วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอการพัฒนาการควบคุมฝุงของตำรวจไทย

บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ ฝอ.2 บก.อก.ภ.7 โทร. 0 3424 3751 – 5 ต่อ 26
ที่ 0023.12/ วันที่ 12 พฤษภาคม 2552
เรื่อง การตรวจสอบและวิจารณ์การฝึกควบคุมฝูงชนเพื่อ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียน ผบช.น. (ผ่าน ผบก.ตปพ.)

1. ต้นเรื่อง
ตามสั่งการด้วยวาจาของ ผบช.น.ได้ประสาน ผบช.ภ.7 เมื่อ 4 พ.ค.2552 ให้กระผม พ.ต.อ.ณรงค์ ทรัพย์เย็น ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7 ไปตรวจสอบวิจารณ์การฝึกและเสนอแนะการพัฒนาการฝึกการควบคุมฝูงชน ซึ่ง บช.น.ได้จัดฝึก กก.ปจ.บก.ตปพ.ร่วมกับกำลังของ บช.ตชด.,บก.ป.เพื่อเตรียมการ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน ที่ประชุม ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯใน 7-8 พ.ค.2552 และให้เสนอแนะการพัฒนาการฝึก การเตรียมกำลังตำรวจควบคุมฝูงชนของ ตร.ในภาพรวมนั้น
2. ข้อเท็จจริง
2.1 กระผมได้ไปสังเกตการณ์ฝึกเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2552 (วันฉัตรมงคล) ที่สโมสรตำรวจ บางเขน มี เวลา 09.00 น มี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา และ พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ รอง ผบช.น. เป็นประธาน กำลังที่มาฝึกประกอบด้วย ร้อย ปจ.จาก กก.2 (ปจ.) บก.ตปพ.จำนวน 3 กองร้อย ,ร้อย ปจ.(คอมมานโด) จาก บก.ป.จำนวน 2 กองร้อย , จาก กก.ตชด.11 จำนวน 1 กองร้อย และ จาก กก.ตชด.12 จำนวน 1 กองร้อย รวม 7 กองร้อย
2.2 เวลา 09.30-10.30 น. พ.ต.อ.ไพทูรย์ มณีอินทร์ ผกก.2 บก.ตปพ.(กก.ปจ.).ได้บรรยายและนำภาพวีดิโอเกี่ยวกับ ฝูงชนที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในห้วงที่ผ่านมา และภาพการสาธิตการฝึกการใช้กำลัง กองร้อยควบคุมฝูงชน ซึ่งท่าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร.ได้จัดสาธิตเมื่อ 28 เม.ย.2551 ณ สนามกีฬาบุณยะจินดา และเวลา 10.30-11.00 น. พ.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิติประภัสสร์ รอง ผบก.ตปพ.ได้บรรยายผลจากการไปสัมมนาร่วมกับ บก.กองทัพไทย เมื่อ 4 พ.ค.2552 เกี่ยวการควบคุมฝูงชนในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 12 เม.ย.2552 และเวลา 11.00-12.00 น กระผมได้บรรยายเกี่ยวกับหลักการจัดการฝึก ตามคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐซึ่งจะเน้น ให้ฝึกเหมือนกับสภาพที่ต้องไปทำงานจริง FM 7-1 BATTLE FOCUSED TRAINING (ฝึกเหมือนกับที่ต้องรบจริง)) และกระผมเห็นว่ากำลังพลส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจที่ต้องปรับปรุง จึงได้ขอให้เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้มาดูภาพยนตร์เรื่อง Rule Of Engagement (แปลว่ากฎการใช้กำลัง แต่ชื่อเรื่องภาษาไทย ใช้ว่า “คำสั่งฆ่าคนบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ ไปช่วยทูตออกมาจากวงล้อมของฝูงชนที่บ้าคลั่งล้อมสถานทูตอยู่ แต่ทำให้มีคนตายถึง 83 คน หัวหน้าชุดจึงต้องขึ้นศาลทหาร เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการนำพยานหลักฐานการแก้ปัญหาฝูงชนมาสู่ศาล ถึงการใช้กำลังหรืออาวุธอย่างไร จึงไม่เกินกว่าเหตุ) เพื่อให้ตำรวจที่ดูมีความรู้สึกภาคภูมิใจกับ
/ภารกิจ....
- 2 -
ภารกิจที่ต้องมาปฏิบัติในครั้งนี้ (สรุปเนื้อเรื่องการบรรยายปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1)
2.3 เวลา 13.00-17.00 น ได้มีการฝึกจำลองเหตุการณ์ให้กองร้อยควบคุมฝูงชนทั้ง 7 กองร้อยเข้าสลายฝูงชน โดยใช้แผนรักษาความสงบของ ตร.ปี 48 (แผนกรกฎ 48) เป็นแนวทางการปฏิบัติในการเข้าสลายฝูงชนที่สมมุติเหตุการณ์เข้ายึดพื้นที่ ทำเนียบรัฐบาลแล้วไม่ยอมออกจากพื้นที่ โดยใช้สนามหน้า กก.2 ปจ. เป็นสถานที่สมมุติว่าเป็นทำเนียบรัฐบาล ใช้รถฉีดน้ำ การใช้รูปขบวนระดับกองร้อยเข้าผลักดัน การใช้การจับกุมและการใช้กระสุนยาง และลูกระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าผลักดัน ผลการปฏิบัติส่วนใหญ่ กำลังของ กก.ตชด.11 และ กก.ตชด.12 จะไม่เข้าใจในการปฏิบัติในการควบคุมสั่งการของ ผบ.ร้อย ผบ.มว ปจ.ในการจัดรูปขบวนเข้าปฏิบัติ ณ ที่หมาย เนื่องจากเป็นการสนธิกำลังมาจาก กองร้อย ตชด.ในสนาม ทั้งตัวกำลังในกองร้อย ปจ. และตัวผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มีการฝึกซ้อมมาก่อน (ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบการนำหน่วย)
2.4 วันรุ่งขึ้น (6 พ.ค.2552) กำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนที่ฝึกทั้ง 7 กองร้อย ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาการณ์ กลุ่ม นปช. ที่มายื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล และกลับมาฝึกซ้อมอีกครั้ง เมื่อเวลา 14.00 น. โดยมี พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต ผบก.ตปพ. เป็นผู้ควบคุมการฝึก , พ.ต.อ.ดำรงค์ศักดิ์ฯ รอง ผบก.ตปพ.ร่วมฝึกโดยทำหน้าที่เป็น ผบ.เหตุการณ์, พ.ต.อ.ไพทูรย์ฯ เป็นผู้ให้ปัญหาฝึก เป็นการฝึกจำลองเหตุการณ์ในการเข้าสลายการชุมนุม เหมือนที่ผ่านมา โดยได้ปรับปรุงการฝึกใหม่ มีการ นำระบบการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร มาใช้ โดยจัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการสลายการชุมนุม มอบภารกิจให้แก่ ผบ.ร้อย หรือผู้ควบคุมกำลังทั้ง 7 กองร้อย ให้บรรยายสรุปกลับ (Backbrief) ซักซ้อมความเข้าใจ โดยให้ ผบ.ร้อย ทั้งหมด ปฏิบัติตามหลักการ “ระเบียบการนำหน่วย” และได้กำหนดให้มีการซ้อมจำลองเหตุการณ์การปฏิบัติเข้าสลายการชุมนุม ณ ที่หมายจำลอง เฉพาะตัว ผบ.มว.และ ผบ.ร้อย เพื่อความสะดวกในการฝึก เป็นขั้นตอน (ฝึกผู้บังคับบัญชาเพื่อการวางกำลัง และการปฏิบัติก่อน เป็นการฝึกทางยุทธวิธีโดยไม่ใช้กำลังพลร่วมฝึก (Tactical Exercise Without Troops = TEWT) จำนวน 1 รอบก่อน เมื่อเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนของ ผบ.เหตุการณ์แล้ว จึงได้มีการฝึกเคลื่อนกำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยมีผู้ชุมนุมสมมุติเข้าปะทะกับกองร้อยควบคุมฝูงชน ประกอบการใช้รถฉีดน้ำ กระสุนยาง และแก๊สน้ำตา การจับกุมแกนนำ ซึ่งการฝึกเป็นไปตามขั้นตอนด้วยดี
2.5 ผบก.ตปพ.ได้สั่งให้ ผบ.ร้อย และผู้ควบคุมกำลังนำกำลังทั้งหมดไปปฏิบัติหน้าที่ รปภ.การประชุม รมต.สาธารณสุขอาเซียน ขึ้นการบังคับบัญชากับ ศปก.บช.น.(สน.) ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ก่อนเวลา 23.00 น.ของวันที่ 6 พ.ค.2552 และกระผมได้รับคำสั่งจาก ผบช.น.ให้มาสังเกตการณ์ ของ ศปก.บช.น.สน. และการใช้กำลังควบคุมฝูงชนดังกล่าว โดย กำลังทั้งหมดได้รับมอบภารกิจให้ยืนเฝ้าจุดระวังป้องกันโรงแรมดุสิตธานี โดยกองร้อยควบคุมฝูงชนจาก กก.ตชด.11 ,12 กก.2 บก.ตปพ.รวม 5 กองร้อย วางกำลังด้านถนนพระราม 4 (ทิศเหนือด้านหน้าโรงแรม) และกำลัง จำนวน 2 กองร้อยจาก บก.ป.เฝ้าจุดระวังป้องกันด้านถนนสีลม (ทิศตะวันตกของโรงแรม) กำลังทั้งหมด ได้เลิกปฏิบัติเพราะเสร็จสิ้นการประชุม บุคคลสำคัญเดินทางกลับหมดเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 8 พ.ค.2552 การปฏิบัติบรรลุภารกิจ เหตุการณ์ปกติ ไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด

/3. ข้อพิจารณา...
- 3 -
3. ข้อพิจารณา
3.1 กรอบในการให้ข้อเสนอแนะของกระผม จะใช้ฐานการตรวจสอบการฝึกในครั้งนี้ และการจัดกำลังเข้าทำงานในการควบคุมฝูงชนของ ตร.ในภาพรวม ทั้งในเขต บช.น.,ภ.1 (สนามบินสุวรรณภูมิ),และการชุมนุมของกลุ่มการเมืองและกลุ่มเรียกร้องต่าง ๆ ในประเทศไทยเช่นที่จังหวัดอุดรธานี หรือการปิดถนนของกลุ่มผู้ชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้กรอบการเสนอแนะ 3 กรอบดังนี้
3.1.1 ใช้กรอบการเสนอแนะการดำเนินการควบคุมฝูงชนในภาพรวมของ ตร.เนื่องจาก กำลังของ กองบัญชาการใด กองบัญชาการหนึ่งหรือการปฏิบัติของ บช.ใด บช.หนึ่งไม่ครอบคลุมการชุมนุมเรียกร้องได้หมด (เช่น ผู้ชุมนุมมาจากต่างจังหวัดเข้าไปชุมนุมใน กทม. ,แกนนำจาก กทม.ไปจัดชุมนุมที่ต่างจังหวัด เพราะเหตุผลของระบบการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ และสื่อสารมวลชนที่ดีขึ้น)
3.1.2 .ใช้กรอบเสนอแนวคิดที่เป็น ระบบการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องที่เป็นหลักสากลที่อารยะประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องยอมรับ หรือออกกฎ หรือถือปฏิบัติ ตามที่ศาลปกครองกลาง ได้กำหนดไว้ในคำสั่งศาล ที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อ 7 ต.ค.52 มากกว่าที่จะนำเสนอหรือชี้ข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไขเป็นรายละเอียดการปฏิบัติ แต่จะนำเสนอ เป็นลักษณะของ ระบบการแก้ไขเหตุการณ์ เครื่องมือ หรือระบบการบริหารเหตุ หรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้แก้ไขได้เป็นระบบ ยั่งยืน และเป็นหลักสากลได้มากกว่า การเสนอแนะแก้ไขเป็นส่วน ๆ
3.1.3 มุ่งเน้นเสนอแนะ ที่สามารถแก้ไข หรือเป็นไปได้ ทั้งในมิติของงบประมาณ กฎหมาย ระเบียบ ในระยะเวลาอันใกล้ก่อน
3.2 ข้อเสนอแนะการปรับปรุงระบบการควบคุมฝูงชนในประเทศไทย
3.2.1 การปรับปรุงองค์ความรู้การควบคุมฝูงชน เนื่องจากคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของกรมตำรวจ ฉบับประกาศใช้ เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2536 ได้ใช้มาเป็นเวลานานและหลักการพื้นฐาน กลยุทธ์ น่าจะเหมาะสำหรับการควบคุมฝูงชนที่เกิดจากฝูงชนที่ไม่ได้มีการจัดตั้ง หรือมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างในปัจจุบัน ประกอบกับแกนนำฝูงชนในปัจจุบัน มักเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหรือผ่านงานด้านสงครามกองโจรรบพิเศษหรือสงครามการเมือง รูปแบบของฝูงชนจึงมีความซับซ้อน และมีการวงแผนอย่างแยบยลทั้งระดับยุทธวิธีและระดับยุทธศาสตร์ แต่คู่มือการปฏิบัติควบคุมฝูงชนที่ ตร. ใช้ฉบับลงวันที่ 20 ส.ค.2536 เป็นคู่มือการปฏิบัติระดับยุทธวิธีเท่านั้น จึงเห็นควรใช้คู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐ เรื่อง การควบคุมฝูงชน (F.M.3-19.15 CIVIL DISTURBANCE OPERATIONS) ฉบับเดือนเมษายน 2005 (เอกสารประกอบหมายเลข 2) ซึ่งเขียนขึ้นจากพื้นฐานการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาสันติภาพ ซึ่งการก่อความไม่สงบจากฝูงชนมักเกิดจากพื้นฐานทางการเมืองแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน
3.2.1.1 สิ่งที่ ผบช.น. ห่วงใยและยกเป็นประเด็นในการประชุมทางจอภาพของกองอำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน ของ ตร. ที่ผ่านมา กรณีการใช้กระบองของชุดควบคุมฝูงชน คู่มือตาม F.M. 3-19.15 หน้า 4-5 ได้เปลี่ยนหลักการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ที่ไม่ตีหรือกระแทกจุดตายจาก

/ที่กำหนด...
- 4 -
ที่กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของกรมตำรวจ ฉบับวันที่ 20 ส.ค.2536 หน้า 162 (เอกสารประกอบหมายเลข 3)
3.2.1.2 กลยุทธ์ใน F.M. 3-19.15 จะใช้ฐานความคิดจากระบบ “การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร” โดยใช้ฐานการข่าวเป็นหลัก เมื่อข่าวเปลี่ยนไปการประมาณการหรือการประมาณสถานการณ์ก็จะเปลี่ยนไป ทำให้การใช้กลยุทธ์หรือวิธีการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ชุมนุม (ที่ต้องพิจารณาปัจจัย METT – TC = ภารกิจ ภัยคุกคาม สภาพพื้นที่ สังคม กำลังฝ่ายเรา เวลา และการยอมรับได้ของสังคม) ใช้ให้เหมาะสมกับปัจจัยดังกล่าว กว้างขวางกว่าที่แผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) หรือที่คู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของ ตร. เมื่อปี 2536 กำหนดไว้ เช่น การใช้เรื่องการข่าว กลยุทธ์การป้องกันการรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่ต้น การรักษาความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ดาวกระจายไปแต่ละจุด การใช้ชุดตรวจการณ์คุ้มกันจากที่สูง (DM = Designated marksman) การใช้ชุดจับกุมขนาดใหญ่ (Mass Arrest) เป็นต้น
3.2.1.3 การต้องยึดถือหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือหลักการสากลในการควบคุมฝูงชน โดยที่ผ่านมาคู่มือการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนของ ตร. ฉบับปี 2536 มิได้พูดถึงความชอบธรรมหรือแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการควบคุมฝูงชน สหประชาชาติได้ออกปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักการพื้นฐานการใช้กำลังและอาวุธของผู้รักษากฎหมาย ฉบับข้อมติที่ 45/121 ลง 18 ธ.ค.1990 (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ได้กำหนดหลักการสากลเกี่ยวกับการใช้กำลังควบคุมฝูงชน จะต้องใช้จากเบาไปหาหนัก สมส่วน และต้องมีการทดสอบมาตรฐานการใช้กำลังหรือต้องให้ผู้ที่รักษากฎหมายใช้กำลังหรืออาวุธ ต้องมีการฝึก (เอกสารประกอบหมายเลข 4 ข้อที่ 12,13,14,19 และ 20) จึงทำให้หน่วยงานตำรวจทั่วโลกหรือผู้ที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฝูงชน จะต้องถือหลักสำคัญของการใช้กำลังให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว เช่น กองทัพไทย ได้ประกาศกฎการใช้กำลังในการปราบปรามจลาจล ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะที่ 19/50 ลง 7 มี.ค.2550) (เอกสารประกอบหมายเลข 5) และหน่วยตำรวจในต่างประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา จะมีคณะกรรมการที่กำหนดมาตรฐานการใช้กำลังของตำรวจในด้านต่าง ๆ รวมถึงกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางในการควบคุมฝูงชน เช่น คณะกรรมการมาตรฐานการฝึกอบรมของผู้รักษาความสงบ (Commission on Peace Officer Standard and Training = POST) ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาญา มาตราที่ 13514.5 ออกแนวทางให้หน่วยตำรวจในมลรัฐแคลิฟอร์เนียถือปฏิบัติในการควบคุมฝูงชน (เอกสารประกอบหมายเลข 6) แต่ตำรวจไทยไม่เข้าใจในเรื่องกฎการใช้กำลังนี้ โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้และไม่เข้าใจและไม่มีการฝึก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ที่หน้ารัฐสภา ภาระความรับผิดชอบ โดยเฉพาะทางกฎหมายจึงตกหนักกับ ผบ.เหตุการณ์ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ ตร.
3.2.2 การปรับปรุงระบบวิธีการจัดการฝึก
3.2.2.1 การฝึกควบคุมฝูงชนของ ตร.ที่ผ่านมา มักใช้ระบบการฝึกที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน เช่น เน้นเฉพาะการฝึกกำลังพลที่อยู่ประจำในกองร้อยควบคุมฝูงชนเท่านั้น ให้มีความพร้อมในการใช้โล่กระบองและรูปขบวน โดยส่วนมากละเลยการฝึกระดับผู้บังคับบัญชา คือ ผบ.
/หมวด ผบ.ร้อย...
- 5 -
หมวด ผบ.ร้อย ควบคุมฝูงชน เกี่ยวกับระเบียบการนำหน่วย การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) และส่วนใหญ่การฝึกอบรมของตำรวจไทยจะเน้นแค่ “การมีความรู้” เป็นเหตุให้ไม่มีการฝึกทักษะการนำหน่วย หรือการใช้สถานการณ์ด้านการข่าวมาเป็นตัวชี้นำในการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาการควบคุมฝูงชน ส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) จะเป็นเครื่องมือหรือสูตรสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาฝูงชน โดยละเลยหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจหรือทักษะในการใช้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือระบบแสวงข้อตกลงใจทางทหาร ซึ่งก็จะทำให้ส่งผลย้อนกลับไปถึงการจัดการฝึกที่ไม่ตรงกับที่ต้องไปทำงานจริง เพราะผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการไม่ได้มีความคิดหรือความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชาการเหตุการณ์หรือการแสวงหาข้อตกลงใจทางทหาร จึงเห็นควรมีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติตามแนวความคิดในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐที่ว่าฝึกให้เหมือนกับที่ต้องไปทำงานจริง F.M.7-1 (Battle Focused Training)
3.2.2.2 พัฒนาระบบฝ่ายอำนวยการและศูนย์ปฏิบัติการ
ตามหลักนิยมของการฝึกการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ จะต้องให้ฝ่ายอำนวยการมาร่วมฝึกด้วย 2 ระดับ เช่น การฝึกซ้อมในครั้งนี้ เป็นการฝึกเพื่อเตรียมกำลังควบคุมฝูงชนใช้ในภารกิจการจัดการชุมนุมเรียกร้องในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยในคู่มือการจัดการและวางแผนรักษาความสงบ สำหรับจัดงานสำคัญ : แนวทางสำหรับผู้รักษากฎหมาย (Planning for and Managing Demonstrations) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (เอกสารประกอบหมายเลข 7) ได้เสนอแนะหลักการว่าต้องมีการฝึกเรื่องการข่าว เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาผู้ชุมนุมที่จะมารบกวนการจัดงานด้วย ในการฝึกครั้งนี้หากไม่มี ศปก.บช.น. และ ศปก.ตร. ที่ช่วยสนับสนุนด้านการข่าว กลุ่มผู้ชุมนุมที่จะมารบกวนการประชุม หรือที่อาจกระทบต่อการประชุม เช่น กลุ่มผู้ค้าที่ถูกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จับกุมเรื่องลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าที่ย่านพัฒพงษ์ก่อนการประชุม เนื่องจากกองร้อยควบคุมฝูงชนที่รับการฝึก 7 กองร้อยดังกล่าว ไม่มีขีดความสามารถและเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานด้านการข่าว ทั้งในและนอกเขต บช.น. ศปก.น. ควรทำหน้าที่ ที่บังคับการ (หลัก) ที่สนับสนุนด้านการข่าว การส่งกำลังบำรุง ส่วน ศปก.ตร. ควรทำหน้าที่ ศปก.หรือ ที่บังคับการหลัง ที่สนับสนุนข้อมูลการข่าวนอก บช.น. และสนับสนุนข้อมูลด้านกฎหมาย (กฎการใช้กำลังหรือกฎการปะทะ) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกปฏิบัติหรือการทำงานที่ต้องปะทะกับฝูงชน นอกจากนี้ ศปก.ตร. ควรสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตำรวจและให้ง่ายต่อการรักษาความสงบ
3.2.3 การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์
3.2.3.1 ควรพัฒนาเรื่องการสื่อสารของทีมควบคุมฝูงชน ให้มีระบบปากพูดหูฟังติดที่หมวก โดยเฉพาะระดับ ผบ.หมู่ ผบ.หมวด ผบ.ร้อย เพื่อการสั่งการและพัฒนาข้อมูลด้านการข่าวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่จุดรวมพลไปจนถึงการปฏิบัติ ณ พื้นที่เป้าหมาย
3.2.3.2 ควรให้มีหมายเลขหมวก เพื่อป้องกันความไม่มีตัวตนที่ตำรวจจะไปทำร้ายประชาชน และไม่ทราบว่าตำรวจผู้ใดทำร้าย (ผลจากการสรุปบทเรียนในการควบคุมฝูงชน การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือน พ.ย.1999 และกรณีที่ตำรวจอังกฤษ ถูกกล่าวหาว่าผลักชายอายุ 40 กว่าปี ที่เดินผ่านมา ในขณะควบคุมฝูงชน และเสียชีวิตในเวลา
/ต่อมา...
- 6 -
ต่อมา ในการประชุม G20 เมื่อ 1 เม.ย.2552) ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ไปผลักหรือไปทำร้ายประชาชนไม่มีชื่อหรือหมายเลขประจำตัว ให้ผู้อื่นมองเห็นได้ ภาระทางกฎหมายจึงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชา หรือผู้บัญชาการเหตุการณ์
3.2.3.3 ควรพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ตามความต้องการขององค์ความรู้ด้านการควบคุมฝูงชนที่ต้องให้ฝ่ายอำนวยการ มีการติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา และอำนวยความสะดวกแก่กำลังพลเมื่อต้องเคลื่อนย้าย เช่น การจัดรถศูนย์ปฏิบัติการเคลื่อนที่ ที่มีเครื่องมือสื่อสาร และห้องน้ำห้องส้วมไว้บริการ จากการสอบถามกำลังพลที่มาฝึกในครั้งนี้ ได้ชี้แจงว่าหน่วยงานต่าง ๆ มักเดือดร้อนจากการที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมและตำรวจมาใช้สถานที่ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ
3.2.4 การพัฒนาระบบขวัญและกำลังใจ ขวัญและกำลังใจของข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมฝูงชนทุกส่วน อยู่ในภาวะที่ตั้งรับและมีความรู้สึกไม่ภาคภูมิใจในหน้าที่ ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาเรื่องใด หรือจะทำการฝึกควบคุมฝูงชน โดยใช้ระบบหรือเครื่องมืออย่างไร เมื่อผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชามาอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับการควบคุมฝูงชน หรือกำลังพล ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่มาทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน ไม่มีความเต็มใจ ภาคภูมิใจ หรือมีความสำนึกในหน้าที่ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว ก็จะไม่สามารถพัฒนาได้ ภาระทั้งหมดจะตกอยู่กับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่ จึงควรดำเนินการดังนี้
3.2.4.1 ควรให้ ตร. กำหนดสมรรถนะประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มงานที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ เช่น สายป้องกันปราบปราม จราจร สืบสวน กำหนดไว้ในแบบประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ท้ายหนังสือ ตร. ที่ 0004.51/ว 101 ลง 2 ส.ค.2550 โดยให้มีสมรรถนะในเชิงทักษะการควบคุมฝูงชนแต่ละระดับ เช่น ผบ.หมู่ ควรมีทักษะการใช้กระบอง โล่ ในการควบคุมฝูงชน และจัดรูปขบวนควบคุมฝูงชนได้ถูกต้อง ส่วนระดับ รอง สว. ขึ้นไป ให้กำหนดสมรรถนะในเชิงทักษะ ในการใช้ระเบียบการนำหน่วยในการควบคุมฝูงชน หรือวางแผนในการควบคุมฝูงชนได้ ตามแบบที่ใช้ทดสอบ หากไม่ผ่านการประเมินควรที่จะไม่ให้รับเงินเพิ่มพิเศษดังกล่าว หรือหากเคยปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชน ในรอบปีได้ 10 ครั้งขึ้นไป อาจให้ถือว่าผ่านการประเมิน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันระบบการรับเงินเสี่ยงภัยของตำรวจ มีลักษณะที่น่าจะมีข้อกำหนดที่ง่ายกว่าวิชาชีพอื่นที่รับเงินเพิ่มพิเศษ
3.2.4.2 ควรกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านประชาสัมพันธ์หรือหรือปฏิบัติการจิตวิทยาของตำรวจ นำหลักการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communication) มาใช้ในการสร้างความชอบธรรมหรือส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการควบคุมฝูงชน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการในเชิงรุก ด้านยุทธศาสตร์ เสริมจากการปฏิบัติการด้านข่าวสาร (Information Operations) ซึ่งเป็นการปฏิบัติในเชิงตั้งรับในปัจจุบัน
4. ข้อเสนอแนะ
ปรากฏตามเอกสารหมายเลข 8

พ.ต.อ.
( ณรงค์ ทรัพย์เย็น )
ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7























เอกสารประกอบหมายเลข 8
ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระบบการควบคุมฝูงชนในประเทศไทย

ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
1 การฝึกอบรม การปรับปรุงองค์ความรู้การควบคุมฝูงชน 1. นำหลักการในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกสหรัฐ เรื่อง การควบคุมฝูงชน (F.M.3-19.15 CIVIL DISTURBANCE OPERATIONS, คู่มือ F.M.7-1 BATTLE FOCUSED TRAINING (ฝึกเหมือนกับที่ต้องรบจริง)) และคู่มือการจัดการและวางแผนรักษาความปลอดภัยสำหรับจัดงานสำคัญ : แนวทางสำหรับผู้รักษากฎหมาย (Planning for and Managing Demonstrations) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยให้ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์จัดพิมพ์แปลและแจกจ่ายให้กับกำลังพล
2. ทำหนังสือขออนุญาตใช้คู่มือตามข้อ 1. เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในการควบคุมฝูงชนต่อสถานเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์ และเพิ่มน้ำหนักในการใช้อ้างอิง เมื่อใช้เป็นข้ออ้างในศาลสำหรับตำรวจ หากเป็นคู่มือของ ตร. เอง เชื่อว่าน้ำหนักน่าเชื่อน่าจะน้อยกว่าของต่างประเทศที่มีความเป็น “สากล” มากกว่า
3. จัดการฝึกให้คล้ายกับที่ทำงานจริง โดย ศปก.น. ร่วมฝึกด้วยกับกองร้อย ปจ. คล้ายกับที่ปฏิบัติงานจริงในแต่ละหน้าที่
4. ออกประกาศกฎการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชนให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และส่งให้องค์กรเอกชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และสำนักตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลได้ตรวจสอบเห็นชอบ และฝึกกำลังพลในการเผชิญเหตุตามแนวทาง 1. จัดทำคู่มือการควบคุมคุมฝูงชนของ ตร. ที่พัฒนาและทันสมัยและเหมาะสมกับประเทศไทย มากกว่าใช้ของต่างประเทศ
2. จัดระบบการฝึกอบรมการควบคุมฝูงชน 3 หลักสูตร
2.1 กำลังพลในกองร้อยควบคุมฝูงชนทั่วไป
2.2 ผู้ปฏิบัติงานอาวุธพิเศษในการควบคุมฝูงชน เช่น เครื่องยิงแก๊สน้ำตา ระเบิดขว้าง กระสุนยาง
2.3 ระบบบัญชาการเหตุวิกฤติการควบคุมฝูงชน (อบรม ผบ.หมวด ผบ.ร้อย ฝ่ายอำนวยการและผู้บังคับบัญชา)
3. กำหนดให้บันทึกการฝึกอบรมและการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมฝูงชนลงในสมุดประจำตัวสายตรวจตามระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 24
บทที่ 22 นอกเหนือจากบันทึกใน กพ.7 1. บช.ศ. , รร.นรต. และ บช.ต่าง ๆ จัดการฝึกอบรมและบันทึกผลการฝึกอบรมลงในสมุดประจำตัวสายตรวจ เพื่ออนุมัติให้เป็นไปตามปฏิญญาสากลของสหประชาชาติว่าด้วยกลักการพื้นฐานของการใช้กำลังและอาวุธของผู้รักษากฎหมาย
2. จัดการฝึกกองร้อยควบคุมฝูงชนผู้บังคับบัญชาให้ครบทุกหลักสูตร และให้เหมือนปฏิบัติการจริง
3. ในการฝึกทุกระดับให้นำกฎการใช้กำลังของ ตร.ไปทำการฝึกด้วย โดยอาจออกแนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุที่ต้องเผชิญแต่ละภารกิจ (Graduated Response matrix =GRM)
2 –
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
นี้โดยอาจออกแนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุที่ต้องเผชิญแต่ละภารกิจ (Graduated Response Matrix =GRM) เช่น ถ้าประชาชนขว้างไข่ใส่ตำรวจ ตำรวจจะไม่ตอบโต้ แต่ถ้าทุบกระจกทางเข้าโรงแรมตำรวจจะจับกุม หรือใช้แก๊สน้ำตา เป็นต้น 4. ศปก.ตร., บช.ศ. และ รร.นรต. จัดการวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาหลักนิยมในการฝึกสรุปบทเรียนทำเป็นตำราหลักนิยมคล้ายกับที่ปฏิบัติงานจริง
5. จัดทำระบบคู่มือการฝึกหรือคู่มือปฏิบัติงานให้มีระบบคล้ายคู่มือราชการสนามตามแบบของกองทัพบกไทย
6. จัดทำระบบสมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง โดยเน้นการฝึกและสมรรถนะด้านการควบคุมฝูงชนให้มีชุดครูฝึกที่มีสมรถนะสูงสุด ทำการฝึกหลักสูตรกำลังพลในกองร้อยควบคุมฝูงชนทั่วไปได้
7. ออกกฎการใช้กำลังโดยขออนุมัติจากรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และฝึกกำลังพลทุกระดับตามแนวกฎการใช้กำลัง
2 ระบบการข่าว 1. นำระบบการฝึก การบัญชาการเหตุการณ์ และระบบการแสวงข้อตกลงใจทางทหารมาใช้ในการฝึกและการปฏิบัติงานจริง โดยฝ่ายการข่าวและเจ้าหน้าที่ใน ศปก.จะต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนเพื่ออำนวยการให้การปฏิบัติหน้าที่ของกองร้อยควบคุมฝูงชนที่อยู่ในพื้นที่ได้มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยตลอดเวลา
2. ประเมินภัยคุกคามในเชิงเลวร้ายทีสุดในการรักษาความปลอดภัย 1. จัดระบบ ศปก.ตร.เป็น ทก.ส่วนหลัง ในการประสานงานด้านการข่าวนอกเขตพื้นที่ บช.ต่างๆ สนับสนุนการปฏิบัติของ บช.ที่เกิดเหตุวิกฤตหรือากรชุมนุม
2. กระจายข่าวกรองของ ศปก.ตร.ให้ทันเวลา บริการแก่หน่วยกำลังหรือ 1. จัดระบบ ศขส.สภ.มีฐานข้อมูลข่าวประจำตู้ยามสายตรวจตำบลเกี่ยวกับแกนนำทุกกลุ่ม
2. มีระบบเกาะติดแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของกลุ่ม

- 3 -
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
การจัดงานต่างๆ กองร้อย ปจ.ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
3. ดำเนินมาตรการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communition) เพื่อสร้างความชอบธรรม และประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้แก่หน่วยตำรวจ แกนนำในพื้นที่ของสายตรวจตำบล ตู้ยาม และอำนวยความสะดวกแกนนำที่จะเข้าไปชุมนุมตั้งแต่ต้นทาง
3 การพัฒนาขวัญและกำลังใจของกำลังพลทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน 1.ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนมีความภาคภูมิใจในภารกิจที่ทำ ในยามที่ยังไม่มีเหตุ โดยไม่ต้องรอการปฏิบัติการข่าวสารเมื่อมีการปฏิบัติหน้าที่แล้ว หรือมีประเด็นที่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุแล้ว
2.ใช้ระบบสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งผู้รับเงินเสี่ยงภัยต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะทุกปี แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ร้อย ปจ.ควรกำหนดให้ผ่านการทดสอบทันทีเมื่อผ่านการฝึก ปจ. และทำหน้าที่ 10 ครั้งต่อปีขึ้นไป โดยบันทึกไว้ในสมุดประจำตัวสายตรวจ 1. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการจิตวิทยาของ ตร.ดำเนินการตามแผนประชาสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ในการควบคุมฝูงชน
2. จัดทำระบบคะแนนเพิ่มในการเป็นแต้มต่อในการสอบเลื่อนฐานะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร กรณีที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนหรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อันตราย ปฏิบัติแนวทางเดียวกับ บช.น.
4 การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ 1.จัดทำระบบนโยบายการใช้อุปกรณ์ในการควบคุมฝูงชนต่างๆ หรือกฎการใช้กำลัง การใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น เครื่องยิงแก๊สน้าตา เครื่องช็อตไฟฟ้าเทเซอร์ (การฝึกครั้งนี้ชุดอาวุธพิเศษของ กก.2 ตปพ.มีเครื่องช็อตไฟฟ้าไปร่วมฝึกด้วย แต่ยังไม่ได้ใช้แสดงและยังไม่มีกฎการใช้ที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร 1. จัดระบบให้โรงเรียนตำรวจ หรือ ศฝร.มีระบบการรับรองคู่มือและมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมฝูงชน เช่น กระสุนแก๊สน้ำตา กระสุนยาง เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่าใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานยิงไปแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิต
- 4 -
ลำดับ หัวข้อ ข้อควรปฏิบัติของ บช.น. ข้อควรปฏิบัติของ ตร. ข้อควรปฏิบัติ บช.ต่าง ๆ
2. ประสานกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชบให้มีหน่วยงานในการทำหน้าที่รับรองความมีมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนมากกว่าที่จะออกมาวิจารณ์เมื่อมีเหตุสงสัยถึงอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว 1. ตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์การควบคุมฝูงชนให้ตรงตามมาตรฐานและจำหน่ายอุปกรณ์ที่หมดอายุแล้ว เช่น แก๊สน้ำตา



ตรวจแล้วถูกต้อง

พ.ต.อ.
(ณรงค์ ทรัพย์เย็น)
ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น