุมฝูงชน และใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนพร้อมทั้งรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
3.7 เคลื่อนที่เร็วแก้ปัญหาเหตุก่อความไม่สงบได้ภายในพื้นที่
3.8 ดำเนินการจับกุมขนาดใหญ่ได้ ซึ่งสามารถจับกุมแกนนำและผู้ชุมนุมพร้อมกันได้จำนวนหนึ่ง
3.9 มีขีดความสามารถต่อต้านพลซุ่มยิงได้
3.10 มีขีดจำกัดในการปฐมพยาบาลหรือส่งกลับสายการแพทย์
4. ระยะเวลาเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่
4.1 สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 12 ชม. รวมถึงเวลาเดินทางจากที่ตั้งถึงที่ปฏิบัติงาน หรือเตรียมพร้อม
4.2 ควรให้มีเวลาพักหรือเตรียมการอย่างน้อย 12 ชม./ผลัด
5. อาวุธประจำกายของชุดเคลื่อนที่เร็ว
5.1 ปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. พร้อมกระสุน 1 อัตรายิง
5.2 อุปกรณ์พื้นฐานของสายตรวจรถยนต์ติดกับเข็มขัดสนาม
5.3 หมวกควบคุมฝูงชนพร้อมกระบังหน้า
5.4 ดิ้วหรือกระบองสั้นแบบยืดได้ ขนาด 26 นิ้ว พร้อมที่แขวน
5.5 เสื้อเกราะอ่อน
5.6 ไฟฉาย
5.7 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 4 เส้น/ตำรวจ 1 นาย
5.8 สเปรย์พริกไทย 1 กระป๋อง/นาย

*********************************

ที่มา : 1999 Law Enforcement Guide for Emergency Operations , Governor’s Office Of Emergency Services, State Of California. หน้า 53-64
สืบค้นจาก http://www.oes.ca.gov

ตัวอย่างโครงการตำรวจชุมชนลานทอง

โครงการ ตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง

1. หลักการและเหตุผล
กล่าวโดยทั่วไป หมู่บ้านลานทอง หมู่ 8 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ประมาณ 4,000 คน จำนวน 1,200 หลังคาเรือน มีถนนและซอย จำนวน 40 ซอย มี โรงเรียน อนุบาล 1 แห่ง อยู่ภายในหมู่บ้าน มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้แก่ถนนติวานนท์
สถานภาพอาชญากรรม ปรากฏว่าได้มีคนร้ายเข้าทำการลักทรัพย์ในเคหสถานและมีเหตุชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ รวมทั้งปัญหาทะเลาะวิวาท ทำร้ายซึ่งกันและกันบ่อยครั้งเกิดขึ้นใน หมู่บ้านลานทองซึ่งจากสภาพอาชญากรรมดังกล่าว เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพการแตกความสามัครีกันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและของเพื่อนบ้าน ถึงแม้หมู่บ้านนี้จะมีการรวมตัวกันของ คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 40 คน ก็ตาม แต่คณะกรรมการหมู่บ้านเหล่านั้นก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ซึ่งมุ่งเน้นให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมมือกันจัดสภาพแวดล้อมในบ้านของตนเองและร่วมมือกันดูแลถนน ตรอก ซอย ในหมู่บ้านไม่ให้คนร้ายมาใช้พื้นที่ดังกล่าวประกอบอาชญากรรมซึ่งมักปรากฏเสมอมาว่าประชาชนมักจะตำหนิติเตียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่โดยเฉพาะตำรวจสายตรวจ ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวนเสมอว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นและตำรวจไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประชาชนและตำรวจ รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของประชาชนด้านการบริการ ด้านความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ จึงมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้ง ที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป

2. ประวัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจให้สูงขึ้นในด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ โดยเฉพาะเน้นความรวดเร็วในการเข้าไประงับเหตุ การบริการประชาชน ณ ที่ทำการตำรวจชุมชนในด้านต่าง ๆ และการเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน และลดปัญหาอาชญากรรมโดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม


- 2 -

3. เป้าหมาย
3.1 จัดให้มีการบริการที่ดีในรูปแบบต่าง ๆ ณ ที่ทำการตำรวจชุมชน
3.2 เพิ่มมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในหมู่บ้านลานทอง
3.3 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทั้งในและนอกที่ทำการตำรวจชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ
3.4 ใช้มาตรการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เข้าดำเนินการต่อประชาชนในหมู่บ้านลานทอง
3.5 เน้นการออกไประงับเหตุของตำรวจชุมชนประจำหมู่บ้าน ตั้งใช้เวลาไม่เกิน 3 – 5 นาที บริการฉันท์มิตรเสมือนญาติ
3.6 เน้นการบริการรับแจ้งเหตุ แจ้งเอกสารหาย แจ้งเป็นหลักฐานและอื่น ๆ ด้วยการให้บริการฉันท์มิตรเสมือนญาติ
3.7 เน้นการเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชนหรือสร้างความเข้าใจอันดีงาม สร้างความพึงพอใจ ทำให้เกิดความประทับใจ และดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
3.8 ลดปัญหาอาชญากรรมในหมู่บ้านโดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปราม

4. วิธีดำเนินการ
4.1 แนวความคิดในการดำเนินงาน
4.1.1 ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการบ้านลานทอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีดำเนินงานจัดตั้งที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง โดยขอความร่วมมือในการจัดหาบ้านเช่าให้ 1 หลัง เพื่อดัดแปลงเป็นที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง (Lanthong Neighborhood Police Post) และใช้เป็นที่พักอาศัยของตำรวจด้วย รวมทั้งการจัดเงินเป็น สวัสดิการตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนาย และช่วยจัดหาสิ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในที่ทำการตำรวจชุมชนตามสมควร ตามความสมัครใจ
4.1.2 คัดเลือกตำรวจระดับนายสิบหรือพลตำรวจสองนาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะดี มนุษย์สัมพันธ์ และเต็มใจปฏิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชน (Policing) ส่งตัวเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรตำรวจชุมชน สัมพันธ์ของ ตร.ภูธรภาค 1 เพื่อปรับสภาพจิตใจและแนวความคิดก่อนที่จะส่งตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง

- 3 -

4.2 ขั้นตอนในการดำเนินการ
4.2.1 ปรับปรุงบ้านเช่าให้มีลักษณะเป็นที่ทำการตำรวจชุมชน ภายในที่ทำการตำรวจชุมชน จะประกอบด้วย
4.2.1.1 สัญลักษณ์ของที่ทำการตำรวจชุมชน ได้แก่ สัญลักษณ์ของกรมตำรวจเดิม คือ รูปตำรวจอุ้มคนเจ็บและมีเด็กจับขาตำรวจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ประชาชนทั่วไปทราบดีว่าเป็นสัญลักษณ์ ของตำรวจ
4.2.1.2 ป้ายชื่อที่ทำการตำรวจ ที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง และชื่อภาษาอังกฤษอยู่ข้างล่าง (Lanthong Neighborhood Police Post) ใต้ป้ายชื่อที่ทำการตำรวจชุมชนจะมีหมายเลขโทรศัพท์ติดไว้ด้วย
4.2.1.3 ภายในสำนักงานจะประกอบด้วย
1) โต๊ะ และเก้าอี้ สำหรับตำรวจนั่งทำงาน 1 ชุด
2) เคาเตอร์สำหรับรับเรื่องราวต่าง ๆ สำหรับประชาชนที่ไป ติดต่อและจะมีวิทยุ – โทรศัพท์ พร้อมสมุดเบอร์ 2 ใช้สำหรับบันทึกข้อความหรือเหตุการณ์ที่ ประชาชนแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ชุมชน
3) มีที่นั่งชุดรับแขก 1 ชุด ไว้ให้ประชาชนมานั่งเพื่อปรึกษาหารือ พบปะกับตำรวจชุมชน
4.2.1.4 จัดให้มีแผนที่สังเขปของหมู่บ้านลานทอง 1 แผ่น ซึ่งในแผ่นที่จะแสดงรายละเอียด ถนน ซอย ที่ตั้งของบ้าน เลขที่บ้าน และอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำมาลงรายละเอียดอื่น ๆ ไว้ตามที่ต้องการสำหรับใช้ในกาควบคุมอาชญากรรม เช่น การแบ่งเขตตรวจของยาม และสายตรวจ
4.2.1.5 จัดให้มีนาฬิกาอาชญากรรม ปักหมุดโยงเข้าไปในแผนที่หมู่บ้าน
4.2.1.6 แผ่นบอร์ดแสดงการจัดกำลังตำรวจสายตรวจรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ พร้อมนามเรียกขาน เพื่อสะดวกในการติดต่อแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ
4.2.1.7 บอร์ดสถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม ติดคู่กับนาฬิกาอาชญากรรม
4.2.1.8 บอร์ดรายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้านลานทอง พร้อมเลขที่บ้าน เลขที่ซอย และหมายเลขโทรทัศน์
4.2.1.9 บอร์ดแสดงผลการปฏิบัติการของตำรวจชุมชนลานทอง ซึ่งจะจัดไว้สำหรับประชาชนที่มาเยี่ยมชมที่ทำการตำรวจชุมชน มีรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) การตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชา (Commander’s Visit)
- 4 -

2) การเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน (House Visit)
3) ความสัมพันธ์ในชุมชน (Community Relation)
4) การให้ความรู้แก่ประชาชนตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Crime Control Through Environmental Design)
5) กิจกรรมตำรวจพบประชาชน (Interaction Welfare)
6) การแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน (Problem Solving)
7) การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน (Problem Juvenile)
8) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน (Get Together Understand Better)
9) จม.ขอบคุณจากประชาชนในพื้นที่ (Letter of Appreciation)
4.2.2 สิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานประจำที่ทำการตำรวจชุมชนลานทอง
4.2.2.1 จักรยานยนต์ 1 คัน สำหรับใช้เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
4.2.2.2 รถจักรยาน 2 ล้อ 2 คัน
4.2.2.3 วิทยุประจำที่ทำการ 1 เครื่อง
4.2.2.4 วิทยุมือถือ 2 เครื่อง
4.2.2.5 โทรศัพท์อย่างน้อย 1 หมายเลข
4.2.2.6 วัสดุสำนักงานต่าง ๆ ตามความจำเป็น
4.3 วิธีการปฏิบัติงาน
4.3.1 แนวความคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างตำรวจกับชุมชน
4.3.1.1 เตรียมการให้มีการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ สุภาพอ่อนโยน และไม่ซักช้าด้วยการ
1) ทำให้ที่ทำการตำรวจชุมชนเป็นผู้นำและปฏิบัติการแบบเบ็ดเสร็จ ณ ที่ทำการตำรวจชุมชนนั้น ๆ
2) มีการให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการป้องกันอาชญากรรมและการระงับเหตุตามโครงการควบคุมอาชญากรรมสภาพแวดล้อม
3) มีการตรวจสอบข่าวสาร และการเผยแพร่ข่าวสารที่รวดเร็ว ถูกต้องและทันเหตุการณ์
4) มีการให้คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
5) มีบริการแจ้งข่าวสารทั้งด่วนและไม่ด่วนให้ประชาชนทราบ
- 5 -

4.3.1.2 เสริมสร้างความสามัคคี เพื่อผลในด้านความไว้วางใจ และการสนับสนุนจากชุมชน ด้วยการ
1) สร้างบรรยากาศฉันท์มิตร
2) เสริมสร้างความรัก ความสามัคคีปองดองในหมู่คณะ
3) ขจัดอุปสรรค์ด้านความไม่เข้าใจ
4) ตำรวจชุมชนจะทำตัวเป็นเพื่อนกับประชาชนทุกคนในชุมชน โดยเฉพาะประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ และต้องการคำแนะนำ
4.3.1.3 แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของตำรวจ ด้วยการ
1) ให้ประชาชนได้เห็นการปฏิบัติการของตำรวจอย่างจริงจัง เช่น สายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจรถจักรยาน และสายตรวจเดินเท้า
2) ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง
3) มีจิตใจมุ่งมั่นในการรักความปลอดภัย
4) ทักทายปราศรัยด้วยความปรารถนาดี
4.3.1.4 นำแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาของสังคมด้วยการนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีผูกมัดจิตใจประชาชน ดังนี้
1) ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ขาดความอบอุ่น
2) แก้ปัญหาทะเลาะวิวาทภายในครอบครัว
3) ช่วยแก้ปัญหาเด็กเกเรและอื่น ๆ
4.3.2 กิจกรรมของตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง งานประจำที่ต้องปฏิบัติในรอบวัน
4.3.2.1 งานจราจร ใน ช.ม. เร่งด่วน ระหว่าง 06.30 – 08.30 น. และ 15.30 – 17.30 น. ตำรวจชุมชนทั้งสองนาย จะต้องออกไปจัดการจราจรที่ปากทางออกหมู่บ้าน สู่ถนนติวานนท์ และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครองหน้าโรงเรียนอนุบาลรพีพรรณ
4.3.2.2 งานบริการ ระหว่างเวลาราชการระหว่าง 08.30 – 16.30 น ตำรวจชุมชน 1 นาย จะต้องปฏิบัติประจำที่ทำการตำรวจและคอยให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
1) บริการให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ในขีดความสามารถ โดยเฉพาะแนะนำสถานที่บุคคล เส้นทาง ภายในเขตหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง
2) บริการรับแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย เหตุขอความช่วยเหลือต่าง ๆ
- 6 -

3) แนะนำเรื่องการแจ้งเกิด/ตาย รวมทั้งแนะนำการออกใบ มรณบัตร
4) แนะนำให้ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้าน แจ้งย้ายทะเบียนราษฎรให้ถูกต้อง
5) บริการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่มีผู้มาขอร้อง
6) รับดูแลสิ่งของที่มีผู้เก็บตกได้ และนำมามอบให้ไว้ระหว่างสืบหาเจ้าของ
4.3.2.3 งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในระหว่างที่ตำรวจ ชุมชน 1 นาย ปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่ทำการตำรวจ ตำรวจชุมชนอีก 1 นาย จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน และตรวจการปฏิบัติงานของ รปภ. เอกชน ทั้งยามจุดและร่วมตรวจเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนกับยามสายตรวจด้วย
1) ยามจุดมี 2 ชุด 2 นาย
2) ยามสายตรวจมี 4 นาย
3) จัดให้มีนายยามปกครองดูแลยามจุด และยามสายตรวจอีก 1 นาย
4) จัดระบบตู้แดง ภายในหมู่บ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทุกถนน และซอยโดยให้ยามสายตรวจเป็นผู้ลงนามในสมุดประจำตู้แดง โดยมีนายยามเป็น ผู้กำกับดูแล และตำรวจชุมชนเป็นผู้ตรวจกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
5) การตรวจเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน ให้มุ่งเน้นตรวจบ้านเรือนที่ไม่มีคนเฝ้าดูแลโดยใช้กุญแจเฝ้าบ้านเป็นกรณีพิเศษ สำหรับบ้านที่มีคนดูแลจะใช้วิธีการตรวจผ่าน และมีการทักทายปราศรัยกับเจ้าของหรือผู้ดูแลบ้านด้วยอัธยาศัยไม่ตรีอันดี
6) ในระหว่างการตรวจเยี่ยมบ้านเรียน ตำรวจชุมชนจะต้องมีการให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันอาชญากรรม และการแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่หรือสถานการณ์ที่เสี่ยงล่อแหลมต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
7) หากพบการกระทำผิดกฎหมายให้ดำเนินการจับกุมทันที กรณีความผิดเล็กน้อยให้ว่ากล่าวตักเตือน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน
4.3.2.4 งานเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน ตำรวจชุมชน 1 นาย จะต้องออกไปเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชนวันละ 1 ซอย เพื่อประชุมชี้แจงประชาชนตามความคิดจากโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม และแจกเอกสารคำแนะนำต่าง ๆ เช่น

- 7 -

1) คำแนะนำในการจัดสภาพแวดล้อมในเขตรั้วบ้าน (พื้นที่ปฐมภูมิ) ไม่ให้เอื้ออำนวยต่อคนร้ายในการเข้าประกอบอาชญากรรม
2) คำแนะนำในการร่วมมือกันตรวจตรา สอดส่อง ดูแลพื้นที่ ถนน ซอยหน้าบ้าน ข้างบ้าน หลังบ้าน (พื้นที่ทุติยภูมิ) ไม่ให้คนร้ายมาใช้พื้นที่ดังกล่าวประกอบอาชญากรรมได้ โดยสะดวก
3) การปฏิบัติตัวในที่สาธารณะไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย
4) แผนประทุษกรรมของคนร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง
4.3.2.5 เตรียมพร้อม ณ ที่ทำการตำรวจชุมชน หลังเวลา 21.00 น. เป็นต้นไป เป็นเวลาพักผ่อนตำรวจชุมชน 1 นาย (เป็นอย่างน้อย) จะต้องนอนพักผ่อนที่ที่ทำการ และพร้อมที่จะถูกปลุกขึ้นมาด้วยเสียงวิทยุโทรศัพท์ ทั้งจากศูนย์วิทยุ และจากประชาชนในหมู่บ้านที่มีเหตุเกิดขึ้น ตำรวจชุมชนต้องพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุ และไปยังที่เกิดเหตุทันทีโดย ด่วนที่สุด ภายใน 3 – 5 นาที และทำหน้าที่แจ้งเหตุให้ศูนย์วิทยุปากเกร็ดทราบ เพื่อสั่งการให้สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจรถยนต์ รีบเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนและสกัดจังคนร้าน
4.4 มาตรการเสริมการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหน้าที่ของ สภ.อ. ปากเกร็ด ซึ่งเป็นโรงพักแม่ต้องดำเนินการสนับสนุน
4.4.1 มาตรการป้องกันปราบปราม
4.4.1.1 สายตรวจรถจักรยานยนต์ ต้องเข้าไปตรวจในหมู่บ้านให้บ่อยครั้งในช่วงแรกของการจัดตั้งตำรวจชุมชนเพื่อป้องกันเหตุมิให้เกิดขึ้นหลังจากจัดระบบตำรวจชุมชนเรียบร้อยแล้ว สายตรวจจักรยานยนต์ จึงลดความถี่ในการเข้าตรวจตราในหมู่บ้าน แต่จะต้องรีบเข้าระงับเหตุทันที ภายใน 3 – 5 นาที เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน
4.4.1.2 สายตรวจรถยนต์เสริมการปฏิบัติ รับผิดชอบการป้องกันและอำนวยการ กำกับ ดูแล การปฏิบัติของสายตรวจรถจักรยานยนต์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับสายตรวจรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 4.4.1.1
4.4.1.3 ฝ่ายสืบสวน รับผิดชอบจัดทำประวัติผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างปากซอย ถ่ายรูป – พิมพ์มือ ตรวจสอบประวัติทุกคน รวมทั้งจัดทำประวัติบุคคลต้องสงสัย บุคคลที่มีหมายจับ และบุคคลพ้นโทษไว้
4.4.1.4 ฝ่ายป้องกันปราบปราม รับผิดชอบจัดทำประวัติคนงานก่อสร้างในเขตพื้นที่หมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง โดยให้ประสานผู้รับเหมาก่อสร้างและ/หรือเจ้าของ โครงการ รวมทั้งควบคุมสอดส่อง บุคคล สถานที่ที่เป็นแหล่งมั่วสุมอบายมุข และผิดกฎหมาย
- 8 -

4.4.1.5 ร้อยเวร 20 และ / หรือ สวป. นำกำลังตำรวจออกตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ในพื้นที่เกิดบ่อยครั้ง โดยประสานข้อมูลกับฝ่ายสอบสวนตามสถิตินาฬิกาอาชญากรรม
4.4.2 มาตรการชุมชนสัมพันธ์
4.4.2.1 จัดทำเอกสารหรือสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบหมายเลขดทรศัพท์ของที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทองและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ประชาชนมีปัญหา ตำรวจชุมชน (หมู่บ้านลานทอง) อาสาแก้ไข โทร. 9645827

สภ.อ. ปากเกร็ด โทร. 5838323, 5868813
สภ.เมืองทองธานี โทร. 9829490
ศูนย์วิทยุรับแจ้งเหตุด่วน–เหตุร้าย โทร. 5840465
ห้องร้อยเวรสอบสวน โทร. 9608724, 5838323
ห้อง สวป. โทร. 9608725
ห้อง สว.สส. โทร. 5847298


ไม่ได้รับความสะดวกติดต่อ
ผกก.หน.สภ.อ. ปากเกร็ด โทร. 5838813
รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี โทร. 5263287
ผบก.ภ จว.นนทบุรี โทร. 5250833

4.4.2.2 ทำเอกสารหรือสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์วิธีการแจ้งข่าวสารอาชญากรรมให้ประชาชนทราบ
4.4.2.3 ทำเอกสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงแผนประทุษร้ายของคนร้ายในเขตพื้นที่
4.4.2.4 ทำแผ่นประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน ตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
4.4.2.5 จัดให้มีวันตำรวจพบประชาชนในโอกาสอันควร ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง โดย พล.ต.ต.ดำรง อินทปันตี ผบกง ภ.จว. นนทบุรี และ/หรือ พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก. ภ.จว. นนทบุรี และ/หรือ พ.ต.ท. ประทวน สมบูรณ์ รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด เป็น
- 9 -

วิทยากรบรรยาย และประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ประชาชน ตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม และแจกเอกสารประชาสัมพันธ์
4.4.2.6 จัดชุดชุมชนสัมพันธ์ ภ.จว.นนทบุรี เข้าไปแสดงในหมู่บ้านลานทอง และจัดนิทรรศการตำรวจชุมชนเดือนละครั้ง
4.4.3 มาตรการดึงประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม
4.4.3.1 จัดตั้งองค์กรประชาชนขึ้น ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการกลางของหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากซอยต่าง ๆ ทุกซอย ในหมู่บ้าน
2) คณะกรรมการที่ปรึกษาของหมู่บ้าน
3) จัดตั้งกลุ่มหรือชมรมเพื่อนบ้านเตือนภัย โดยการที่ดึงให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันดูแลทรัพย์สินของตนเองและเพื่อนบ้านเมื่อพบเหตุต้องสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำหมู่บ้านทราบทันที
4.4.3.2 สร้างแนวร่วมประชาชน โดยการเชิญประชาชนในหมู่บ้านร่วมประชุมสัมมนาปรึกษาหารือและอบรมชี้แจงตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
4.4.3.3 ชักจูงแนะนำให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมควบคุมอาชญากรรมและช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมจังหวัดนนทบุรี โดยเน้นหนักในเรื่อง
1) การแจ้งข่าวอาชญากรรม
2) การป้องกันชุมชนให้เกิดความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย
3) การช่วยสกัดจับคนร้าย
4) การรักษาสถานที่เกิดเหตุ
5) การต่อต้านยาเสพติดให้โทษ
6) การลดอุบัติภัยทางการจราจรและการระวังป้องกันอัคคีภัย
4.4.4 มาตรการเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนและจัดเก็บข้อมูล จัดกำลังตำรวจที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี 1 ชุด 3 – 4 นาย ออกเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน เป็นการปฏิบัติร่วมกับตำรวจ ชุมชนในหมู่บ้าน 2 นาย และเป็นการเสริมการปฏิบัติโดยจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
4.4.4.1 จัดทำทะเบียนบ้านผู้อยู่อาศัย ในบ้านแต่ละหลัง ตั้งแต่หัวหน้าครอบครัวถึงคนรับใช้และผู้ที่อาศัยอยู่ชั่วคราว กรณีผู้ใดยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านแนะนำให้ไปแจ้งย้ายเข้ากับเทศบาลให้ถูกต้อง
4.4.4.2 จัดทำข้อมูลรถยนต์ รถจักรยายนต์ และรถจักรยานให้ปรากฏ ยี่ห้อ สี เลขทะเบียน เลขเครื่องยนต์ และเลขตัวถังรถ
- 10 -
4.4.4.3 จัดทำข้อมูลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น พัดลม ตู้เย็น ทีวี VDO และอื่น ๆ ที่คนร้ายสามารถลักทรัพย์ไปได้ง่าย โดยให้ปรากฏ ยี่ห้อ รุ่น สี ขนาด เลขหมายประจำเครื่อง และแนะนำให้ประชาชนใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขหมายบัตรใบอนุญาตขับขี่ก็ได้สลักไว้ในที่ลับ เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้ในภายหลัง
4.4.4.4 รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม และข้อมูลความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ นำไปแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน
4.4.4.5 กรณีมีเหตุต้องสงสัยว่าจะเกิดเหตุร้ายหรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรม ณ จุดใดตำรวจชุมชนและชุดเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนจะรีบไปแจ้งเตือนให้ ประชาชนทราบ หากไม่พบเจ้าของบ้านจะเสียบจดหมายไว้ที่บ้าน และทำเอกสารแจ้งเวียนให้ทราบทั่วกันทั้งหมู่บ้าน
4.4.5 วิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเหตุขึ้นในหมู่บ้าน
4.4.5.1 ตำรวจชุมชนที่รับผิดชอบในหมู่บ้าน จะต้องเร่งรีบไประงับเหตุ ทันทีใช้เวลาอย่างช้า 3 – 5 นาที และแจ้งเหตุให้ศูนย์วิทยุปากเกร็ดทราบ สั่งการให้สายตรวจจักรยานยนต์ สายตรวจรถยนต์ปากเกร็ด 20 (ร้อยเวรรอง สวป. ประจำวัน) ปากเกร็ด 30 (ร้อยเวรสอบสวน) เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน เข้ามาสนับสนุนต่อไป
4.4.5.2 สายตรวจรถจักรยานยนต์ 1 คัน ๆ ละ 2 นาย ที่รับผิดชอบตรวจในเขตหมู่บ้านลานทอง ต้องเร่งรัดไปถึงที่เกิดเหตุโดยเร็ว
4.4.5.3 สายตรวจรถยนต์ (ปากเกร็ด 20) ให้เร่งรัดไปที่เกิดเหตุทำหน้าที่อำนวยการ สั่งการสายตรวจให้สกัดจับคนร้าย โดยประสานข้อมูลกับตำรวจชุมชนในหมู่บ้าน ณ ที่เกิดเหตุ
4.4.5.4 ร้อยเวรสอบสวน (ปากเกร็ด 30) เร่งรัดไปที่เกิดเหตุพร้อมด้วย เจ้าหน้าที่วิทยากร เพื่อตรวจสถานที่เกิดเหตุ สอบสวนผู้กล่าวหา พยาน ทำแผนที่เกิดเหตุ ทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ บัญชีทรัพย์หายถ่ายรูปและจัดเก็บลายพิมพ์นิ้วมือแฝง และพยานหลักฐานอื่น ๆ ประกอบสำนวน ตามลักษณะของคดีแต่ละประเภท
4.4.5.5 เจ้าหน้าที่สืบสวน เร่งรัดไปที่เกิดเหตุ ประสานข้อมูลกับร้อยเวรสอบสวน และสืบสวนติดตามพยานในคดี หรือติดตามคนร้ายอย่างใกล้ชิด
4.4.5.6 รายงานให้ รอง ผกก.หน.สภ.อ. ปากเกร็ดทราบ กรณีเหตุ อุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ คดีแปลกประหลาด ครึกโครม คดีที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษให้รายงาน รอง ผบก. ภ.จว. นนทบุรี และ ผบก.ภ. จว.นนทบุรี ทราบ เพื่อร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย
- 11 -
5. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
โครงการนี้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2539 เป็นต้นไป และจะทำการประเมินผลโครงการหลังจากปฏิบัติงานผ่านไปแล้ว 6 เดือน

6. งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการหมู่บ้านลานทอง และภาคเอกชน อื่น ๆ ที่มีจิตศรัทธา

7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. พล.ต.ต.ดำรง อินทปันตี ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นประธานโครงการ
2. พ.ต.อ.ชูศักดิ์ โภชพันธุ์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นรองประธานโครงการ
3. พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นรองประธานโครงการ
4. พ.ต.ท.ประทวน สมบูรณ์ รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ
5. สวป.สว.สส.สว.ส. รอง สว.ทุกนาย เป็นคณะทำงานตามโครงการ
6. พลฯ เรืองศิริ อุ้ยปะโค และพลฯ ถาวร วงเครือศรี เป็นเจ้าหน้าที่ประจำที่ทำการ

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ประชาชนจะพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมากขึ้น
8.2 ประชาชนจะให้ความร่วมมือกับตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มากขึ้น
8.3 ประชาชนจะให้ความรัก ความศรัทธา และเชื่อมั่นในตัวตำรวจชุมชน มากขึ้น
8.4 สร้างความอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนมากขึ้น
8.5 สามารถลดคดีและควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนพึงพอใจ และยอมรับได้

ผลการดำเนินโครงการจัดตั้งตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง
สภาพปัญหาเดิม
1. สภาพปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ในเคหสถาน ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ลักทรัพย์รถจักรยานยนต์และปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด เช่น ยาบ้าเฮโรอีน การสูดดมสารระเหย
- 12 -

2. สภาพความไม่เป็นระเบียบด้านการจราจรในหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จะมักง่าย จอดรถโดยไม่คำนึงว่าจะกีดขวางการจราจร หรือรบกวนสิทธิของเพื่อนบ้าน ขับรถจักรยานยนต์ – รถยนต์ส่งเสียงดัง ไม่เกรงใจเพื่อนบ้าน ฯลฯ
3. ขาดความสามัคคีภายในชุมชน หมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดทั่วทุกภาคย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ไม่รู้จักกันจึงทำให้ขาดความรักความสามัคคีปรองดองกัน อยู่แบบตัวใครตัวมัน ข้างบ้านหน้าบ้านไม่เคยรู้จักกันแม้แต่ชื่อ หรือไม่เคยพูดคุยกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปัญหาอาชญากรรมตามเข้ามา
4. สภาพแวดล้อมในเขตรั้วบ้านของตนเองขาดการเอาใจใส่ดูแล ปรับปรุงในลักษณะไม่เอื้ออำนวยให้คนร้ายเข้าประกอบอาชญากรรมได้โดยง่ายเนื่องจากประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจตามวิธีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
5. พื้นที่ที่ประชาชนใช้ร่วมกันและพื้นที่สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากประชาชนที่ใช้พื้นที่นั้น ๆ ร่วมกัน เช่น ถนน ตรอก ซอย หน้าบ้าน ข้างบ้าน สวนหย่อม ฯลฯ
6. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว สภ.อ.ปากเกร็ด โดย พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี รักษาการในตำแหน่ง รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด ได้ดำเนินการจัดทำโครงการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทองขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยคำแนะนำของ พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ผู้ช่วย อ.ตร.ภ.1

แนวคิดและหลักการ
การดำเนินงาน โดยยึดหลัก 4 ประการคือ
1. กระจายกำลังตำรวจออกไปปฏิบัติในพื้นที่ให้มากที่สุด
2. ตำรวจต้องรู้จักพื้นที่ ประชาชน สภาพการณ์ เหตุการณ์ สถานภาพอาชญากรรม ในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ตำรวจทำงานป้องกันและปราบปราม โดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมอาชญากรรม
4. การปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต้องควบคู่ไปกับงานชุมชนสัมพันธ์



- 13 -

วิธีการปฏิบัติ
1. แนวความคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างตำรวจกับชุมชน
2. การจัดภายในสำนักงานที่ทำการตำรวจชุมชน
3. กิจกรรมของตำรวจชุมชนและงานประจำที่ต้องปฏิบัติงานใน 24 ชม.
3.1 งานจราจร
3.2 งานบริการ
3.3 งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3.4 งานเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน
3.5 เตรียมพร้อม ร ที่ทำการตำรวจชุมชน
4. มาตรการเสริมการปฏิบัติงานจาก สภ.อ.ปากเกร็ด ซึ่งเป็นโรงพักแม่
4.1 มาตรการป้องกันและปราบปราม
4.2 มาตรการชุมชนสัมพันธ์
4.3 มาตรการดึงประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม
4.4 มาตรการเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนจัดเก็บข้อมูล
5. วิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดขึ้นในหมู่บ้าน - ชุมชน
รายละเอียดปรากฏในเอกสารโครงการจัดตั้งที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง ซึ่งทาน พล.ต.อ. วิรุฬห์ พื้นแสน ผู้ช่วย อ.ตร.ภ. 1 ได้ลงนามอนุมัติโครงการแล้วเมื่อ 12 มกราคม 2539 และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 15 เมษายน 2539 เป็นต้นมา

ผลการดำเนินงาน
โครงการนี้ได้ดำเนินการด้วยดีมาตลอด ครบกำหนด 3 เดือน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 จึงได้ทำการประเมินผล ในช่วงแรกใช้การประเมินผล 3 วิธี
1. แบบสอบถาม โดยวิธีการส่งแบบสอบถาม (Questionnaire) สอบถามประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) ประมาณ 500 คน โดยการกระจายในแต่ละซอยมีประชาชนตอบแบบสอบถามมา 350 คน สรุปได้ดังนี้
1.1 ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน
1.2 ประชาชนอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนได้มากขึ้น
1.3 สถิติคดีอาชญากรรมในหมู่บ้านลดลง

- 14 -

2. สำรวจสถิติคดีอาญา จากงานคดีของ สภ.อ. ปากเกร็ด พบว่าสถิติคดีอาญากลุ่ม ที่ 1 (คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ) กลุ่มที่ 2 (คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย) กลุ่มที่ 3 (คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์) กลุ่มที่ 4 (คดีที่น่าสนใจ) ลดลง ส่วนกลุ่มที่ 5 (คดีรัฐเป็นผู้เสียหาย) ตำรวจชุมชนสามารถแจ้งข่าวสาข้อมูลให้กับฝ่ายป้องกันปราบปรามและฝ่ายสืบสวนสอบสวน เป็นเหตุให้จับกุมความผิดกลุ่มที่ 5 ได้มากขึ้นโดยเฉพาะข่าวสารที่ได้มานั้นได้มาจากประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน ทั้งสิ้น
3. การสุ่มตัวอย่างสอบถามประชาชน ได้สอบถามคณะกรรมการชุมชนและประชาชนโดยทั่วไป ตามร้านค้า ตามบ้านเรือนอยู่อาศัย และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ปรากฏว่าได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเห็นด้วยที่จัดให้ตำรวจชุมชนประจำในหมู่บ้านและลดปัญหาอาชญากรรมได้จริง ประชาชนอบอุ่นใจขึ้น ประชาชนพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน

สรุป
โครงการจัดตั้งชุมชนหมู่บ้านลานทองบรรลุวัตถุประสงค์ตามผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการทุกประการ ดังนี้
1. ประชาชนพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมากขึ้น
2. ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามมากขึ้น
3. ประชาชนให้ความรัก ความศรัทธา และเชื่อมั่นในตัวตำรวจมากขึ้น
4. สามารถสร้างความอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนมากขึ้น
5. สามารถลดคดีและควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนถึงพอใจและยอมรับได้
6. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีระเบียบในการจราจรและลดอุบัติภัยในการจราจรได้มากขึ้น
7. สร้างจิตนำสึกให้ประชาชนรู้จักดูแลป้องกันชีวิตทรัพย์สินของตนเองได้มากขึ้น
8. สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการสอดส่องดูแลพื้นที่ถนน ตรอก ซอย และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ใช้ร่วมกันได้มากขึ้น
9. สร้างจิตสำนึกในการร่วมกันป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มากขึ้น
สภาพปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านลานทองได้รับการแก้ไขและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตำรวจชุมชน และประชาชนทุกคนในชุมชนหมู่บ้านลานทองร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ตัวอย่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี สภ.

แผนปฏิบัติราชการสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑

๑.หลักการและเหตุผล
๑.๑ แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔
พลตำรวจเอก เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔ เพื่อให้หน่วยในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผน และจัดทำโครงการ เพื่อการพัฒนางานของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้เป็นแผนหลัก ๓ ด้าน ได้แก่
(๑) แผนพัฒนาตำรวจและครอบครัว ให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต มีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อร่วมมือกัน ผสมงาน ประสานใจ ในการปฏิบัติงาน
(๒) แผนพัฒนาองค์กร – หน่วยงาน เพื่อพัฒนางานให้เป็นระบบที่ถูกต้อง ครอบคลุมการปฏิบัติในทุกๆ ด้าน เหมาะสมทันสมัย และมีคุณภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้แก่ข้าราชการตำรวจ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์สูงสุดตามพันธกิจ หน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) แผนพัฒนาระบบงาน นอกจากการพัฒนาข้าราชการตำรวจและครอบครัว ตลอดจนองค์กร-หน่วยงาน เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว สั่งสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนาระบบงานให้ครอบคลุมภารกิจทั้งหมด จึงจะสามารถทำให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริง แผนพัฒนาระบบงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ทีจะต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปกับแผนพัฒนาตำรวจและครอบครัวแผนพัฒนาองค์กร-หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรภาค ๗ ได้มีคำสั่ง กำหนดลักษณะงานและมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และในระดับ ตำรวจภูธรภาค ๗ ได้มอบหมายงาน รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ไว้ ๗ กลุ่มงาน ได้แก่
(๑) งานบริหาร รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของตำรวจภูธรภาค ๗ งานการบริหารงาน บุคคล การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการ การพัฒนา รักษาและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งในด้านบุคคล งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและสรรพาวุธ การสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยี การส่งกำลังบำรุงอื่นๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๒) งานป้องกันอาชญากรรม รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการป้องกันอาชญากรรม และรักษาความสงบเรียบร้อย งานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันมิให้อาชญากรรมเกิดขึ้น
(๓) งานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการกำกับดูแล ตรวจสอบติดตาม และประเมินผลงานด้านการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ ตลอดจนองค์กร เครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้น
(๔) งานสืบสวนสอบสวน รับผิดชอบ อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามประเมินผลงานด้านการสืบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ และงานด้านกฎหมาย
อื่นๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๕) งานกิจการพิเศษ รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการถวายความปลอดภัย การอารักขา การรักษาความปลอดภัย กิจการตามโครงการพระราชดำริ กิจการต่างประเทศ การตรวจคนเข้าเมือง การบรรเทาสาธารณภัย การบินตำรวจ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๖) งานความมั่นคง รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการข่าว การต่อต้านข่าวกรองด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน การรักษาความสงบเรียบร้อยเกี่ยวกับการชุมนุมเรียกร้อง การเลือกตั้ง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๗) งานจเรตำรวจ รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการตรวจราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจ กวดขันดูแลระเบียบ วินัย ขวัญ กำลังใจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง สืบสวนข้อเท็จจริงและสอบสวนการกระทำผิดวินัยกรณีที่มีการ้องเรียนกล่าวหาข้าราชการตำรวจ ลูกจ้าง พนักงานราชการกระทำผิดวินัย ประพฤติมิชอบ หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหาในการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน กฎ ข้อกำหนด ข้อบังคับ คำสั่ง แจ้งความ ฯลฯ และควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบการใช้ทรัพยากร งบประมาณ ฯลฯ

๑.๒ ยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ (พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๑) ของตำรวจภูธรภาค ๗ได้แยกออก ๖ ยุทธศาสตร์ตามแนวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้
๑)ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ เน้นการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ปลอดภัยสูงสุด โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการถวายความปลอดภัยตามเส้นทางเสด็จฯหลัก พัฒนาการควบคุมฝูงชนให้มีมาตรฐานสากล และการพัฒนางานการข่าว การต่อต้านการก่อการร้ายสากล
๒)ยุทธศาสตร์การให้บริการที่ดีแก่ประชาชนและชุมชน โดยเน้นการเพิ่มสถานีตำรวจภูธรสาขา ตู้ยามตำรวจ และสายตรวจตำบล กระจายสู่ชุมชนให้ทั่วถึง ให้เป็นตำรวจชุมชน (Community Policing) การประเมินสถานีตำรวจให้ผ่านเกณฑ์ตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
๓)ยุทธศาสตร์การควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชน เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยใช้การตำรวจชุมชน (Community Policing) พัฒนาระบบสายตรวจและศูนย์ควบคุมสั่งการ ให้มีมาตรฐานสากล และ พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับ ให้สามารถช่วยในการสืบสวน สอบสวน
๔)ยุทธศาสตร์การอำนวยความยุติธรรม โดยให้จัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พิทักษ์เหยื่ออาชญากรรมทุกระดับ มีคณะกรรมการส่งเสริมงานสอบสวนของตำรวจภูธรภาค ๗ ทีมพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคดี การใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เป็นหลักสำคัญในการพิสูจน์ความผิดและคนร้าย การใช้หลักการยุติธรรมสมานฉันท์ช่วยในการอำนวยความยุติธรรม
๕) ยุทธศาสตร์การควบคุมการจราจรและการบริการสังคม เน้นการให้ประชาชนร่วมมือและให้ทุกฝ่ายมีความตระหนักต่อสังคมร่วมกันในการจราจร และการประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง
๖) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ใช้ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Result Based Management) ที่มีการประเมินผลตามหลักการตารางลิขิตสมดุล (Balance Scorecard)คำรับรองปฏิบัติราชการ การใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ใช้ระบบควบคุมภายในเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำสงครามกับคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ และใช้การฝึกอบรมแบบผู้ใหญ่และสถานการณ์สมมุติ (Scenario) รวมทั้งให้มีการประเมินผู้บังคับบัญชาของสถานีตำรวจ

๑.๓ ยุทธศาสตร์ของจังหวัดสารขันธ์ “เป็นเมืองน่าอยู่ ผู้คนมีสุข ทุกคนร่ำรวย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”







๑.๔ นโยบายการบริหารราชการของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗
ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗ ได้นำยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างและยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ๗ มาวิเคราะห์ แล้วจัดทำเป็นนโยบายการบริหารราชการตำรวจภูธรภาค ๗ เพื่อนำพาไปสู่เป้าหมายและเป้าประสงค์ โดยมีนโยบาย ๗ ด้านดังนี้
(๑) ด้านการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุดเหนือภารกิจใด มีมาตรการในการถวายความปลอดภัยอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ
(๒)ด้านการบริหารงานและการปกครองบังคับบัญชา สร้างความสำนึกในหน้าที่ของตำรวจและเห็นตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ความสำคัญกับระบบราชการปกครองบังคับบัญชาตามสายการบังคับบัญชา จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความสำเร็จหรือความล้มเหลวของงาน และจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
(๓) ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม แนวทางการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เน้นการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกเป็นหลักสำคัญโดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ไตรภาคี ประกอบด้วย ตำรวจ องค์กรภาครัฐ และประชาชนยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นตัวตั้ง รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เสริมด้วยการสืบสวนและปราบปรามอาชญากรรมควบคู่และต่อเนื่องกันไป มีเป้าหมายอยู่ที่การควบคุมอาชญากรรม โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชน และให้อยู่ในเกณฑ์ความสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษที่มีความเร่งด่วนได้แก่การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ การป้องกันปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การป้องกันและปราบปรามอบายมุข และการป้องกันและปราบปรามมือปืนรับจ้างและผู้มีอิทธิพล
(๔) ด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา พัฒนาโครงสร้างระบบงานอำนวยความยุติธรรมพร้อมพัฒนาระบบงานด้านการสืบสวนสอบสวน และการตรวจพิสูจน์หลักฐานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนยุติธรรม
(๕) ด้านการจราจร มุ่งเน้นให้สถานตำรวจแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการติดขัดของการจราจรโดยต้องวิเคราะห์ปัญหาและมีมาตรการแก้ไขที่ชัดเจน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบทางวิทยุกระจายเสียงอย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์
(๖) ด้านการพัฒนาการบริหาร มุ่งพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในด้านยุทธวิธีตำรวจ การสืบสวนสอบสวน การป้องกันปราบปราม, การบังคับใช้กฎหมายที่ทันสมัยให้กับข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้จริง และทันต่อเหตุการณ์
(๗) ด้านสวัสดิการ มุ่งเน้นให้มีการจัดสรรสิทธิประโยชน์ สวัสดิการที่ถูกต้อง ตามกฎหมายให้แก่ข้าราชการตำรวจ เช่น เงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก เงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา เงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสวัสดิการครอบครัว เช่น ทุนการศึกษาเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ให้มีความเป็นธรรมโปร่งใสและรวดเร็ว

๑.๕วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก และภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์. (SWOT)
ระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๕๑ คือระหว่าง ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ จะมีสถานการณ์ที่กระทบต่อการปฏิบัติงานของ สถานีตำรวจ.ภูธรเมืองสารขันธ์ ดังนี้
๑) สถานการณ์ที่เป็นอุปสรรค
๑.๑) สถานการณ์ทั่วไปของโลก ยังมีการก่อการร้ายสากล และผู้ก่อการร้ายสากลอาจใช้พื้นที่ ตำรวจภูธรภาค ๗เป็นที่หลบซ่อน(Safe Haven) และอาจใช้ยุทธวิธีการก่อวินาศกรรมโดยการใช้ระเบิดแสวงเครื่องในรูปแบบต่าง ๆเพื่อก่อเหตุในพื้นที่ข้างเคียง และสภาพสังคมในพื้นที่จะเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความอ่อนแอ ความร่วมมือในการดูแลสังคม ชุมชน จะน้อยลง
๑.๒ )สหภาพพม่า มีการชุมนุมประท้วงประชาธิปไตย ทำให้มีการจับกุมกวาดล้าง ซึ่งอาจทำให้มีการลี้ภัยเข้ามายังประเทศไทย ทางด้านที่ติดกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค ๗ นอกจากนี้พม่ายังไม่มีความเข้มแข็งในการจัดระเบียบชนกลุ่มน้อย ทำให้ปัญหาการทะลักเข้ามาของยาเสพติด การระบาดของยาเสพติดและการเป็นแหล่งพักยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสารขันธ์ และเขตพื้นที่ สถานีตำรวจ.............และคนหลบหนีเข้าเมือง ไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
๑.๓) สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่คลี่คลายในทางที่ดีขึ้นและรัฐบาลไม่มีนโยบายในการเพิ่มกำลังตำรวจในพื้นที่อื่น ทำให้ ภ. ๗ ไม่ได้รับการสนับสนุนกำลังตำรวจเพิ่มเติม และยังต้องเตรียมพร้อมในการสนับสนุนกำลังให้แก่ บช.น.และ ภ. ๙ ในส่วนของ ภ.๗ ต้องเพิ่มความเข้มในการข่าว และสกัดกั้นยาเสพติด อาวุธสงคราม ไม่ให้ส่งลงไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๑.๔) รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารงานภายในจังหวัดมากขึ้น เช่นนโยบายอยู่ดีมีสุขของรัฐบาลปัจจุบัน หรือการให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งทำให้จังหวัดมีอำนาจในพื้นที่มากขึ้น ทำให้บางกรณี ภ.จว.สารขันธ์ ต้องรับงบประมาณผ่านทางจังหวัด หรือต้องของบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมักถูกจัดลำดับความสำคัญในลำดับรองจากส่วนราชการอื่นในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์
๑.๕) คนไทยส่วนมาก มีค่านิยมยกย่องการฝ่าฝืนระเบียบ และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในระดับต่ำถ้าไม่ถึงภาวะวิกฤติหรือถูกบังคับ (เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว) มักติดนิสัยการให้สินบน ทำให้การมองภาพลักษณ์ของผู้ที่ควบคุมกฎระเบียบในทางที่ไม่ดีไปด้วยตามกระบวนทัศน์ของตน เช่น ครูฝ่ายปกครอง และตำรวจ จะถูกมองในลักษณะของผู้หาผลประโยชน์จากกฎระเบียบที่บังคับ



๒) โอกาส
๒.๑) พระบรมวงศานุวงศ์ มีพระตำหนักอยู่ที่อำเภอหัวหินหลายพระองค์ ทำให้หน่วยตำรวจในเส้นทางเสด็จฯผ่าน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้มากขึ้น เพื่อยกมาตรฐานการปฏิบัติงานในการอารักขาบุคคลสำคัญที่ผ่านไปมา
๒.๒) รัฐบาลยังให้ความเชื่อถือว่าหน่วยงานตำรวจ เป็นหน่วยงานที่มีข้าราชการประจำกระจายลงประจำสู่พื้นที่เป็นเครือข่ายมากกว่าทุกส่วนราชการ (ยึดพื้นที่เป็นเครือข่ายจากส่วนกลาง)
๒.๓) เริ่มมีหน่วยงานราชการหลายภาคส่วน และองค์กรอิสระ และภาคเอกชน อื่น ๆ มาตรวจสอบการทำงานของตำรวจมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ขยาย หรือตั้งหน่วยงานอิสระและหน่วยงานตรวจสอบเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก เช่น ปปช.,กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานต่างๆของกระทรวงยุติธรรม,ผู้ตรวจการรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทำให้ตำรวจจะต้องพัฒนาปรับปรุง วิธีการทำงานที่ต้องใช้หลักวิชาการที่เป็นสากลมากขึ้น
๒.๔)สถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังมั่นคง การท่องเที่ยวยังเป็นรายได้หลักของไทย ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก และจังหวัดสารขันธ์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติอันดับต้นๆ ของไทย และเป็นสถานที่จัดประชุมระหว่างประเทศแห่งหนี่งของไทย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยังมีต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลมีเงินมาลงทุน และสนับสนุนในการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้และการทำงานของตำรวจได้มากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ให้เทียบเท่าระดับสากล
๓) จุดอ่อน
๓.๑) ภ.จว.สารขันธ์ ได้รับงบประมาณจำกัดจากส่วนกลางน้อยมาก โดยเฉพาะงบลงทุนในการจัดหาครุภัณฑ์ เช่นคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี่สารสนเทศ รถยนต์ ซึ่งพัฒนาเร็วมาก ทำให้ต้องพึ่งพาหน่วยงานอื่น เช่น องค์การบริหารท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้ขาดความเป็นอิสระในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหน่วยหนึ่ง
๓.๒) ข้าราชการตำรวจส่วนมากยังมีค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดติดกับค่านิยมแบบเดิม ที่เน้นระบบอุปถัมภ์ และยึดตัวบุคคล มากกว่าหลักการ ยึดประสบการณ์จากการทำงานใน
อดีตเพียงอย่างเดียว โดยปฏิเสธการนำหลักวิชาการมาประยุกต์ ขาดวิสัยทัศน์ ทำงานเพียงแค่หวังผลประโยชน์ระยะสั้น ขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวม ทำให้ยากต่อการพัฒนา และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ปรับกระบวนทัศน์ รวมถึงวิธีการทำงาน




๔) จุดแข็ง
๔.๑) หน่วยงานตำรวจ เช่น ภ.จว.สารขันธ์และสถานีตำรวจ....... ยังได้รับความเชื่อถือในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่สามารถขจัดความเดือดร้อนของประชาชนได้ แม้ว่าในยามปกติ หรือไม่มีปัญหาประชาชนจะไม่ชอบตำรวจก็ตาม
๔.๒ ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการปรับโครงสร้างใหม่ที่เหมาะกับงานมากขึ้น และได้มีการกระจายอำนาจทางการบริหารให้ ตำรวจภูธรภาค ๗ และตำรวจภูธรจังหวัดสารขันธ์ มากขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ
๔.๓) สถานีตำรวจภูธร..........เป็นหน่วยงานที่มีกำลังพลจำนวนมากที่สุด และมีเอกภาพในการบังคับบัญชามากที่สุดในอำเภอเมืองจังหวัดสารขันธ์
เมื่อนำ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค มาวิเคราะห์น้ำหนักแล้ว จะเห็นได้ว่า โอกาสนั้น ยังเอื้อต่อการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ แต่ เมื่อเทียบจุดอ่อนจุดแข็งแล้วสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ จะต้องพัฒนาตนเองเพื่อ ลดจุดอ่อน และใช้จุดแข็งร่วมเผชิญกับโอกาส ที่ท้าทาย การดำเนินงานต่อไป

๒. วิสัยทัศน์
สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ เป็นหน่วยงานรักษาความสงบเรียบร้อย บังคับใช้กฎหมายที่เป็นที่ศรัทธาของประชาชนและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล

๓. พันธกิจ
๑)ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์อย่างสมพระเกียรติและปลอดภัยสูงสุด
๒)รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงความสงบของชุมชน สังคม
๓) พัฒนาระบบบริหารการจัดการเชิงบูรณาการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ เกิดประสิทธิภาพ
๔)ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรโดยประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม
๕)พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ขวัญและกำลังใจ
๖) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

๔. ยุทธศาสตร์
สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ ได้นำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๑ ของตำรวจภูธรจังหวัดสารขันธ์ แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ แผนยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๑ ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง และยุทธศาสตร์ของจังหวัดสารขันธ์ รวมทั้งนโยบายการบริหารราชการตำรวจภูธรภาค ๗ ของพลตำรวจโท วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗ มาเป็นกรอบในการกำหนดแผนปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ เพื่อให้เป็นเครื่องมือนำพาไปสู่เป้าหมายและเป้าประสงค์ อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพได้ ๘ ยุทธศาสตร์ดังนี้
๔.๑ ยุทธศาสตร์ด้านกิจการพิเศษ
๔.๒ ยุทธศาสตร์ด้านอำนวยความยุติธรรม
๔.๓ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารเพื่อการบริการประชาชนที่ดี
๔.๔ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติ
๔.๕ ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันอาชญากรรม
๔.๖ยุทธศาสตร์ด้านสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม
๔.๗ ยุทธศาสตร์ด้านการจราจร
๔.๘ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี
๔.๘.๑ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านการตรวจราชการมุ่งผลสัมฤทธิ์
๔.๘.๒ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านพัฒนาตำรวจและครอบครัว
๔.๘.๓ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านการพัฒนาหน่วยงานและองค์กร


๕. การติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของการปฏิบัติงานตามแผนงาน, งาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยได้กำหนดไว้ ทั้งยังเพื่อควบคุมให้ทุกหน่วยดำเนินงานตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในแผน นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการกระตุ้นและจูงใจให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานให้ได้ผลงานตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
๕.๑ ขอบเขตการรายงาน
ให้แต่ละงานในสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ การรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงาน ตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๗ ยุทธศาสตร์ และตามตัวชี้วัดในคำรับรองปฏิบัติราชการของหน่วย โดยรายงานจะต้องปรากฏผลการปฏิบัติ, ผลผลิต, ผลลัพธ์ และตัวชี้วัด ตามที่หน่วยได้ดำเนินการในรอบ ๑ เดือนทุกเดือน (นับจากแผนนี้มีผลบังคับใช้) ให้แก่งานอำนวยการ สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ ก่อนวันที่ ๒ ของทุกเดือน



----------------------------------------------------------


ตารางเวลาการดำเนินการตามโครงการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2551 ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์
ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ด้านกิจการพิเศษ 1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพถวายความปลอดภัย 600,000 บาท กก.อก.





2.ด้านอำนวยความยุติธรรม 1.โครงการจัดหาวัสดุตรวจสถานที่เกิดเหตุ 400,000 บาท กก.อก.










ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.




3.ด้านการบริหารเพื่อบริการที่ดีแก่ประชาชน 1. โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 100,000 บาท กก.อก.












ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.



4.ด้านความมั่นคงของชาติ 1.โครงการตั้ง ศปก.รักษาความสงบเลือกตั้ง 80,000 บาท กก.อก,สภ

ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.



5.ด้านการป้องกันอาชญากรรม 1.โครงการประกวดตู้ยาม 80,000 บาท กก.อก.





ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
6.ด้านสืบสวนปราบปราม 1.โครงการจัดทำฐานข้อมูลบุคคลพ้นโทษ ภ.จว. 800,000 บาท ศทส.ภ.จว.



ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
7.ด้านจราจร 1.โครงการถนนสายหลัก 600,000 บาท ทุก สภ.





8 .1ด้านตรวจราชการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 1.โครงการพัฒนาวินัยตำรวจ 400,000 บาท กก.อก.



ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
8.2.ด้านพัฒนาตำรวจและครอบครัว 1.โครงการร้านคุ้ม 600,000 บาท ทุก สภ.

โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์
สอดคล้องกับแผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2550 – 2554
ด้านอาคาร ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
.........................

1. หลักการและเหตุผล
อาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม สร้างแล้วเสร็จและเปิดทำการเมื่อปี 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2546 รูปแบบอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น ที่ผ่านมามีการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ว่างของสถานีเพื่อประโยชน์สำหรับการใช้สอยมาตลอด พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์เล็งเห็นความสำคัญ จึงมีนโยบายให้สร้างที่จอดรถสำหรับผู้มาติดต่อราชการ, ที่เก็บรักษารถของกลางในคดี, ที่เก็บรถที่เกิดอุบัติเหตุ, ที่เก็บรถที่ยึดไว้เพื่อทำการตรวจสอบ, ปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อเป็นร่มเงาบังแสงแดดที่ส่องมาทำให้เกิดความร่มเย็น และปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และได้ปรับปรุงสถานที่ให้ดูสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาติดต่อราชการที่สถานีตำรวจเป็นอย่างดี

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสนองนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พุทธศักราช 2550 – 2554 ด้านอาคาร ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
2.2 เพื่อให้เป็นที่ร่มเงาบังแสงแดด และเกิดความร่มเย็น แก่ประชาชน และข้าราชการตำรวจ
2.3 เพื่อความสวยงาม ร่มเย็น กับผู้พบเห็น ที่มาใช้บริการที่สถานี และผ่านไปมา
2.4 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนากับที่พักสายตรวจตำบลต่อไป
2.5 เพื่อความสะดวก สบาย แก่ประชาชนผู้มาประชุม อบรมสัมมนาที่สถานี

3. เป้าหมาย
ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ที่สถานี และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการที่สถานี

4. วิธีดำเนินการ
4.1 ประชุมชี้แจงข้าราชการตำรวจในสังกัด เพื่อวางนโยบายในการปรับปรุงภูมิทัศน์ และ
ดำเนินการตามโครงการ
4.2 แบ่งมอบหน้าที่ในการดำเนินการ โดยนำกิจกรรม 5 ส. มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ
จัดกลุ่มในการรับผิดชอบพื้นที่ในการดูแล
4.3 ดำเนินการก่อสร้างและปลูกต้นไม้โดยใช้แรงงานข้าราชการตำรวจ

5. พื้นที่ดำเนินการ
บริเวณโดยรอบของอาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์
/ 2 /


6. ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มตั้งแต่ วันที่ 15 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550

7. งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย ที่มาติดต่อราชการและรับบริการที่สถานี
9.2 เกิดความร่มเย็น สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย แก่ผู้พบเห็นทั้งที่มาใช้บริการติดต่อราชการและที่ผ่านไปมา
9.3 เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการเก็บรักษา ดูแลรถที่ยึดไว้เพื่อตรวจสอบ, รถที่เป็นของกลางในคดี และรถที่เกิดอุบัติเหตุ

....................................



พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร ผู้อนุมัติโครงการ
( นภดล รุ่งสาคร )
สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์

พันตำรวจตรี ธนพล บริสุทธิ์ ผู้เสนอโครงการ
( ธนพล บริสุทธิ์ )
สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์










8 .3ด้านการพัฒนาองค์กร-หน่วยงาน 1.โครงการจัดหาวัสดุสื่อสาร 400,000 บาท กก.อก.

คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสถานีตำรวจ

หลักการและเหตุผล
แผนปฏิบัติการ หรือ แผนปฏิบัติราชการ ตามคู่มือนี้ ให้ถือว่าเป็นชื่อเรียกอย่างเดียวกัน เนื่องจากตามตำราหรือเอกสารทางวิชาการทั่วไป จะเรียกแผนทางด้านการบริหารที่กำหนดรายละเอียดโครงการ เป้าหมาย การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ นี้ว่า แผนปฏิบัติการ แต่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546 มาตรา ๙กำหนดไว้ว่า
“(๑) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่จะใช้ในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของภารกิจ...”
และในมาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ 2 ประเภท ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการ 4 ปี โดยต้องสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี (จัดทำตามปีงบประมาณ)โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติของส่วนราชการดังนี้
- เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ประมาณการรายได้และรายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
แผนปฏิบัติการของหน่วยงานประกอบด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแผนดำเนินการ
1. ผลผลิตที่หน่วยงานกำหนด
2. เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน
3. ตัวชี้วัดผลผลิต (ด้านปริมาณ,ด้านคุณภาพ,ต้นทุนและระยะเวลา)
4. งบประมาณที่ใช้
ในการจัดทำงบประมาณและการบริหารงบประมาณตามนโยบายภาครัฐ กำหนดให้เป็นไปตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Base Budgeting : SPBB) ดังนั้นหน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการให้บริการ กำหนดเป็นผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลาและต้นทุน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของแต่ละปี และใช้ในการจัดทำข้อตกลงการจัดทำผลผลิต (SDA) ระหว่างหน่วยงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการต่อไป
ดังนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานตำรวจทุกระดับ รวมทั้ง สถานีตำรวจ จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ โดยมีสาระของการให้บริการเดิมและสาระของการให้บริการใหม่ที่รัฐ หรือหน่วยงานต้นสังกัด เช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค หรือนโยบายของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับโดยตรง เพิ่มเติมนโยบายใหม่เข้ามา จัดทำเป็นงานหรือโครงการ โดยมีกิจกรรมแสดงเป็นรายละเอียดการทำงาน เพื่อกำหนดให้กิจกรรมเป็นตัวแทนของศูนย์ต้นทุน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักงบประมาณจะกำหนดให้นำค่าใช้จ่ายของศูนย์ต้นทุนดังกล่าวไปผ่านกระบวนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและต้นทุนผลผลิตต่อไป เพื่อนำไปใช้สำหรับวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ และใช้ต้นทุนผลผลิตและต้นทุนกิจกรรมสำหรับประมาณการ การจัดทำงบประมาณของหน่วยงานต่อไป ตลอดจนใช้พัฒนาต้นทุนของสถานีตำรวจ และ ของทุกหน่วยงาน เพื่อความเพียงพอสำหรับการจัดทำผลผลิตที่มีบริบทที่แตกต่างกันไป

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
1. เพื่อใช้เป็นกรอบ ทิศทาง และแนวทางในการพัฒนาหน่วยงาน
2. เพื่อใช้เป็นคู่มือในการบริหารจัดการหน่วยงาน
3. ใช้เป็นกรอบบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงาน
4. เพื่อให้หน่วยงานมีกรอบในการวางแผนและตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกในการบริหารงบประมาณ
5. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อไป
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

ส่วนประกอบของแผนปฏิบัติการ
1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานีตำรวจทั้งหมด
2. ส่วนที่ 2 ทิศทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ เป้าหมายผลผลิต ตัวชี้วัด (ซึ่งควรต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ผู้บังคับบัญชาได้จัดทำขึ้นตามระบบคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ)
3. ส่วนที่ 3 สรุปโครงการ/งบประมาณ
4. ส่วนที่ 4 รายละเอียดโครงการตามกลยุทธ์
ภาคผนวก


กระบวนการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการ
1. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค(SWOT Analysis) หน่วยงานทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานและสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน
2. กำหนดทิศทางของหน่วยงานเพื่อให้ได้วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
3. กำหนดยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ให้ออกมาเป็นแผนงาน(กลยุทธ์) โครงการ กิจกรรม งบประมาณ
4. ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด (โดยผ่านความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยในที่นี้คือ ผู้กำกับการ หรือ สารวัตรใหญ่ สารวัตร แล้วแต่ระดับของสถานีตำรวจ)
5. การควบคุมการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด
6. การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน โครงการ/กิจกรรม เพื่อประเมินสภาพหน่วยงานหลังจากการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรมแล้ว
7. พัฒนา ปรับปรุงตามผลงานจากการติดตามประเมินผล

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกับการดำเนินงาน
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) หรือแผนปฏิบัติราชการ มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดผลลัพธ์ (Outcome or Goals) หน่วยงานต้องกำหนดผลลัพธ์ของหน่วยงานที่ต้องการ
ผลผลิต (Outputs or Objective) หมายถึงผลผลิตที่หน่วยงานต้องการ กระบวนการ (Process) กำหนดกระบวนการที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่กำหนด
ทรัพยากร (Inputs) หมายถึงทรัพยากรต่างๆที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินตามกระบวนการที่กำหนด(เงิน คน วัสดุอุปกรณ์)
2. การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
ทรัพยากร กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์


การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงานและสภาพแวดล้อม(โดยวิธี SWOT Analysis)
2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยนำมาจากยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ยุทธศาสตร์ของจังหวัด และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรจังหวัด ปรับให้สอดคล้องกับกำหนดหน้าที่การงาน หรือภารกิจของหน่วยหรือสถานีตำรวจ
3. กำหนดเป้าหมาย โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัด โดยนำมาจากตัวชี้วัดของ ตร.ตำรวจภุธรภาค ตำรวจภะรจังหวัดและจากพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และของหน่วยเหนือ และปรับปรุงให้ให้เข้ากับสภาพของหน่วยงานหรือความเหมาะสม
4. กำหนดกลยุทธ์ หรือแผนงานให้สอดคล้องกับ เป้าหมาย หรือตัวชี้วัด
5. การเขียนรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และตัวชี้วัด
6. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นการรวบรวมส่วนต่างๆเป็นแผนปฏิบัติการและการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม (Implementation)
7. การควบคุม กำกับ ติดตามการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม
8. การประเมินผลและการรายงานผล


1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงาน เพื่อให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยงานและวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนและการส่งเสริมปรับปรุงจุดแข็งของหน่วยงาน
การฝึกปฏิบัติ
1. แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม (5 งานของสถานีตำรวจ คือ งานอำนวยการ,ป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน จราจร) ให้เวลาในการประชุม 50 นาที ให้อภิปรายในเรื่องจุดอ่อน และจุดแข็งของหน่วยงาน วิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อนและวิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงานตามตารางดังนี้ (สามารถหลอมรวมข้อความได้)

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง การส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง




2. นำผลจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง มากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ (นำวิธีแก้ไขจุดอ่อนจุดแข็ง)
การกำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการแสดงถึงความต้องการให้สถานีตำรวจเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต โดยย้อนมองอดีต มองปัจจุบัน วาดฝันอนาคตและนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์(ใบงานที่ 2)
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
การกำนดพันธกิจ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดได้
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
การกำหนดเป้าประสงค์ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................


3. กลุ่มย่อยนำเสนอผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง วิธีการพัฒนาปรับปรุง การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าประสงค์ ต่อกลุ่มใหญ่ ช่วยกันปรับปรุงหลอมรวมข้อความให้สอดคล้องกันและสรุปวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................

2. การสร้างประเด็นยุทธศาสตร์ของ สถานีตำรวจ กำหนดตัวชี้วัดและแนวทางในการดำเนินการ
แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม ( 5 งานของสถานีตำรวจ) ให้ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด ต้นสังกัด กำหนดตัวชี้วัดตามกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินการ (กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน) ให้วิเคราะห์เฉพาะที่หน่วยงานสามารถปฏิบัติได้) แล้วนำมาเป็นกลยุทธ์ของหน่วยงาน กำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงาน และแนวทางในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของหน่วยงาน (ใบงานที่ 3)
กลยุทธ์ที่ 1 ......................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัด............................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
แนวทางดำเนินงาน........................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. การวิเคราะห์งบประมาณของหน่วยงาน โดยคาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจ และดูจากการจัดสรรงบประมาณจาก ตำรวจภูธรจังหวัดให้แก่สถานีตำรวจในปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์หรือแนวทาง (ตามใบงานที่ 4)
3.1 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการระยะปานกลาง (3-5 ปี) เป็นการคาดถึงจำนวนงบประมาณที่จะได้รับในแต่ละปี โดยใช้จำนวนข้าราชการตำรวจเป็นตัวกำหนดแล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับในแต่ละระดับชั้น โดยวิธีการดังนี้
- คาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจที่สถานีตำรวจได้คาดว่าจะได้รับจัดสรร หรือโยกย้ายมา
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายใน ขีดความสามารถที่รับได้ จำนวนตำรวจ ขนาดหรือความเจริญของพื้นที่หรือภารกิจ เช่น มีการเปิดโรงงาน ศูนย์การค้า หรือศูนย์ราชการใหม่ในพื้นที่
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายนอก ความนิยม จำนวนประชากรในชุมชน สภาพเศรษฐกิจ สภาพชุมชน
3.2 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการประจำปี ให้ใช้จำนวนข้าราชการตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ(ช่วงตุลาคม) มาเป็นตัวกำหนด แล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับ ก็จะทำให้ทราบถึงรายรับของสถานีตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ รวมถึงรายรับด้านอื่นที่สถานีตำรวจจะได้รับค่อนข้างแน่นอน เช่นเงินอุดหนุนสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจจะได้รับจัดสรรจาก ตร.โดยตรงเดือนละ20,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของสถานีตำรวจ หรือเงินงบประมาณ หรือน้ำมันเชื้อแพลิง ที่จะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การจัดทำโครงการ/กิจกรรม มี 2 แบบ
4.1 แบบประเพณีนิยม เป็นการเขียนโครงการตามความถนัดหรือความต้องการของบุคคล ผู้บริหารหรือสถานีตำรวจ เป็นหลัก โดยไม่มีการยึดกลยุทธ์ของแต่ละหน่วยงานต้นสังกัด
4.2 แบบเหตุผลสัมพันธ์ เป็นการเขียนโครงการที่ผสมผสาน ความต้องการของสถานีตำรวจและกลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัด โดยการนำกลยุทธ์ของต้นสังกัดมาปรับให้เข้ากับความต้องการของสถานีตำรวจ
หัวข้อการเขียนโครงการ ประกอบด้วย (ใบงานที่ 5)
1. ชื่อโครงการที่ต้องดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ กลยุทธ์ที่ ลักษณะโครงการ งานที่รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ
ระยะเวลาดำเนินการ
2. หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้นๆ ความเป็นมา
3. วัตถุประสงค์โครงการ แสดงให้เห็นถึงผลที่จะเกิดหลังจากทำโครงการนี้
4. เป้าหมายของโครงการ เป็นการกำหนดผลงานของโครงการ โดยให้กำหนดเป็นตัวชี้วัด
ด้านปริมาณ แสดงเป้าหมายเป็นจำนวน
ด้านคุณภาพ แสดงถึงลักษณะเฉพาะอย่างของผลงาน
5. วิธีดำเนินการ แสดงถึงวิธีดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จะแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม (Activities plan)
6. งบประมาณ งบประมาณที่จะใช้ในโครงการและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในแต่ละด้าน แต่ละรายการ แหล่ง
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์


รวม

7. การวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลสำเร็จของโครงการ โดยการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้วัด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม





8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดคะเนผลของโครงการ หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้ว
- ด้านปริมาณ
- ด้านคุณภาพ
9. ผู้เสนอโครงการ - เช่น สว.ผู้รับผิดชอบงาน
ผู้เห็นชอบโครงการ –เช่น รองผู้กำกับการหัวหน้างานสถานีตำรวจ
ผู้อนุมัติโครงการ - ควรเป็น หัวหน้าสถานีตำรวจ ที่เป็นผู้อนุมัติโครงการ




\


วิธีการจัดทำโครงการ
1. นำแนวทางดำเนินงานจากขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์หน่วยงานมาบูรณาการเข้ากับวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนหรือการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นโครงการ/กิจกรรม ตามความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสถานีตำรวจ
2. นำแนวทางที่ได้หลังจากที่ได้บูรณาการแล้วมาเขียนโครงการตามรูปแบบที่กำหนด
3. นำเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหัวหน้างานโดยผ่านหัวหน้าสายงานที่รับผิดชอบ
4. นำเสนอโครงการในที่ประชุมผู้บริหารสถานีตำรวจ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการ หรือพิจารณาปรับปรุงโครงการให้เหมาะสม หรือถ้าสถานีตำรวจใด หัวหน้าสถานีตำรวจใช้ระบบอนุมัติงบประมาณรวมศูนย์ที่ตัว หัวหน้าสถานีตำรวจตัดสินใจเพียงคนเดียว ก็ควรต้องให้ หัวหน้าสถานีตำรวจอนุมัติงบประมาณ หรือถ้าไม่มีงบประมาณ ก็ควรจะปรึกษาหัวหน้าสถานีตำรวจว่าจะหางบประมาณมาได้จากช่องทางใด เช่น ขอสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พิจารณาโครงการตามความจำเป็นและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความเหมาะสมภายใต้กรอบวงเงินที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าแล้ว
6. เสนอโครงการที่ได้รับพิจารณาให้ผู้มีอำนาจเห็นชอบโครงการและอนุมัติโครงการ และเรียงลำดับความสำคัญของโครงการ (ในกรณีที่โครงการนั้น ต้องใช้เงินงบประมาณจากส่วนอื่น นอกเหนือจากของสถานีตำรวจ ก็ควรให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่จัดสรรเงินเป็นผู้อนุมัติโครงการ หรือให้เป็นเจ้าของโครงการ เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบงานงบประมาณ และหรือระเบียบการพัสดุ)
7. นำโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วรวบรวมจัดทำรูปเล่ม
8. ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการ ที่ได้รับพิจารณา

การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
1. งานอำนวยการของสถานีตำรวจ จัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความต้องการจำเป็นเร่งด่วน นำเสนอหัวหน้าสถานีตำรวจ ให้ความเห็นชอบและแจ้งให้เจ้าของโครงการทราบ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ โดยทำบันทึกแนบโครงการผ่านงานอำนวยการ ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการและงบประมาณ
3. เสนอขออนุมัติการดำเนินการต่อหัวหน้าสถานีตำรวจ
4. ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
5. ผู้บริหาร เช่น หัวหน้าสถานีตำรวจ รองผู้กำกับการ หรือรองหัวหน้าสถานีตำรวจ หัวหน้าสายงาน ติดตามการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
6. เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตามแบบสรุปโครงการ



แบบสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

1. ชื่อยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์................................................................................................................................................
2. ชื่อโครงการ..............................................................................................................................................
ระยะเวลา......................................................ผู้รับผิดชอบ........................................................................
3. วัตถุประสงค์.............................................................................................................................................
ผลที่คาดหวัง..............................................................................................................................................
4. กิจกรรม....................................................................................................................................................
5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ....................................................................................................................................
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ..................................................................................................................................
7. งบประมาณ..............................................................................................................................................
แหล่งงบประมาณ จำนวนที่ได้รับ จำนวนที่ใช้ คงเหลือ หมายเหตุ
งบประมาณ ตร./หน่วยเหนือ
งบประมาณจากหน่วยงานอื่น
เงินนอกงบ
รวม

8. ผลการดำเนินงาน
ผลที่คาดหวัง ผลที่ได้รับ ผลลัพธ์/หน่วย
(ร้อยละความสำเร็จ)
ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ



9. สรุป...........................................................................................................................................................
10. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ................................................................................................................

ลงชื่อ......................................................ผู้รับผิดชอบโครงการ ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมินผล
(.....................................................) (............................................)
ตำแหน่ง.................................................. ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีตำรวจ.............................



กลุ่มที่.............................................
ใบงานที่ 1 วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งหน่วยงานและวิธีปรับปรุงพัฒนา

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง วิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง










ใบงานที่ 2 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์

วิสัยทัศน์...........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

พันธกิจ............................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

เป้าประสงค์......................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................


ใบงานที่ 3 การสร้างกลยุทธ์ ตัวชี้วัด แนวทางดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ (ข้อความกลยุทธ์).........................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัดกลยุทธ์…………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
แนวการดำเนินงาน........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 4 การวิเคราะห์งบประมาณหน่วยงาน

สายงาน ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2553
ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ
งานอำนวยการ
งานป้องกันปราบปราม
งานสืบสวน
งานจราจร
งานสอบสวน







รวมงบประมาณทั้งสิ้น

ใบงานที่ 5 การจัดทำโครงการ/กิจกรรม

โครงการ........................................................................................................................................................................
กลยุทธ์ที่.......................................................................................................................................................................
ลักษณะโครงการ..........................................................................................................................................................
งานที่รับผิดชอบ...........................................................................................................................................................
ผู้รับผิดชอบ..................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ....................................................................................................................................................
หลักการและเหตุผล.......................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
วัตถุประสงค์
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
เป้าหมาย
เชิงคุณภาพ.....................................................................................................................................................
เชิงปริมาณ.....................................................................................................................................................
วิธีดำเนินการ
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................

แผนการดำเนินงาน
กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ผู้ควบคุม
ตค พย ธค มค กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย





งบประมาณ รวมทั้งสิ้น...............................บาท
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์



รวม

การวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม







ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านคุณภาพ.....................................................................................................................................................
ด้านปริมาณ....................................................................................................................................................


ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ
ลงชื่อ.................................................. ลงชื่อ......................................................
(……………………………….) (...................................................)
ตำแหน่ง.................................................... ตำแหน่ง.....................................................

ผู้อนุมัติโครงการ
ลงชื่อ.......................................
(........................................)
ตำแหน่ง ผู้กำกับการสถานีตำรวจ................

15.สิ่งที่ควรกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ(โครงการ)

1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการให้ชัดเจน
2. ระบุจำนวนวันและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
3. ระบุกลุ่มและกลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการ
4. ระบุเป้าหมายของโครงการทั้งด้านคุณภาพและด้านปริมาณ
5. กำหนดมาตรฐานคุณภาพของงาน สถานีตำรวจ ตามตัวชี้วัด โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
6. กำหนดผลผลิตของโครงการ
7. งบประมาณที่ใช้ต้องระบุรายการให้ชัดเจน
- ค่าตอบแทน - ค่าใช้สอย - ค่าวัสดุ (ระบุรายการ)




บรรณานุกรม

1. ดร.วัฒนา พัฒนพงษ์ :(2547) BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน,พิมพ์ดีการพิมพ์,กรุงเทพฯ.
2. สำนักงาน กพร.:(2548),การจัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติราชการประจำปี การติดตามผล
เว็อบไซด์ สำนักงาน กพร.
3. สำนักงาน กพร.:(2548),การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติด้วยการบริหารโครงการ เว็บไซด์สำนักงาน กพร.
4. สำนักงบประมาณ : (2552) ,แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๔)เพื่อการจัดทำงบประมาณ เว็บไซด์ สำนักงบประมาณ
--------------------------------------------------------------









หลักการและเหตุผล
แผนปฏิบัติการ หรือ แผนปฏิบัติราชการ ตามคู่มือนี้ ให้ถือว่าเป็นชื่อเรียกอย่างเดียวกัน เนื่องจากตามตำราหรือเอกสารทางวิชาการทั่วไป จะเรียกแผนทางด้านการบริหารที่กำหนดรายละเอียดโครงการ เป้าหมาย การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ นี้ว่า แผนปฏิบัติการ แต่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546 มาตรา ๙กำหนดไว้ว่า
“(๑) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่จะใช้ในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของภารกิจ...”
และในมาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ 2 ประเภท ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการ 4 ปี โดยต้องสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี (จัดทำตามปีงบประมาณ)โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติของส่วนราชการดังนี้
- เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ประมาณการรายได้และรายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
แผนปฏิบัติการของหน่วยงานประกอบด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแผนดำเนินการ
1. ผลผลิตที่หน่วยงานกำหนด
2. เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน
3. ตัวชี้วัดผลผลิต (ด้านปริมาณ,ด้านคุณภาพ,ต้นทุนและระยะเวลา)
4. งบประมาณที่ใช้
ในการจัดทำงบประมาณและการบริหารงบประมาณตามนโยบายภาครัฐ กำหนดให้เป็นไปตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Base Budgeting : SPBB) ดังนั้นหน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการให้บริการ กำหนดเป็นผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลาและต้นทุน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของแต่ละปี และใช้ในการจัดทำข้อตกลงการจัดทำผลผลิต (SDA) ระหว่างหน่วยงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการต่อไป
ดังนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานตำรวจทุกระดับ รวมทั้ง สถานีตำรวจ จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ โดยมีสาระของการให้บริการเดิมและสาระของการให้บริการใหม่ที่รัฐ หรือหน่วยงานต้นสังกัด เช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค หรือนโยบายของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับโดยตรง เพิ่มเติมนโยบายใหม่เข้ามา จัดทำเป็นงานหรือโครงการ โดยมีกิจกรรมแสดงเป็นรายละเอียดการทำงาน เพื่อกำหนดให้กิจกรรมเป็นตัวแทนของศูนย์ต้นทุน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักงบประมาณจะกำหนดให้นำค่าใช้จ่ายของศูนย์ต้นทุนดังกล่าวไปผ่านกระบวนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและต้นทุนผลผลิตต่อไป เพื่อนำไปใช้สำหรับวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ และใช้ต้นทุนผลผลิตและต้นทุนกิจกรรมสำหรับประมาณการ การจัดทำงบประมาณของหน่วยงานต่อไป ตลอดจนใช้พัฒนาต้นทุนของสถานีตำรวจ และ ของทุกหน่วยงาน เพื่อความเพียงพอสำหรับการจัดทำผลผลิตที่มีบริบทที่แตกต่างกันไป

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
1. เพื่อใช้เป็นกรอบ ทิศทาง และแนวทางในการพัฒนาหน่วยงาน
2. เพื่อใช้เป็นคู่มือในการบริหารจัดการหน่วยงาน
3. ใช้เป็นกรอบบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงาน
4. เพื่อให้หน่วยงานมีกรอบในการวางแผนและตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกในการบริหารงบประมาณ
5. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อไป
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

ส่วนประกอบของแผนปฏิบัติการ
1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานีตำรวจทั้งหมด
2. ส่วนที่ 2 ทิศทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ เป้าหมายผลผลิต ตัวชี้วัด (ซึ่งควรต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ผู้บังคับบัญชาได้จัดทำขึ้นตามระบบคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ)
3. ส่วนที่ 3 สรุปโครงการ/งบประมาณ
4. ส่วนที่ 4 รายละเอียดโครงการตามกลยุทธ์
ภาคผนวก


กระบวนการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการ
1. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค(SWOT Analysis) หน่วยงานทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานและสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน
2. กำหนดทิศทางของหน่วยงานเพื่อให้ได้วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
3. กำหนดยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ให้ออกมาเป็นแผนงาน(กลยุทธ์) โครงการ กิจกรรม งบประมาณ
4. ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด (โดยผ่านความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยในที่นี้คือ ผู้กำกับการ หรือ สารวัตรใหญ่ สารวัตร แล้วแต่ระดับของสถานีตำรวจ)
5. การควบคุมการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด
6. การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน โครงการ/กิจกรรม เพื่อประเมินสภาพหน่วยงานหลังจากการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรมแล้ว
7. พัฒนา ปรับปรุงตามผลงานจากการติดตามประเมินผล

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกับการดำเนินงาน
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) หรือแผนปฏิบัติราชการ มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดผลลัพธ์ (Outcome or Goals) หน่วยงานต้องกำหนดผลลัพธ์ของหน่วยงานที่ต้องการ
ผลผลิต (Outputs or Objective) หมายถึงผลผลิตที่หน่วยงานต้องการ กระบวนการ (Process) กำหนดกระบวนการที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่กำหนด
ทรัพยากร (Inputs) หมายถึงทรัพยากรต่างๆที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินตามกระบวนการที่กำหนด(เงิน คน วัสดุอุปกรณ์)
2. การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
ทรัพยากร กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์


การดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงานและสภาพแวดล้อม(โดยวิธี SWOT Analysis)
2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยนำมาจากยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ยุทธศาสตร์ของจังหวัด และยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรจังหวัด ปรับให้สอดคล้องกับกำหนดหน้าที่การงาน หรือภารกิจของหน่วยหรือสถานีตำรวจ
3. กำหนดเป้าหมาย โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัด โดยนำมาจากตัวชี้วัดของ ตร.ตำรวจภุธรภาค ตำรวจภะรจังหวัดและจากพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และของหน่วยเหนือ และปรับปรุงให้ให้เข้ากับสภาพของหน่วยงานหรือความเหมาะสม
4. กำหนดกลยุทธ์ หรือแผนงานให้สอดคล้องกับ เป้าหมาย หรือตัวชี้วัด
5. การเขียนรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และตัวชี้วัด
6. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นการรวบรวมส่วนต่างๆเป็นแผนปฏิบัติการและการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม (Implementation)
7. การควบคุม กำกับ ติดตามการปฏิบัติตามโครงการ/กิจกรรม
8. การประเมินผลและการรายงานผล


1. การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงาน เพื่อให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยงานและวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนและการส่งเสริมปรับปรุงจุดแข็งของหน่วยงาน
การฝึกปฏิบัติ
1. แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม (5 งานของสถานีตำรวจ คือ งานอำนวยการ,ป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน จราจร) ให้เวลาในการประชุม 50 นาที ให้อภิปรายในเรื่องจุดอ่อน และจุดแข็งของหน่วยงาน วิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อนและวิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงานตามตารางดังนี้ (สามารถหลอมรวมข้อความได้)

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง การส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง




2. นำผลจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง มากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ (นำวิธีแก้ไขจุดอ่อนจุดแข็ง)
การกำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการแสดงถึงความต้องการให้สถานีตำรวจเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต โดยย้อนมองอดีต มองปัจจุบัน วาดฝันอนาคตและนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์(ใบงานที่ 2)
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
การกำนดพันธกิจ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดได้
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
การกำหนดเป้าประสงค์ เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่หรือกิจกรรมที่จะทำให้สถานีตำรวจดำเนินไปกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................


3. กลุ่มย่อยนำเสนอผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง วิธีการพัฒนาปรับปรุง การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าประสงค์ ต่อกลุ่มใหญ่ ช่วยกันปรับปรุงหลอมรวมข้อความให้สอดคล้องกันและสรุปวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์สถานีตำรวจ.............................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
พันธกิจ 1.......................................................................................................................................................
2........................................................................................................................................................
3.......................................................................................................................................................
เป้าประสงค์ 1............................................................................................................................................. 2.............................................................................................................................................
3..............................................................................................................................................

2. การสร้างประเด็นยุทธศาสตร์ของ สถานีตำรวจ กำหนดตัวชี้วัดและแนวทางในการดำเนินการ
แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่ม ( 5 งานของสถานีตำรวจ) ให้ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค ตำรวจภูธรจังหวัด ต้นสังกัด กำหนดตัวชี้วัดตามกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินการ (กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน) ให้วิเคราะห์เฉพาะที่หน่วยงานสามารถปฏิบัติได้) แล้วนำมาเป็นกลยุทธ์ของหน่วยงาน กำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงาน และแนวทางในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของหน่วยงาน (ใบงานที่ 3)
กลยุทธ์ที่ 1 ......................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัด............................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
แนวทางดำเนินงาน........................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. การวิเคราะห์งบประมาณของหน่วยงาน โดยคาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจ และดูจากการจัดสรรงบประมาณจาก ตำรวจภูธรจังหวัดให้แก่สถานีตำรวจในปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์หรือแนวทาง (ตามใบงานที่ 4)
3.1 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการระยะปานกลาง (3-5 ปี) เป็นการคาดถึงจำนวนงบประมาณที่จะได้รับในแต่ละปี โดยใช้จำนวนข้าราชการตำรวจเป็นตัวกำหนดแล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับในแต่ละระดับชั้น โดยวิธีการดังนี้
- คาดการณ์จากจำนวนข้าราชการตำรวจที่สถานีตำรวจได้คาดว่าจะได้รับจัดสรร หรือโยกย้ายมา
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายใน ขีดความสามารถที่รับได้ จำนวนตำรวจ ขนาดหรือความเจริญของพื้นที่หรือภารกิจ เช่น มีการเปิดโรงงาน ศูนย์การค้า หรือศูนย์ราชการใหม่ในพื้นที่
- คาดการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยภายนอก ความนิยม จำนวนประชากรในชุมชน สภาพเศรษฐกิจ สภาพชุมชน
3.2 การวิเคราะห์งบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติการประจำปี ให้ใช้จำนวนข้าราชการตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ(ช่วงตุลาคม) มาเป็นตัวกำหนด แล้วนำมาคูณกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่จะได้รับ ก็จะทำให้ทราบถึงรายรับของสถานีตำรวจในปีงบประมาณนั้นๆ รวมถึงรายรับด้านอื่นที่สถานีตำรวจจะได้รับค่อนข้างแน่นอน เช่นเงินอุดหนุนสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจจะได้รับจัดสรรจาก ตร.โดยตรงเดือนละ20,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของสถานีตำรวจ หรือเงินงบประมาณ หรือน้ำมันเชื้อแพลิง ที่จะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การจัดทำโครงการ/กิจกรรม มี 2 แบบ
4.1 แบบประเพณีนิยม เป็นการเขียนโครงการตามความถนัดหรือความต้องการของบุคคล ผู้บริหารหรือสถานีตำรวจ เป็นหลัก โดยไม่มีการยึดกลยุทธ์ของแต่ละหน่วยงานต้นสังกัด
4.2 แบบเหตุผลสัมพันธ์ เป็นการเขียนโครงการที่ผสมผสาน ความต้องการของสถานีตำรวจและกลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัด โดยการนำกลยุทธ์ของต้นสังกัดมาปรับให้เข้ากับความต้องการของสถานีตำรวจ
หัวข้อการเขียนโครงการ ประกอบด้วย (ใบงานที่ 5)
1. ชื่อโครงการที่ต้องดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ กลยุทธ์ที่ ลักษณะโครงการ งานที่รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ
ระยะเวลาดำเนินการ
2. หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้นๆ ความเป็นมา
3. วัตถุประสงค์โครงการ แสดงให้เห็นถึงผลที่จะเกิดหลังจากทำโครงการนี้
4. เป้าหมายของโครงการ เป็นการกำหนดผลงานของโครงการ โดยให้กำหนดเป็นตัวชี้วัด
ด้านปริมาณ แสดงเป้าหมายเป็นจำนวน
ด้านคุณภาพ แสดงถึงลักษณะเฉพาะอย่างของผลงาน
5. วิธีดำเนินการ แสดงถึงวิธีดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จะแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม (Activities plan)
6. งบประมาณ งบประมาณที่จะใช้ในโครงการและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในแต่ละด้าน แต่ละรายการ แหล่ง
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์


รวม

7. การวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลสำเร็จของโครงการ โดยการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้วัด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม





8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดคะเนผลของโครงการ หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้ว
- ด้านปริมาณ
- ด้านคุณภาพ
9. ผู้เสนอโครงการ - เช่น สว.ผู้รับผิดชอบงาน
ผู้เห็นชอบโครงการ –เช่น รองผู้กำกับการหัวหน้างานสถานีตำรวจ
ผู้อนุมัติโครงการ - ควรเป็น หัวหน้าสถานีตำรวจ ที่เป็นผู้อนุมัติโครงการ




\


วิธีการจัดทำโครงการ
1. นำแนวทางดำเนินงานจากขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์หน่วยงานมาบูรณาการเข้ากับวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนหรือการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นโครงการ/กิจกรรม ตามความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสถานีตำรวจ
2. นำแนวทางที่ได้หลังจากที่ได้บูรณาการแล้วมาเขียนโครงการตามรูปแบบที่กำหนด
3. นำเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหัวหน้างานโดยผ่านหัวหน้าสายงานที่รับผิดชอบ
4. นำเสนอโครงการในที่ประชุมผู้บริหารสถานีตำรวจ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการ หรือพิจารณาปรับปรุงโครงการให้เหมาะสม หรือถ้าสถานีตำรวจใด หัวหน้าสถานีตำรวจใช้ระบบอนุมัติงบประมาณรวมศูนย์ที่ตัว หัวหน้าสถานีตำรวจตัดสินใจเพียงคนเดียว ก็ควรต้องให้ หัวหน้าสถานีตำรวจอนุมัติงบประมาณ หรือถ้าไม่มีงบประมาณ ก็ควรจะปรึกษาหัวหน้าสถานีตำรวจว่าจะหางบประมาณมาได้จากช่องทางใด เช่น ขอสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. พิจารณาโครงการตามความจำเป็นและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความเหมาะสมภายใต้กรอบวงเงินที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าแล้ว
6. เสนอโครงการที่ได้รับพิจารณาให้ผู้มีอำนาจเห็นชอบโครงการและอนุมัติโครงการ และเรียงลำดับความสำคัญของโครงการ (ในกรณีที่โครงการนั้น ต้องใช้เงินงบประมาณจากส่วนอื่น นอกเหนือจากของสถานีตำรวจ ก็ควรให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่จัดสรรเงินเป็นผู้อนุมัติโครงการ หรือให้เป็นเจ้าของโครงการ เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบงานงบประมาณ และหรือระเบียบการพัสดุ)
7. นำโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วรวบรวมจัดทำรูปเล่ม
8. ดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการ ที่ได้รับพิจารณา

การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
1. งานอำนวยการของสถานีตำรวจ จัดสรรงบประมาณให้กับโครงการตามความต้องการจำเป็นเร่งด่วน นำเสนอหัวหน้าสถานีตำรวจ ให้ความเห็นชอบและแจ้งให้เจ้าของโครงการทราบ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ โดยทำบันทึกแนบโครงการผ่านงานอำนวยการ ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการและงบประมาณ
3. เสนอขออนุมัติการดำเนินการต่อหัวหน้าสถานีตำรวจ
4. ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
5. ผู้บริหาร เช่น หัวหน้าสถานีตำรวจ รองผู้กำกับการ หรือรองหัวหน้าสถานีตำรวจ หัวหน้าสายงาน ติดตามการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
6. เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตามแบบสรุปโครงการ



แบบสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

1. ชื่อยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์................................................................................................................................................
2. ชื่อโครงการ..............................................................................................................................................
ระยะเวลา......................................................ผู้รับผิดชอบ........................................................................
3. วัตถุประสงค์.............................................................................................................................................
ผลที่คาดหวัง..............................................................................................................................................
4. กิจกรรม....................................................................................................................................................
5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ....................................................................................................................................
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ..................................................................................................................................
7. งบประมาณ..............................................................................................................................................
แหล่งงบประมาณ จำนวนที่ได้รับ จำนวนที่ใช้ คงเหลือ หมายเหตุ
งบประมาณ ตร./หน่วยเหนือ
งบประมาณจากหน่วยงานอื่น
เงินนอกงบ
รวม

8. ผลการดำเนินงาน
ผลที่คาดหวัง ผลที่ได้รับ ผลลัพธ์/หน่วย
(ร้อยละความสำเร็จ)
ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ



9. สรุป...........................................................................................................................................................
10. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ................................................................................................................

ลงชื่อ......................................................ผู้รับผิดชอบโครงการ ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมินผล
(.....................................................) (............................................)
ตำแหน่ง.................................................. ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีตำรวจ.............................



กลุ่มที่.............................................
ใบงานที่ 1 วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งหน่วยงานและวิธีปรับปรุงพัฒนา

จุดอ่อน วิธีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง วิธีการส่งเสริมพัฒนาจุดแข็ง










ใบงานที่ 2 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์

วิสัยทัศน์...........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

พันธกิจ............................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

เป้าประสงค์......................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................


ใบงานที่ 3 การสร้างกลยุทธ์ ตัวชี้วัด แนวทางดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ (ข้อความกลยุทธ์).........................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัดกลยุทธ์…………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
แนวการดำเนินงาน........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 4 การวิเคราะห์งบประมาณหน่วยงาน

สายงาน ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2553
ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ ข้าราชการตำรวจ งบประมาณ
งานอำนวยการ
งานป้องกันปราบปราม
งานสืบสวน
งานจราจร
งานสอบสวน







รวมงบประมาณทั้งสิ้น

ใบงานที่ 5 การจัดทำโครงการ/กิจกรรม

โครงการ........................................................................................................................................................................
กลยุทธ์ที่.......................................................................................................................................................................
ลักษณะโครงการ..........................................................................................................................................................
งานที่รับผิดชอบ...........................................................................................................................................................
ผู้รับผิดชอบ..................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ....................................................................................................................................................
หลักการและเหตุผล.......................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
วัตถุประสงค์
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
เป้าหมาย
เชิงคุณภาพ.....................................................................................................................................................
เชิงปริมาณ.....................................................................................................................................................
วิธีดำเนินการ
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................

แผนการดำเนินงาน
กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ผู้ควบคุม
ตค พย ธค มค กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย





งบประมาณ รวมทั้งสิ้น...............................บาท
รายการงบประมาณ(กิจกรรม) งบประมาณทั้งสิ้น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์



รวม

การวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัด/ประเมินผล เครื่องมือวัด ผู้ควบคุม







ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านคุณภาพ.....................................................................................................................................................
ด้านปริมาณ....................................................................................................................................................


ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ
ลงชื่อ.................................................. ลงชื่อ......................................................
(……………………………….) (...................................................)
ตำแหน่ง.................................................... ตำแหน่ง.....................................................

ผู้อนุมัติโครงการ
ลงชื่อ.......................................
(........................................)
ตำแหน่ง ผู้กำกับการสถานีตำรวจ................

15.สิ่งที่ควรกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ(โครงการ)

1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการให้ชัดเจน
2. ระบุจำนวนวันและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
3. ระบุกลุ่มและกลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการ
4. ระบุเป้าหมายของโครงการทั้งด้านคุณภาพและด้านปริมาณ
5. กำหนดมาตรฐานคุณภาพของงาน สถานีตำรวจ ตามตัวชี้วัด โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
6. กำหนดผลผลิตของโครงการ
7. งบประมาณที่ใช้ต้องระบุรายการให้ชัดเจน
- ค่าตอบแทน - ค่าใช้สอย - ค่าวัสดุ (ระบุรายการ)




บรรณานุกรม

1. ดร.วัฒนา พัฒนพงษ์ :(2547) BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน,พิมพ์ดีการพิมพ์,กรุงเทพฯ.
2. สำนักงาน กพร.:(2548),การจัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติราชการประจำปี การติดตามผล
เว็อบไซด์ สำนักงาน กพร.
3. สำนักงาน กพร.:(2548),การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติด้วยการบริหารโครงการ เว็บไซด์สำนักงาน กพร.
4. สำนักงบประมาณ : (2552) ,แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๔)เพื่อการจัดทำงบประมาณ เว็บไซด์ สำนักงบประมาณ
--------------------------------------------------------------