วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี สภ.

แผนปฏิบัติราชการสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑

๑.หลักการและเหตุผล
๑.๑ แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔
พลตำรวจเอก เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔ เพื่อให้หน่วยในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผน และจัดทำโครงการ เพื่อการพัฒนางานของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้เป็นแผนหลัก ๓ ด้าน ได้แก่
(๑) แผนพัฒนาตำรวจและครอบครัว ให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต มีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อร่วมมือกัน ผสมงาน ประสานใจ ในการปฏิบัติงาน
(๒) แผนพัฒนาองค์กร – หน่วยงาน เพื่อพัฒนางานให้เป็นระบบที่ถูกต้อง ครอบคลุมการปฏิบัติในทุกๆ ด้าน เหมาะสมทันสมัย และมีคุณภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้แก่ข้าราชการตำรวจ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์สูงสุดตามพันธกิจ หน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) แผนพัฒนาระบบงาน นอกจากการพัฒนาข้าราชการตำรวจและครอบครัว ตลอดจนองค์กร-หน่วยงาน เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว สั่งสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนาระบบงานให้ครอบคลุมภารกิจทั้งหมด จึงจะสามารถทำให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริง แผนพัฒนาระบบงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ทีจะต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปกับแผนพัฒนาตำรวจและครอบครัวแผนพัฒนาองค์กร-หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรภาค ๗ ได้มีคำสั่ง กำหนดลักษณะงานและมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และในระดับ ตำรวจภูธรภาค ๗ ได้มอบหมายงาน รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ไว้ ๗ กลุ่มงาน ได้แก่
(๑) งานบริหาร รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของตำรวจภูธรภาค ๗ งานการบริหารงาน บุคคล การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการ การพัฒนา รักษาและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งในด้านบุคคล งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและสรรพาวุธ การสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยี การส่งกำลังบำรุงอื่นๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๒) งานป้องกันอาชญากรรม รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการป้องกันอาชญากรรม และรักษาความสงบเรียบร้อย งานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันมิให้อาชญากรรมเกิดขึ้น
(๓) งานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการกำกับดูแล ตรวจสอบติดตาม และประเมินผลงานด้านการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ ตลอดจนองค์กร เครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้น
(๔) งานสืบสวนสอบสวน รับผิดชอบ อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามประเมินผลงานด้านการสืบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ และงานด้านกฎหมาย
อื่นๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๕) งานกิจการพิเศษ รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแลตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการถวายความปลอดภัย การอารักขา การรักษาความปลอดภัย กิจการตามโครงการพระราชดำริ กิจการต่างประเทศ การตรวจคนเข้าเมือง การบรรเทาสาธารณภัย การบินตำรวจ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๖) งานความมั่นคง รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการข่าว การต่อต้านข่าวกรองด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน การรักษาความสงบเรียบร้อยเกี่ยวกับการชุมนุมเรียกร้อง การเลือกตั้ง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(๗) งานจเรตำรวจ รับผิดชอบวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานด้านการตรวจราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจ กวดขันดูแลระเบียบ วินัย ขวัญ กำลังใจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง สืบสวนข้อเท็จจริงและสอบสวนการกระทำผิดวินัยกรณีที่มีการ้องเรียนกล่าวหาข้าราชการตำรวจ ลูกจ้าง พนักงานราชการกระทำผิดวินัย ประพฤติมิชอบ หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหาในการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน กฎ ข้อกำหนด ข้อบังคับ คำสั่ง แจ้งความ ฯลฯ และควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบการใช้ทรัพยากร งบประมาณ ฯลฯ

๑.๒ ยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ (พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๑) ของตำรวจภูธรภาค ๗ได้แยกออก ๖ ยุทธศาสตร์ตามแนวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้
๑)ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ เน้นการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ปลอดภัยสูงสุด โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการถวายความปลอดภัยตามเส้นทางเสด็จฯหลัก พัฒนาการควบคุมฝูงชนให้มีมาตรฐานสากล และการพัฒนางานการข่าว การต่อต้านการก่อการร้ายสากล
๒)ยุทธศาสตร์การให้บริการที่ดีแก่ประชาชนและชุมชน โดยเน้นการเพิ่มสถานีตำรวจภูธรสาขา ตู้ยามตำรวจ และสายตรวจตำบล กระจายสู่ชุมชนให้ทั่วถึง ให้เป็นตำรวจชุมชน (Community Policing) การประเมินสถานีตำรวจให้ผ่านเกณฑ์ตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
๓)ยุทธศาสตร์การควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชน เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยใช้การตำรวจชุมชน (Community Policing) พัฒนาระบบสายตรวจและศูนย์ควบคุมสั่งการ ให้มีมาตรฐานสากล และ พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับ ให้สามารถช่วยในการสืบสวน สอบสวน
๔)ยุทธศาสตร์การอำนวยความยุติธรรม โดยให้จัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พิทักษ์เหยื่ออาชญากรรมทุกระดับ มีคณะกรรมการส่งเสริมงานสอบสวนของตำรวจภูธรภาค ๗ ทีมพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคดี การใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เป็นหลักสำคัญในการพิสูจน์ความผิดและคนร้าย การใช้หลักการยุติธรรมสมานฉันท์ช่วยในการอำนวยความยุติธรรม
๕) ยุทธศาสตร์การควบคุมการจราจรและการบริการสังคม เน้นการให้ประชาชนร่วมมือและให้ทุกฝ่ายมีความตระหนักต่อสังคมร่วมกันในการจราจร และการประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง
๖) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ใช้ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Result Based Management) ที่มีการประเมินผลตามหลักการตารางลิขิตสมดุล (Balance Scorecard)คำรับรองปฏิบัติราชการ การใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ใช้ระบบควบคุมภายในเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำสงครามกับคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ และใช้การฝึกอบรมแบบผู้ใหญ่และสถานการณ์สมมุติ (Scenario) รวมทั้งให้มีการประเมินผู้บังคับบัญชาของสถานีตำรวจ

๑.๓ ยุทธศาสตร์ของจังหวัดสารขันธ์ “เป็นเมืองน่าอยู่ ผู้คนมีสุข ทุกคนร่ำรวย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”







๑.๔ นโยบายการบริหารราชการของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗
ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗ ได้นำยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างและยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ๗ มาวิเคราะห์ แล้วจัดทำเป็นนโยบายการบริหารราชการตำรวจภูธรภาค ๗ เพื่อนำพาไปสู่เป้าหมายและเป้าประสงค์ โดยมีนโยบาย ๗ ด้านดังนี้
(๑) ด้านการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุดเหนือภารกิจใด มีมาตรการในการถวายความปลอดภัยอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ
(๒)ด้านการบริหารงานและการปกครองบังคับบัญชา สร้างความสำนึกในหน้าที่ของตำรวจและเห็นตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ความสำคัญกับระบบราชการปกครองบังคับบัญชาตามสายการบังคับบัญชา จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความสำเร็จหรือความล้มเหลวของงาน และจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
(๓) ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม แนวทางการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เน้นการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกเป็นหลักสำคัญโดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ไตรภาคี ประกอบด้วย ตำรวจ องค์กรภาครัฐ และประชาชนยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นตัวตั้ง รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เสริมด้วยการสืบสวนและปราบปรามอาชญากรรมควบคู่และต่อเนื่องกันไป มีเป้าหมายอยู่ที่การควบคุมอาชญากรรม โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชน และให้อยู่ในเกณฑ์ความสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษที่มีความเร่งด่วนได้แก่การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ การป้องกันปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การป้องกันและปราบปรามอบายมุข และการป้องกันและปราบปรามมือปืนรับจ้างและผู้มีอิทธิพล
(๔) ด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา พัฒนาโครงสร้างระบบงานอำนวยความยุติธรรมพร้อมพัฒนาระบบงานด้านการสืบสวนสอบสวน และการตรวจพิสูจน์หลักฐานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนยุติธรรม
(๕) ด้านการจราจร มุ่งเน้นให้สถานตำรวจแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการติดขัดของการจราจรโดยต้องวิเคราะห์ปัญหาและมีมาตรการแก้ไขที่ชัดเจน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบทางวิทยุกระจายเสียงอย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์
(๖) ด้านการพัฒนาการบริหาร มุ่งพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในด้านยุทธวิธีตำรวจ การสืบสวนสอบสวน การป้องกันปราบปราม, การบังคับใช้กฎหมายที่ทันสมัยให้กับข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้จริง และทันต่อเหตุการณ์
(๗) ด้านสวัสดิการ มุ่งเน้นให้มีการจัดสรรสิทธิประโยชน์ สวัสดิการที่ถูกต้อง ตามกฎหมายให้แก่ข้าราชการตำรวจ เช่น เงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก เงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา เงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสวัสดิการครอบครัว เช่น ทุนการศึกษาเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ให้มีความเป็นธรรมโปร่งใสและรวดเร็ว

๑.๕วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก และภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์. (SWOT)
ระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๕๑ คือระหว่าง ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ จะมีสถานการณ์ที่กระทบต่อการปฏิบัติงานของ สถานีตำรวจ.ภูธรเมืองสารขันธ์ ดังนี้
๑) สถานการณ์ที่เป็นอุปสรรค
๑.๑) สถานการณ์ทั่วไปของโลก ยังมีการก่อการร้ายสากล และผู้ก่อการร้ายสากลอาจใช้พื้นที่ ตำรวจภูธรภาค ๗เป็นที่หลบซ่อน(Safe Haven) และอาจใช้ยุทธวิธีการก่อวินาศกรรมโดยการใช้ระเบิดแสวงเครื่องในรูปแบบต่าง ๆเพื่อก่อเหตุในพื้นที่ข้างเคียง และสภาพสังคมในพื้นที่จะเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความอ่อนแอ ความร่วมมือในการดูแลสังคม ชุมชน จะน้อยลง
๑.๒ )สหภาพพม่า มีการชุมนุมประท้วงประชาธิปไตย ทำให้มีการจับกุมกวาดล้าง ซึ่งอาจทำให้มีการลี้ภัยเข้ามายังประเทศไทย ทางด้านที่ติดกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค ๗ นอกจากนี้พม่ายังไม่มีความเข้มแข็งในการจัดระเบียบชนกลุ่มน้อย ทำให้ปัญหาการทะลักเข้ามาของยาเสพติด การระบาดของยาเสพติดและการเป็นแหล่งพักยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสารขันธ์ และเขตพื้นที่ สถานีตำรวจ.............และคนหลบหนีเข้าเมือง ไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
๑.๓) สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่คลี่คลายในทางที่ดีขึ้นและรัฐบาลไม่มีนโยบายในการเพิ่มกำลังตำรวจในพื้นที่อื่น ทำให้ ภ. ๗ ไม่ได้รับการสนับสนุนกำลังตำรวจเพิ่มเติม และยังต้องเตรียมพร้อมในการสนับสนุนกำลังให้แก่ บช.น.และ ภ. ๙ ในส่วนของ ภ.๗ ต้องเพิ่มความเข้มในการข่าว และสกัดกั้นยาเสพติด อาวุธสงคราม ไม่ให้ส่งลงไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๑.๔) รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารงานภายในจังหวัดมากขึ้น เช่นนโยบายอยู่ดีมีสุขของรัฐบาลปัจจุบัน หรือการให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งทำให้จังหวัดมีอำนาจในพื้นที่มากขึ้น ทำให้บางกรณี ภ.จว.สารขันธ์ ต้องรับงบประมาณผ่านทางจังหวัด หรือต้องของบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมักถูกจัดลำดับความสำคัญในลำดับรองจากส่วนราชการอื่นในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์
๑.๕) คนไทยส่วนมาก มีค่านิยมยกย่องการฝ่าฝืนระเบียบ และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในระดับต่ำถ้าไม่ถึงภาวะวิกฤติหรือถูกบังคับ (เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว) มักติดนิสัยการให้สินบน ทำให้การมองภาพลักษณ์ของผู้ที่ควบคุมกฎระเบียบในทางที่ไม่ดีไปด้วยตามกระบวนทัศน์ของตน เช่น ครูฝ่ายปกครอง และตำรวจ จะถูกมองในลักษณะของผู้หาผลประโยชน์จากกฎระเบียบที่บังคับ



๒) โอกาส
๒.๑) พระบรมวงศานุวงศ์ มีพระตำหนักอยู่ที่อำเภอหัวหินหลายพระองค์ ทำให้หน่วยตำรวจในเส้นทางเสด็จฯผ่าน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้มากขึ้น เพื่อยกมาตรฐานการปฏิบัติงานในการอารักขาบุคคลสำคัญที่ผ่านไปมา
๒.๒) รัฐบาลยังให้ความเชื่อถือว่าหน่วยงานตำรวจ เป็นหน่วยงานที่มีข้าราชการประจำกระจายลงประจำสู่พื้นที่เป็นเครือข่ายมากกว่าทุกส่วนราชการ (ยึดพื้นที่เป็นเครือข่ายจากส่วนกลาง)
๒.๓) เริ่มมีหน่วยงานราชการหลายภาคส่วน และองค์กรอิสระ และภาคเอกชน อื่น ๆ มาตรวจสอบการทำงานของตำรวจมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ขยาย หรือตั้งหน่วยงานอิสระและหน่วยงานตรวจสอบเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก เช่น ปปช.,กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานต่างๆของกระทรวงยุติธรรม,ผู้ตรวจการรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทำให้ตำรวจจะต้องพัฒนาปรับปรุง วิธีการทำงานที่ต้องใช้หลักวิชาการที่เป็นสากลมากขึ้น
๒.๔)สถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังมั่นคง การท่องเที่ยวยังเป็นรายได้หลักของไทย ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก และจังหวัดสารขันธ์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติอันดับต้นๆ ของไทย และเป็นสถานที่จัดประชุมระหว่างประเทศแห่งหนี่งของไทย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยังมีต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลมีเงินมาลงทุน และสนับสนุนในการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้และการทำงานของตำรวจได้มากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ให้เทียบเท่าระดับสากล
๓) จุดอ่อน
๓.๑) ภ.จว.สารขันธ์ ได้รับงบประมาณจำกัดจากส่วนกลางน้อยมาก โดยเฉพาะงบลงทุนในการจัดหาครุภัณฑ์ เช่นคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี่สารสนเทศ รถยนต์ ซึ่งพัฒนาเร็วมาก ทำให้ต้องพึ่งพาหน่วยงานอื่น เช่น องค์การบริหารท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้ขาดความเป็นอิสระในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหน่วยหนึ่ง
๓.๒) ข้าราชการตำรวจส่วนมากยังมีค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดติดกับค่านิยมแบบเดิม ที่เน้นระบบอุปถัมภ์ และยึดตัวบุคคล มากกว่าหลักการ ยึดประสบการณ์จากการทำงานใน
อดีตเพียงอย่างเดียว โดยปฏิเสธการนำหลักวิชาการมาประยุกต์ ขาดวิสัยทัศน์ ทำงานเพียงแค่หวังผลประโยชน์ระยะสั้น ขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวม ทำให้ยากต่อการพัฒนา และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ปรับกระบวนทัศน์ รวมถึงวิธีการทำงาน




๔) จุดแข็ง
๔.๑) หน่วยงานตำรวจ เช่น ภ.จว.สารขันธ์และสถานีตำรวจ....... ยังได้รับความเชื่อถือในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่สามารถขจัดความเดือดร้อนของประชาชนได้ แม้ว่าในยามปกติ หรือไม่มีปัญหาประชาชนจะไม่ชอบตำรวจก็ตาม
๔.๒ ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการปรับโครงสร้างใหม่ที่เหมาะกับงานมากขึ้น และได้มีการกระจายอำนาจทางการบริหารให้ ตำรวจภูธรภาค ๗ และตำรวจภูธรจังหวัดสารขันธ์ มากขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ
๔.๓) สถานีตำรวจภูธร..........เป็นหน่วยงานที่มีกำลังพลจำนวนมากที่สุด และมีเอกภาพในการบังคับบัญชามากที่สุดในอำเภอเมืองจังหวัดสารขันธ์
เมื่อนำ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค มาวิเคราะห์น้ำหนักแล้ว จะเห็นได้ว่า โอกาสนั้น ยังเอื้อต่อการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ แต่ เมื่อเทียบจุดอ่อนจุดแข็งแล้วสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ จะต้องพัฒนาตนเองเพื่อ ลดจุดอ่อน และใช้จุดแข็งร่วมเผชิญกับโอกาส ที่ท้าทาย การดำเนินงานต่อไป

๒. วิสัยทัศน์
สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ เป็นหน่วยงานรักษาความสงบเรียบร้อย บังคับใช้กฎหมายที่เป็นที่ศรัทธาของประชาชนและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล

๓. พันธกิจ
๑)ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์อย่างสมพระเกียรติและปลอดภัยสูงสุด
๒)รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงความสงบของชุมชน สังคม
๓) พัฒนาระบบบริหารการจัดการเชิงบูรณาการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ เกิดประสิทธิภาพ
๔)ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรโดยประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม
๕)พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ขวัญและกำลังใจ
๖) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

๔. ยุทธศาสตร์
สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ ได้นำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๑ ของตำรวจภูธรจังหวัดสารขันธ์ แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ แผนยุทธศาสตร์ตำรวจภูธรภาค ๗ พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๑ ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง และยุทธศาสตร์ของจังหวัดสารขันธ์ รวมทั้งนโยบายการบริหารราชการตำรวจภูธรภาค ๗ ของพลตำรวจโท วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗ มาเป็นกรอบในการกำหนดแผนปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ เพื่อให้เป็นเครื่องมือนำพาไปสู่เป้าหมายและเป้าประสงค์ อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพได้ ๘ ยุทธศาสตร์ดังนี้
๔.๑ ยุทธศาสตร์ด้านกิจการพิเศษ
๔.๒ ยุทธศาสตร์ด้านอำนวยความยุติธรรม
๔.๓ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารเพื่อการบริการประชาชนที่ดี
๔.๔ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติ
๔.๕ ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันอาชญากรรม
๔.๖ยุทธศาสตร์ด้านสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม
๔.๗ ยุทธศาสตร์ด้านการจราจร
๔.๘ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี
๔.๘.๑ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านการตรวจราชการมุ่งผลสัมฤทธิ์
๔.๘.๒ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านพัฒนาตำรวจและครอบครัว
๔.๘.๓ ยุทธศาสตร์ย่อยด้านการพัฒนาหน่วยงานและองค์กร


๕. การติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของการปฏิบัติงานตามแผนงาน, งาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยได้กำหนดไว้ ทั้งยังเพื่อควบคุมให้ทุกหน่วยดำเนินงานตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในแผน นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการกระตุ้นและจูงใจให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานให้ได้ผลงานตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
๕.๑ ขอบเขตการรายงาน
ให้แต่ละงานในสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ การรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงาน ตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๗ ยุทธศาสตร์ และตามตัวชี้วัดในคำรับรองปฏิบัติราชการของหน่วย โดยรายงานจะต้องปรากฏผลการปฏิบัติ, ผลผลิต, ผลลัพธ์ และตัวชี้วัด ตามที่หน่วยได้ดำเนินการในรอบ ๑ เดือนทุกเดือน (นับจากแผนนี้มีผลบังคับใช้) ให้แก่งานอำนวยการ สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์ ก่อนวันที่ ๒ ของทุกเดือน



----------------------------------------------------------


ตารางเวลาการดำเนินการตามโครงการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2551 ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์
ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ด้านกิจการพิเศษ 1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพถวายความปลอดภัย 600,000 บาท กก.อก.





2.ด้านอำนวยความยุติธรรม 1.โครงการจัดหาวัสดุตรวจสถานที่เกิดเหตุ 400,000 บาท กก.อก.










ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.




3.ด้านการบริหารเพื่อบริการที่ดีแก่ประชาชน 1. โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 100,000 บาท กก.อก.












ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.



4.ด้านความมั่นคงของชาติ 1.โครงการตั้ง ศปก.รักษาความสงบเลือกตั้ง 80,000 บาท กก.อก,สภ

ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.



5.ด้านการป้องกันอาชญากรรม 1.โครงการประกวดตู้ยาม 80,000 บาท กก.อก.





ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
6.ด้านสืบสวนปราบปราม 1.โครงการจัดทำฐานข้อมูลบุคคลพ้นโทษ ภ.จว. 800,000 บาท ศทส.ภ.จว.



ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
7.ด้านจราจร 1.โครงการถนนสายหลัก 600,000 บาท ทุก สภ.





8 .1ด้านตรวจราชการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 1.โครงการพัฒนาวินัยตำรวจ 400,000 บาท กก.อก.



ยุทธศาสตร์ ชื่อ โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ เวลาดำเนินการ
2550 2551
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
8.2.ด้านพัฒนาตำรวจและครอบครัว 1.โครงการร้านคุ้ม 600,000 บาท ทุก สภ.

โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์
สอดคล้องกับแผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2550 – 2554
ด้านอาคาร ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
.........................

1. หลักการและเหตุผล
อาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม สร้างแล้วเสร็จและเปิดทำการเมื่อปี 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2546 รูปแบบอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น ที่ผ่านมามีการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ว่างของสถานีเพื่อประโยชน์สำหรับการใช้สอยมาตลอด พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์เล็งเห็นความสำคัญ จึงมีนโยบายให้สร้างที่จอดรถสำหรับผู้มาติดต่อราชการ, ที่เก็บรักษารถของกลางในคดี, ที่เก็บรถที่เกิดอุบัติเหตุ, ที่เก็บรถที่ยึดไว้เพื่อทำการตรวจสอบ, ปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อเป็นร่มเงาบังแสงแดดที่ส่องมาทำให้เกิดความร่มเย็น และปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และได้ปรับปรุงสถานที่ให้ดูสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาติดต่อราชการที่สถานีตำรวจเป็นอย่างดี

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสนองนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พุทธศักราช 2550 – 2554 ด้านอาคาร ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
2.2 เพื่อให้เป็นที่ร่มเงาบังแสงแดด และเกิดความร่มเย็น แก่ประชาชน และข้าราชการตำรวจ
2.3 เพื่อความสวยงาม ร่มเย็น กับผู้พบเห็น ที่มาใช้บริการที่สถานี และผ่านไปมา
2.4 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนากับที่พักสายตรวจตำบลต่อไป
2.5 เพื่อความสะดวก สบาย แก่ประชาชนผู้มาประชุม อบรมสัมมนาที่สถานี

3. เป้าหมาย
ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ที่สถานี และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการที่สถานี

4. วิธีดำเนินการ
4.1 ประชุมชี้แจงข้าราชการตำรวจในสังกัด เพื่อวางนโยบายในการปรับปรุงภูมิทัศน์ และ
ดำเนินการตามโครงการ
4.2 แบ่งมอบหน้าที่ในการดำเนินการ โดยนำกิจกรรม 5 ส. มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ
จัดกลุ่มในการรับผิดชอบพื้นที่ในการดูแล
4.3 ดำเนินการก่อสร้างและปลูกต้นไม้โดยใช้แรงงานข้าราชการตำรวจ

5. พื้นที่ดำเนินการ
บริเวณโดยรอบของอาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์
/ 2 /


6. ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มตั้งแต่ วันที่ 15 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550

7. งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรตำบลเมืองสารขันธ์

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย ที่มาติดต่อราชการและรับบริการที่สถานี
9.2 เกิดความร่มเย็น สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย แก่ผู้พบเห็นทั้งที่มาใช้บริการติดต่อราชการและที่ผ่านไปมา
9.3 เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการเก็บรักษา ดูแลรถที่ยึดไว้เพื่อตรวจสอบ, รถที่เป็นของกลางในคดี และรถที่เกิดอุบัติเหตุ

....................................



พันตำรวจโท นภดล รุ่งสาคร ผู้อนุมัติโครงการ
( นภดล รุ่งสาคร )
สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์

พันตำรวจตรี ธนพล บริสุทธิ์ ผู้เสนอโครงการ
( ธนพล บริสุทธิ์ )
สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสารขันธ์










8 .3ด้านการพัฒนาองค์กร-หน่วยงาน 1.โครงการจัดหาวัสดุสื่อสาร 400,000 บาท กก.อก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น