วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

1
ระบบการบัญชาการในสถานการณ์ (Incident Command System: ICS)1
พ.อ.ปราโมทย์ อิ่มวัฒนา
พ.อ.คเชนทร์ ปิ่นสุวรรณ
กล่าวนํา
ในสังคมปัจจุบันสถานการณ์ฉุกเฉินที ่เกิดขึ้นมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ตั ้งแต่เหตุการณ์
เล็กน้อยเช่นอุบัติเหตุจราจร หรือเหตุการณ์ขนาดใหญ่เช่น ภัยธรรมชาติ นํ้าท่วม ไฟไหม้ การจลาจล
การก่อการร้าย ฯลฯ การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้จําเป็ นต้องใช้หน่ วยงานหลายๆ
หน่วยงานปฏิบัติงานร่วมกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานเช่น เป้ าหมายในการปฏิบัติงาน การ
ควบคุมสั ่งการ และการบังคับบัญชา การติดต่อสื่อสาร การประสานการใช้ทรัพยากรของแต่ละหน่วยงาน
ฯลฯ ปัญหาเหล่านี ้ ทําให้ลดประสิทธิภาพและเสียเวลาในการปฏิบัติงานเพื่อระงับสถานการณ์ ช่วยเหลือ
ชีวิตและปกป้องทรัพย์สินของประชาชน ที่ต้องการประสิทธิภาพและความเร่งด่วน จึงมีการพัฒนาระบบ
บัญชาการในสถานการณ์ (Incident Command System) เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี ้
ระบบการบัญชาการในสถานการณ์คือ ระบบการจัดองค์กรสําหรับ การบังคับบัญชา
(Command), การควบคุม (Control), การประสานงาน (Coordination) เพื่อตอบสนองต่อการที่
หน่วยงานหลายๆหน่ วยที่ มาร่วมปฏิ บัติ งานในสถานการณ์เฉพาะ ที่ มีเป้ าหมายร่วมกันในการ
ระงับสถานการณ์, ปกป้ อง ชีวิต ทรัพย์สิ น และสิ่ งแวดล้อม
บทความนี้จะกล่าวถึงระบบบัญชาการในสถานการณ์ เพื ่อให้ผู้อ่านได้มีความคุ ้นเคยเมื่อต้องใช้
ระบบนี้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุ กเฉิน และทราบถึงการจัดองค์กรของระบบ หลักการและ
แนวความคิดของระบบในการจัดการในสถานการณ์ฉุ กเฉิน การแบ่งหน้ าที่สําคัญของระบบเพื ่อกระจาย
ความรับผิดชอบ การจัดการใช้บุคลากรและทรัพยากร และทราบบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
เมื่อต้องปฏิบัติงานในระบบ
สถานการณ์ ที่ต้องใช้ระบบบัญชาการ
ระบบบัญชาการในสถานการณ์เป็ นที่ยอมรับกันว่าเป็ นระบบที่มีประสิทธิภาพและสามารถ
นําไปใช้ในสถานการณ์ฉุ กเฉินทุกชนิด เช่น
• สถานการณ์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตราย
• สถานการณ์ที่มีประชาชนมาชุมนุมกันเป็ นจํานวนมากเช่น การแข่งขันกีฬา, งานเทศกาล
ประจําปี , การชุมนุมประท้วง ฯลฯ
• ภัยธรรมชาติ เช่น นํ้าท่วม, พายุ, ดินถล่ม, ไฟป่

1 การสัมมนาบทบาทแผนงานเตรียมพร้อมภัยพิ บัติและอุบัติภัยหมู่ของหน่ วยงานแพทย์ทหาร
วิ ทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
2
• อุบัติภัยต่างๆที่มีผู ้บาดเจ็บจํานวนมาก เช่น อุบัติเหตุจราจร, ไฟไหม้
• สถานการณ์เฉพาะที ่ต้องใช้หน่วยงานหลายๆหน่วยทํางานร่วมกันเช่น การจี้จับตัวประกัน, การ
วางระเบิดและการก่อการร้าย, การค้นหาและกู้ภัย
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ควรเป็ นระบบที่อยู่ในแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของชุมชนหรือหน่วยงาน
ทุกแห่ง เพื่อให้การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุ กเฉินกระทําได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
ประวัติ ของ ICS
ในปีค.ศ. ๑๙๗๐ เกิดเหตุไฟป่าลุกลามเป็ นบริเวณกว้าง ในทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย มีการ
ระดมความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆอย่างมากมาย จนต้องจัดตั ้งองค์กรเฉพาะกิจเพื่อดับไฟป่าใน
นาม Firefighting Resources of California Organized for Potential Emergency (FIRESCOPE) ผล
จากการทํางานขององค์กรเฉพาะกิจนี ้ ทําให้พบปัญหาของการจัดการในการตอบสนองสถานการณ์
ฉุกเฉินหลายประการเช่น
• ไม่มีนิยามศัพท์ที่เป็นมาตรฐานกลางสําหรับหน่วยงานที่ตอบสนองสถานการณ์
(Nonstandard terminology among responding emergencies)
• ขาดขีดความสามารถในการขยายหรือลดขนาดของการตอบสนองต่อสถานการณ์ (Lack
of capability to expand and contract as required by the situation)
• ไม่มีการรวมการณ์หรือมาตรฐานอย่างเดียวกันของการสื่อสาร (Nonstandard and
nonintegrated communications)
• ขาดแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน (Lack of consolidated action plans)
• ขาดการเตรียมขีดความสามารถและอุปกรณ์ สนับสนุ นการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า (Lack
of designated facilities)
ผลจากการพบปัญหาข้อขัดข้องเหล่านี้จึงมีการพัฒนาระบบบัญชาการสถานการณ์เพื ่อให้การ
ตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ ้น ถึงแม้ว่าการพัฒนาระบบนี้เกิดจากการ
ตอบสนองต่อสถานการณ์ไฟป่

แต่ระบบนี ้ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกชนิด
ความสําเร็จของการนํ าระบบนี้ไปประยุกต์ใช้เกิดจาก
• การใช้โครงสร้างองค์กรแบบเดียวกัน (A common organization structure)
• การใช้หลักการจัดการที่สําคัญในมาตรฐานเดียวกัน (Key management principle in a
standardized way)
ดังนั้นเพื ่อให้ผู ้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยของความสําเร็จในการนําระบบนี้ ไปประยุกต์ใช้ บทความ
ตอนต่อไปจะกล่าวถึง การจัดองค์กรของระบบ และแนวความคิดและหลักการของระบบ
3
การจัดองค์กรของระบบบัญชาการ
ในสถานการต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ขนาดเล็ก (อุบัติเหตุจราจร, ไฟไหม้) หรือ
สถานการณ์ขนาดใหญ่ (ภัยธรรมชาติ, นํ้ าท่วม, การก่อการร้าย) ล้วนแต่ต้องการหน่ วยงานหลายๆหน่วย
ที่เข้าไปปฏิบัติงานตอบสนองสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะมีขนาดเท่าใด หรือจํานวน
หน่วยงานที่เข้าไปปฏิบัติงานจะมากหรือน้อยเพียงใด ทุกสถานการณ์ล้วนต้องพยายามประสานงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล, และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่าง
ประหยัดและคุ้มค่า
ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจอย่างชัดเจนเกี ่ยวกับแนวความคิดในการระดมและประสาน
หน่วยงานต่างๆและทรัพยากรที ่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองสถานการณ์
อุ บัติเหตุรถยนต์หลายคันชนกันที ่เสาสะพานข้ามทางแยกต่ างระดับ มีไฟลุกไหม้ ผู้บาดเจ็บ
จํานวนมาก และมีสารเคมีหรือวัตถุอันตรายรั ่วไหล โครงสร้างเสาสะพานได้รับความเสียหาย
ท่านคิดว่าควรมีหน่วยงานที ่เกี ่ยวข้องกี ่หน่ วยงานและชนิ ดของทรัพยากรที ่ต้องใช้มีอะไรบ้าง?
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่ต้องใช้
หน่วยงานรักษากฎหมาย เจ้าหน้าที่ตํารวจ
อุปกรณ์ปิดกั ้นการจราจร
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่ต้องใช้
หน่วยดับเพลิง เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
รถดับเพลิง
อุปกรณ์ดับเพลิง
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยและกู้ภัย
เจ้าหน้าที่กู้ภัย
อุปกรณ์กู ้ภัย
อุปกรณ์และชุดป้ องกันสารเคมีและวัตถุ
อันตราย
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กู้ชีพ พยาบาล แพทย์
รถพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ยาและเวชภัณฑ์
เครื่องมือสื่อสาร
หน่วยงานโยธาและทางหลวง เจ้าหน้าที่วิศวกร ซ่อมบํารุงทาง
อุปกรณ์ซ่อมบํารุงทาง
4
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าในสถานการณ์ ฉุกเฉินไม่มีหน่วยงานเดี ่ยวที่รับผิดชอบสถานการณ์
ได้ทั ้งหมด แต่ต้องใช้หลายหน่ วยงานมาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา จึงต้องมีโครงสร้างองค์กร
เฉพาะกิจที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ แนะนําสั ่งการ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานการใช้
ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
การจัดองค์กรของระบบบัญชาการในสถานการณ์ประกอบด้วย ๕ หน่วยหลักดังนี้
• ส่วนบังคับบัญชา (Command)
• ส่วนวางแผน (Planning)
• ส่วนปฏิบัติการ (Operations)
• ส่วนสนับสนุ น (Logistics)
• ส่วนงบประมาณและการบริหาร (Finance/Administration)
5
6
Incident
Command
Planning section Operation section Logistic section
Finance/
Administration
section
Information
Officer Liaison officer
Safety officer
7
ICS principle and Concepts
๑. Common terminology
๒. A modular organization
๓. Integrated communications
๔. Unity of command
๕. Unified command structure
๖. Consolidated IAPs
๗. Manageable span of control
๘. Designated incident facilities
๙. Comprehensive resource management
Modular organization
Integrated Communication
๑. Common communication plan
๒. Standard operating procedure
๓. Clear text Common terminology
8
9
10
11
12
13
14
15
16
Key of success of ICS use
− Learn
− Planning
− Practice
− Start early
Who is in charge? How can all responders work together for the best results?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น