วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างโครงการตำรวจชุมชนลานทอง

โครงการ ตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง

1. หลักการและเหตุผล
กล่าวโดยทั่วไป หมู่บ้านลานทอง หมู่ 8 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ประมาณ 4,000 คน จำนวน 1,200 หลังคาเรือน มีถนนและซอย จำนวน 40 ซอย มี โรงเรียน อนุบาล 1 แห่ง อยู่ภายในหมู่บ้าน มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้แก่ถนนติวานนท์
สถานภาพอาชญากรรม ปรากฏว่าได้มีคนร้ายเข้าทำการลักทรัพย์ในเคหสถานและมีเหตุชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ รวมทั้งปัญหาทะเลาะวิวาท ทำร้ายซึ่งกันและกันบ่อยครั้งเกิดขึ้นใน หมู่บ้านลานทองซึ่งจากสภาพอาชญากรรมดังกล่าว เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพการแตกความสามัครีกันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและของเพื่อนบ้าน ถึงแม้หมู่บ้านนี้จะมีการรวมตัวกันของ คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 40 คน ก็ตาม แต่คณะกรรมการหมู่บ้านเหล่านั้นก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ซึ่งมุ่งเน้นให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมมือกันจัดสภาพแวดล้อมในบ้านของตนเองและร่วมมือกันดูแลถนน ตรอก ซอย ในหมู่บ้านไม่ให้คนร้ายมาใช้พื้นที่ดังกล่าวประกอบอาชญากรรมซึ่งมักปรากฏเสมอมาว่าประชาชนมักจะตำหนิติเตียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่โดยเฉพาะตำรวจสายตรวจ ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวนเสมอว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นและตำรวจไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประชาชนและตำรวจ รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของประชาชนด้านการบริการ ด้านความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ จึงมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้ง ที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป

2. ประวัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจให้สูงขึ้นในด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ โดยเฉพาะเน้นความรวดเร็วในการเข้าไประงับเหตุ การบริการประชาชน ณ ที่ทำการตำรวจชุมชนในด้านต่าง ๆ และการเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน และลดปัญหาอาชญากรรมโดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม


- 2 -

3. เป้าหมาย
3.1 จัดให้มีการบริการที่ดีในรูปแบบต่าง ๆ ณ ที่ทำการตำรวจชุมชน
3.2 เพิ่มมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในหมู่บ้านลานทอง
3.3 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทั้งในและนอกที่ทำการตำรวจชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ
3.4 ใช้มาตรการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เข้าดำเนินการต่อประชาชนในหมู่บ้านลานทอง
3.5 เน้นการออกไประงับเหตุของตำรวจชุมชนประจำหมู่บ้าน ตั้งใช้เวลาไม่เกิน 3 – 5 นาที บริการฉันท์มิตรเสมือนญาติ
3.6 เน้นการบริการรับแจ้งเหตุ แจ้งเอกสารหาย แจ้งเป็นหลักฐานและอื่น ๆ ด้วยการให้บริการฉันท์มิตรเสมือนญาติ
3.7 เน้นการเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชนหรือสร้างความเข้าใจอันดีงาม สร้างความพึงพอใจ ทำให้เกิดความประทับใจ และดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
3.8 ลดปัญหาอาชญากรรมในหมู่บ้านโดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปราม

4. วิธีดำเนินการ
4.1 แนวความคิดในการดำเนินงาน
4.1.1 ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการบ้านลานทอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีดำเนินงานจัดตั้งที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง โดยขอความร่วมมือในการจัดหาบ้านเช่าให้ 1 หลัง เพื่อดัดแปลงเป็นที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง (Lanthong Neighborhood Police Post) และใช้เป็นที่พักอาศัยของตำรวจด้วย รวมทั้งการจัดเงินเป็น สวัสดิการตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนาย และช่วยจัดหาสิ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในที่ทำการตำรวจชุมชนตามสมควร ตามความสมัครใจ
4.1.2 คัดเลือกตำรวจระดับนายสิบหรือพลตำรวจสองนาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะดี มนุษย์สัมพันธ์ และเต็มใจปฏิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชน (Policing) ส่งตัวเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรตำรวจชุมชน สัมพันธ์ของ ตร.ภูธรภาค 1 เพื่อปรับสภาพจิตใจและแนวความคิดก่อนที่จะส่งตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง

- 3 -

4.2 ขั้นตอนในการดำเนินการ
4.2.1 ปรับปรุงบ้านเช่าให้มีลักษณะเป็นที่ทำการตำรวจชุมชน ภายในที่ทำการตำรวจชุมชน จะประกอบด้วย
4.2.1.1 สัญลักษณ์ของที่ทำการตำรวจชุมชน ได้แก่ สัญลักษณ์ของกรมตำรวจเดิม คือ รูปตำรวจอุ้มคนเจ็บและมีเด็กจับขาตำรวจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ประชาชนทั่วไปทราบดีว่าเป็นสัญลักษณ์ ของตำรวจ
4.2.1.2 ป้ายชื่อที่ทำการตำรวจ ที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง และชื่อภาษาอังกฤษอยู่ข้างล่าง (Lanthong Neighborhood Police Post) ใต้ป้ายชื่อที่ทำการตำรวจชุมชนจะมีหมายเลขโทรศัพท์ติดไว้ด้วย
4.2.1.3 ภายในสำนักงานจะประกอบด้วย
1) โต๊ะ และเก้าอี้ สำหรับตำรวจนั่งทำงาน 1 ชุด
2) เคาเตอร์สำหรับรับเรื่องราวต่าง ๆ สำหรับประชาชนที่ไป ติดต่อและจะมีวิทยุ – โทรศัพท์ พร้อมสมุดเบอร์ 2 ใช้สำหรับบันทึกข้อความหรือเหตุการณ์ที่ ประชาชนแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ชุมชน
3) มีที่นั่งชุดรับแขก 1 ชุด ไว้ให้ประชาชนมานั่งเพื่อปรึกษาหารือ พบปะกับตำรวจชุมชน
4.2.1.4 จัดให้มีแผนที่สังเขปของหมู่บ้านลานทอง 1 แผ่น ซึ่งในแผ่นที่จะแสดงรายละเอียด ถนน ซอย ที่ตั้งของบ้าน เลขที่บ้าน และอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำมาลงรายละเอียดอื่น ๆ ไว้ตามที่ต้องการสำหรับใช้ในกาควบคุมอาชญากรรม เช่น การแบ่งเขตตรวจของยาม และสายตรวจ
4.2.1.5 จัดให้มีนาฬิกาอาชญากรรม ปักหมุดโยงเข้าไปในแผนที่หมู่บ้าน
4.2.1.6 แผ่นบอร์ดแสดงการจัดกำลังตำรวจสายตรวจรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ พร้อมนามเรียกขาน เพื่อสะดวกในการติดต่อแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ
4.2.1.7 บอร์ดสถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม ติดคู่กับนาฬิกาอาชญากรรม
4.2.1.8 บอร์ดรายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้านลานทอง พร้อมเลขที่บ้าน เลขที่ซอย และหมายเลขโทรทัศน์
4.2.1.9 บอร์ดแสดงผลการปฏิบัติการของตำรวจชุมชนลานทอง ซึ่งจะจัดไว้สำหรับประชาชนที่มาเยี่ยมชมที่ทำการตำรวจชุมชน มีรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) การตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชา (Commander’s Visit)
- 4 -

2) การเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน (House Visit)
3) ความสัมพันธ์ในชุมชน (Community Relation)
4) การให้ความรู้แก่ประชาชนตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Crime Control Through Environmental Design)
5) กิจกรรมตำรวจพบประชาชน (Interaction Welfare)
6) การแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน (Problem Solving)
7) การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน (Problem Juvenile)
8) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน (Get Together Understand Better)
9) จม.ขอบคุณจากประชาชนในพื้นที่ (Letter of Appreciation)
4.2.2 สิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานประจำที่ทำการตำรวจชุมชนลานทอง
4.2.2.1 จักรยานยนต์ 1 คัน สำหรับใช้เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
4.2.2.2 รถจักรยาน 2 ล้อ 2 คัน
4.2.2.3 วิทยุประจำที่ทำการ 1 เครื่อง
4.2.2.4 วิทยุมือถือ 2 เครื่อง
4.2.2.5 โทรศัพท์อย่างน้อย 1 หมายเลข
4.2.2.6 วัสดุสำนักงานต่าง ๆ ตามความจำเป็น
4.3 วิธีการปฏิบัติงาน
4.3.1 แนวความคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างตำรวจกับชุมชน
4.3.1.1 เตรียมการให้มีการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ สุภาพอ่อนโยน และไม่ซักช้าด้วยการ
1) ทำให้ที่ทำการตำรวจชุมชนเป็นผู้นำและปฏิบัติการแบบเบ็ดเสร็จ ณ ที่ทำการตำรวจชุมชนนั้น ๆ
2) มีการให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการป้องกันอาชญากรรมและการระงับเหตุตามโครงการควบคุมอาชญากรรมสภาพแวดล้อม
3) มีการตรวจสอบข่าวสาร และการเผยแพร่ข่าวสารที่รวดเร็ว ถูกต้องและทันเหตุการณ์
4) มีการให้คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
5) มีบริการแจ้งข่าวสารทั้งด่วนและไม่ด่วนให้ประชาชนทราบ
- 5 -

4.3.1.2 เสริมสร้างความสามัคคี เพื่อผลในด้านความไว้วางใจ และการสนับสนุนจากชุมชน ด้วยการ
1) สร้างบรรยากาศฉันท์มิตร
2) เสริมสร้างความรัก ความสามัคคีปองดองในหมู่คณะ
3) ขจัดอุปสรรค์ด้านความไม่เข้าใจ
4) ตำรวจชุมชนจะทำตัวเป็นเพื่อนกับประชาชนทุกคนในชุมชน โดยเฉพาะประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ และต้องการคำแนะนำ
4.3.1.3 แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของตำรวจ ด้วยการ
1) ให้ประชาชนได้เห็นการปฏิบัติการของตำรวจอย่างจริงจัง เช่น สายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจรถจักรยาน และสายตรวจเดินเท้า
2) ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง
3) มีจิตใจมุ่งมั่นในการรักความปลอดภัย
4) ทักทายปราศรัยด้วยความปรารถนาดี
4.3.1.4 นำแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่แก้ไขปัญหาของสังคมด้วยการนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีผูกมัดจิตใจประชาชน ดังนี้
1) ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ขาดความอบอุ่น
2) แก้ปัญหาทะเลาะวิวาทภายในครอบครัว
3) ช่วยแก้ปัญหาเด็กเกเรและอื่น ๆ
4.3.2 กิจกรรมของตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง งานประจำที่ต้องปฏิบัติในรอบวัน
4.3.2.1 งานจราจร ใน ช.ม. เร่งด่วน ระหว่าง 06.30 – 08.30 น. และ 15.30 – 17.30 น. ตำรวจชุมชนทั้งสองนาย จะต้องออกไปจัดการจราจรที่ปากทางออกหมู่บ้าน สู่ถนนติวานนท์ และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครองหน้าโรงเรียนอนุบาลรพีพรรณ
4.3.2.2 งานบริการ ระหว่างเวลาราชการระหว่าง 08.30 – 16.30 น ตำรวจชุมชน 1 นาย จะต้องปฏิบัติประจำที่ทำการตำรวจและคอยให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
1) บริการให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ในขีดความสามารถ โดยเฉพาะแนะนำสถานที่บุคคล เส้นทาง ภายในเขตหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง
2) บริการรับแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย เหตุขอความช่วยเหลือต่าง ๆ
- 6 -

3) แนะนำเรื่องการแจ้งเกิด/ตาย รวมทั้งแนะนำการออกใบ มรณบัตร
4) แนะนำให้ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้าน แจ้งย้ายทะเบียนราษฎรให้ถูกต้อง
5) บริการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่มีผู้มาขอร้อง
6) รับดูแลสิ่งของที่มีผู้เก็บตกได้ และนำมามอบให้ไว้ระหว่างสืบหาเจ้าของ
4.3.2.3 งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในระหว่างที่ตำรวจ ชุมชน 1 นาย ปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่ทำการตำรวจ ตำรวจชุมชนอีก 1 นาย จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน และตรวจการปฏิบัติงานของ รปภ. เอกชน ทั้งยามจุดและร่วมตรวจเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนกับยามสายตรวจด้วย
1) ยามจุดมี 2 ชุด 2 นาย
2) ยามสายตรวจมี 4 นาย
3) จัดให้มีนายยามปกครองดูแลยามจุด และยามสายตรวจอีก 1 นาย
4) จัดระบบตู้แดง ภายในหมู่บ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทุกถนน และซอยโดยให้ยามสายตรวจเป็นผู้ลงนามในสมุดประจำตู้แดง โดยมีนายยามเป็น ผู้กำกับดูแล และตำรวจชุมชนเป็นผู้ตรวจกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
5) การตรวจเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน ให้มุ่งเน้นตรวจบ้านเรือนที่ไม่มีคนเฝ้าดูแลโดยใช้กุญแจเฝ้าบ้านเป็นกรณีพิเศษ สำหรับบ้านที่มีคนดูแลจะใช้วิธีการตรวจผ่าน และมีการทักทายปราศรัยกับเจ้าของหรือผู้ดูแลบ้านด้วยอัธยาศัยไม่ตรีอันดี
6) ในระหว่างการตรวจเยี่ยมบ้านเรียน ตำรวจชุมชนจะต้องมีการให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันอาชญากรรม และการแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่หรือสถานการณ์ที่เสี่ยงล่อแหลมต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
7) หากพบการกระทำผิดกฎหมายให้ดำเนินการจับกุมทันที กรณีความผิดเล็กน้อยให้ว่ากล่าวตักเตือน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน
4.3.2.4 งานเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน ตำรวจชุมชน 1 นาย จะต้องออกไปเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชนวันละ 1 ซอย เพื่อประชุมชี้แจงประชาชนตามความคิดจากโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม และแจกเอกสารคำแนะนำต่าง ๆ เช่น

- 7 -

1) คำแนะนำในการจัดสภาพแวดล้อมในเขตรั้วบ้าน (พื้นที่ปฐมภูมิ) ไม่ให้เอื้ออำนวยต่อคนร้ายในการเข้าประกอบอาชญากรรม
2) คำแนะนำในการร่วมมือกันตรวจตรา สอดส่อง ดูแลพื้นที่ ถนน ซอยหน้าบ้าน ข้างบ้าน หลังบ้าน (พื้นที่ทุติยภูมิ) ไม่ให้คนร้ายมาใช้พื้นที่ดังกล่าวประกอบอาชญากรรมได้ โดยสะดวก
3) การปฏิบัติตัวในที่สาธารณะไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย
4) แผนประทุษกรรมของคนร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง
4.3.2.5 เตรียมพร้อม ณ ที่ทำการตำรวจชุมชน หลังเวลา 21.00 น. เป็นต้นไป เป็นเวลาพักผ่อนตำรวจชุมชน 1 นาย (เป็นอย่างน้อย) จะต้องนอนพักผ่อนที่ที่ทำการ และพร้อมที่จะถูกปลุกขึ้นมาด้วยเสียงวิทยุโทรศัพท์ ทั้งจากศูนย์วิทยุ และจากประชาชนในหมู่บ้านที่มีเหตุเกิดขึ้น ตำรวจชุมชนต้องพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุ และไปยังที่เกิดเหตุทันทีโดย ด่วนที่สุด ภายใน 3 – 5 นาที และทำหน้าที่แจ้งเหตุให้ศูนย์วิทยุปากเกร็ดทราบ เพื่อสั่งการให้สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจรถยนต์ รีบเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนและสกัดจังคนร้าน
4.4 มาตรการเสริมการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหน้าที่ของ สภ.อ. ปากเกร็ด ซึ่งเป็นโรงพักแม่ต้องดำเนินการสนับสนุน
4.4.1 มาตรการป้องกันปราบปราม
4.4.1.1 สายตรวจรถจักรยานยนต์ ต้องเข้าไปตรวจในหมู่บ้านให้บ่อยครั้งในช่วงแรกของการจัดตั้งตำรวจชุมชนเพื่อป้องกันเหตุมิให้เกิดขึ้นหลังจากจัดระบบตำรวจชุมชนเรียบร้อยแล้ว สายตรวจจักรยานยนต์ จึงลดความถี่ในการเข้าตรวจตราในหมู่บ้าน แต่จะต้องรีบเข้าระงับเหตุทันที ภายใน 3 – 5 นาที เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน
4.4.1.2 สายตรวจรถยนต์เสริมการปฏิบัติ รับผิดชอบการป้องกันและอำนวยการ กำกับ ดูแล การปฏิบัติของสายตรวจรถจักรยานยนต์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับสายตรวจรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 4.4.1.1
4.4.1.3 ฝ่ายสืบสวน รับผิดชอบจัดทำประวัติผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างปากซอย ถ่ายรูป – พิมพ์มือ ตรวจสอบประวัติทุกคน รวมทั้งจัดทำประวัติบุคคลต้องสงสัย บุคคลที่มีหมายจับ และบุคคลพ้นโทษไว้
4.4.1.4 ฝ่ายป้องกันปราบปราม รับผิดชอบจัดทำประวัติคนงานก่อสร้างในเขตพื้นที่หมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง โดยให้ประสานผู้รับเหมาก่อสร้างและ/หรือเจ้าของ โครงการ รวมทั้งควบคุมสอดส่อง บุคคล สถานที่ที่เป็นแหล่งมั่วสุมอบายมุข และผิดกฎหมาย
- 8 -

4.4.1.5 ร้อยเวร 20 และ / หรือ สวป. นำกำลังตำรวจออกตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ในพื้นที่เกิดบ่อยครั้ง โดยประสานข้อมูลกับฝ่ายสอบสวนตามสถิตินาฬิกาอาชญากรรม
4.4.2 มาตรการชุมชนสัมพันธ์
4.4.2.1 จัดทำเอกสารหรือสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบหมายเลขดทรศัพท์ของที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทองและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ประชาชนมีปัญหา ตำรวจชุมชน (หมู่บ้านลานทอง) อาสาแก้ไข โทร. 9645827

สภ.อ. ปากเกร็ด โทร. 5838323, 5868813
สภ.เมืองทองธานี โทร. 9829490
ศูนย์วิทยุรับแจ้งเหตุด่วน–เหตุร้าย โทร. 5840465
ห้องร้อยเวรสอบสวน โทร. 9608724, 5838323
ห้อง สวป. โทร. 9608725
ห้อง สว.สส. โทร. 5847298


ไม่ได้รับความสะดวกติดต่อ
ผกก.หน.สภ.อ. ปากเกร็ด โทร. 5838813
รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี โทร. 5263287
ผบก.ภ จว.นนทบุรี โทร. 5250833

4.4.2.2 ทำเอกสารหรือสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์วิธีการแจ้งข่าวสารอาชญากรรมให้ประชาชนทราบ
4.4.2.3 ทำเอกสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงแผนประทุษร้ายของคนร้ายในเขตพื้นที่
4.4.2.4 ทำแผ่นประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน ตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
4.4.2.5 จัดให้มีวันตำรวจพบประชาชนในโอกาสอันควร ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง โดย พล.ต.ต.ดำรง อินทปันตี ผบกง ภ.จว. นนทบุรี และ/หรือ พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก. ภ.จว. นนทบุรี และ/หรือ พ.ต.ท. ประทวน สมบูรณ์ รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด เป็น
- 9 -

วิทยากรบรรยาย และประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ประชาชน ตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม และแจกเอกสารประชาสัมพันธ์
4.4.2.6 จัดชุดชุมชนสัมพันธ์ ภ.จว.นนทบุรี เข้าไปแสดงในหมู่บ้านลานทอง และจัดนิทรรศการตำรวจชุมชนเดือนละครั้ง
4.4.3 มาตรการดึงประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม
4.4.3.1 จัดตั้งองค์กรประชาชนขึ้น ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการกลางของหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากซอยต่าง ๆ ทุกซอย ในหมู่บ้าน
2) คณะกรรมการที่ปรึกษาของหมู่บ้าน
3) จัดตั้งกลุ่มหรือชมรมเพื่อนบ้านเตือนภัย โดยการที่ดึงให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันดูแลทรัพย์สินของตนเองและเพื่อนบ้านเมื่อพบเหตุต้องสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำหมู่บ้านทราบทันที
4.4.3.2 สร้างแนวร่วมประชาชน โดยการเชิญประชาชนในหมู่บ้านร่วมประชุมสัมมนาปรึกษาหารือและอบรมชี้แจงตามโครงการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
4.4.3.3 ชักจูงแนะนำให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมควบคุมอาชญากรรมและช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมจังหวัดนนทบุรี โดยเน้นหนักในเรื่อง
1) การแจ้งข่าวอาชญากรรม
2) การป้องกันชุมชนให้เกิดความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย
3) การช่วยสกัดจับคนร้าย
4) การรักษาสถานที่เกิดเหตุ
5) การต่อต้านยาเสพติดให้โทษ
6) การลดอุบัติภัยทางการจราจรและการระวังป้องกันอัคคีภัย
4.4.4 มาตรการเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนและจัดเก็บข้อมูล จัดกำลังตำรวจที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี 1 ชุด 3 – 4 นาย ออกเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน เป็นการปฏิบัติร่วมกับตำรวจ ชุมชนในหมู่บ้าน 2 นาย และเป็นการเสริมการปฏิบัติโดยจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
4.4.4.1 จัดทำทะเบียนบ้านผู้อยู่อาศัย ในบ้านแต่ละหลัง ตั้งแต่หัวหน้าครอบครัวถึงคนรับใช้และผู้ที่อาศัยอยู่ชั่วคราว กรณีผู้ใดยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านแนะนำให้ไปแจ้งย้ายเข้ากับเทศบาลให้ถูกต้อง
4.4.4.2 จัดทำข้อมูลรถยนต์ รถจักรยายนต์ และรถจักรยานให้ปรากฏ ยี่ห้อ สี เลขทะเบียน เลขเครื่องยนต์ และเลขตัวถังรถ
- 10 -
4.4.4.3 จัดทำข้อมูลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น พัดลม ตู้เย็น ทีวี VDO และอื่น ๆ ที่คนร้ายสามารถลักทรัพย์ไปได้ง่าย โดยให้ปรากฏ ยี่ห้อ รุ่น สี ขนาด เลขหมายประจำเครื่อง และแนะนำให้ประชาชนใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขหมายบัตรใบอนุญาตขับขี่ก็ได้สลักไว้ในที่ลับ เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้ในภายหลัง
4.4.4.4 รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม และข้อมูลความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ นำไปแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน
4.4.4.5 กรณีมีเหตุต้องสงสัยว่าจะเกิดเหตุร้ายหรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรม ณ จุดใดตำรวจชุมชนและชุดเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนจะรีบไปแจ้งเตือนให้ ประชาชนทราบ หากไม่พบเจ้าของบ้านจะเสียบจดหมายไว้ที่บ้าน และทำเอกสารแจ้งเวียนให้ทราบทั่วกันทั้งหมู่บ้าน
4.4.5 วิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเหตุขึ้นในหมู่บ้าน
4.4.5.1 ตำรวจชุมชนที่รับผิดชอบในหมู่บ้าน จะต้องเร่งรีบไประงับเหตุ ทันทีใช้เวลาอย่างช้า 3 – 5 นาที และแจ้งเหตุให้ศูนย์วิทยุปากเกร็ดทราบ สั่งการให้สายตรวจจักรยานยนต์ สายตรวจรถยนต์ปากเกร็ด 20 (ร้อยเวรรอง สวป. ประจำวัน) ปากเกร็ด 30 (ร้อยเวรสอบสวน) เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน เข้ามาสนับสนุนต่อไป
4.4.5.2 สายตรวจรถจักรยานยนต์ 1 คัน ๆ ละ 2 นาย ที่รับผิดชอบตรวจในเขตหมู่บ้านลานทอง ต้องเร่งรัดไปถึงที่เกิดเหตุโดยเร็ว
4.4.5.3 สายตรวจรถยนต์ (ปากเกร็ด 20) ให้เร่งรัดไปที่เกิดเหตุทำหน้าที่อำนวยการ สั่งการสายตรวจให้สกัดจับคนร้าย โดยประสานข้อมูลกับตำรวจชุมชนในหมู่บ้าน ณ ที่เกิดเหตุ
4.4.5.4 ร้อยเวรสอบสวน (ปากเกร็ด 30) เร่งรัดไปที่เกิดเหตุพร้อมด้วย เจ้าหน้าที่วิทยากร เพื่อตรวจสถานที่เกิดเหตุ สอบสวนผู้กล่าวหา พยาน ทำแผนที่เกิดเหตุ ทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ บัญชีทรัพย์หายถ่ายรูปและจัดเก็บลายพิมพ์นิ้วมือแฝง และพยานหลักฐานอื่น ๆ ประกอบสำนวน ตามลักษณะของคดีแต่ละประเภท
4.4.5.5 เจ้าหน้าที่สืบสวน เร่งรัดไปที่เกิดเหตุ ประสานข้อมูลกับร้อยเวรสอบสวน และสืบสวนติดตามพยานในคดี หรือติดตามคนร้ายอย่างใกล้ชิด
4.4.5.6 รายงานให้ รอง ผกก.หน.สภ.อ. ปากเกร็ดทราบ กรณีเหตุ อุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ คดีแปลกประหลาด ครึกโครม คดีที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษให้รายงาน รอง ผบก. ภ.จว. นนทบุรี และ ผบก.ภ. จว.นนทบุรี ทราบ เพื่อร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย
- 11 -
5. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
โครงการนี้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2539 เป็นต้นไป และจะทำการประเมินผลโครงการหลังจากปฏิบัติงานผ่านไปแล้ว 6 เดือน

6. งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการหมู่บ้านลานทอง และภาคเอกชน อื่น ๆ ที่มีจิตศรัทธา

7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. พล.ต.ต.ดำรง อินทปันตี ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นประธานโครงการ
2. พ.ต.อ.ชูศักดิ์ โภชพันธุ์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นรองประธานโครงการ
3. พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี เป็นรองประธานโครงการ
4. พ.ต.ท.ประทวน สมบูรณ์ รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ
5. สวป.สว.สส.สว.ส. รอง สว.ทุกนาย เป็นคณะทำงานตามโครงการ
6. พลฯ เรืองศิริ อุ้ยปะโค และพลฯ ถาวร วงเครือศรี เป็นเจ้าหน้าที่ประจำที่ทำการ

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ประชาชนจะพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมากขึ้น
8.2 ประชาชนจะให้ความร่วมมือกับตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มากขึ้น
8.3 ประชาชนจะให้ความรัก ความศรัทธา และเชื่อมั่นในตัวตำรวจชุมชน มากขึ้น
8.4 สร้างความอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนมากขึ้น
8.5 สามารถลดคดีและควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนพึงพอใจ และยอมรับได้

ผลการดำเนินโครงการจัดตั้งตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง
สภาพปัญหาเดิม
1. สภาพปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ในเคหสถาน ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ลักทรัพย์รถจักรยานยนต์และปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด เช่น ยาบ้าเฮโรอีน การสูดดมสารระเหย
- 12 -

2. สภาพความไม่เป็นระเบียบด้านการจราจรในหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จะมักง่าย จอดรถโดยไม่คำนึงว่าจะกีดขวางการจราจร หรือรบกวนสิทธิของเพื่อนบ้าน ขับรถจักรยานยนต์ – รถยนต์ส่งเสียงดัง ไม่เกรงใจเพื่อนบ้าน ฯลฯ
3. ขาดความสามัคคีภายในชุมชน หมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดทั่วทุกภาคย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ไม่รู้จักกันจึงทำให้ขาดความรักความสามัคคีปรองดองกัน อยู่แบบตัวใครตัวมัน ข้างบ้านหน้าบ้านไม่เคยรู้จักกันแม้แต่ชื่อ หรือไม่เคยพูดคุยกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปัญหาอาชญากรรมตามเข้ามา
4. สภาพแวดล้อมในเขตรั้วบ้านของตนเองขาดการเอาใจใส่ดูแล ปรับปรุงในลักษณะไม่เอื้ออำนวยให้คนร้ายเข้าประกอบอาชญากรรมได้โดยง่ายเนื่องจากประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจตามวิธีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
5. พื้นที่ที่ประชาชนใช้ร่วมกันและพื้นที่สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากประชาชนที่ใช้พื้นที่นั้น ๆ ร่วมกัน เช่น ถนน ตรอก ซอย หน้าบ้าน ข้างบ้าน สวนหย่อม ฯลฯ
6. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว สภ.อ.ปากเกร็ด โดย พ.ต.อ.สมชัย เจริญทรัพย์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี รักษาการในตำแหน่ง รอง ผกก.หน.สภ.อ.ปากเกร็ด ได้ดำเนินการจัดทำโครงการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทองขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยคำแนะนำของ พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ผู้ช่วย อ.ตร.ภ.1

แนวคิดและหลักการ
การดำเนินงาน โดยยึดหลัก 4 ประการคือ
1. กระจายกำลังตำรวจออกไปปฏิบัติในพื้นที่ให้มากที่สุด
2. ตำรวจต้องรู้จักพื้นที่ ประชาชน สภาพการณ์ เหตุการณ์ สถานภาพอาชญากรรม ในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ตำรวจทำงานป้องกันและปราบปราม โดยดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมอาชญากรรม
4. การปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต้องควบคู่ไปกับงานชุมชนสัมพันธ์



- 13 -

วิธีการปฏิบัติ
1. แนวความคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างตำรวจกับชุมชน
2. การจัดภายในสำนักงานที่ทำการตำรวจชุมชน
3. กิจกรรมของตำรวจชุมชนและงานประจำที่ต้องปฏิบัติงานใน 24 ชม.
3.1 งานจราจร
3.2 งานบริการ
3.3 งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3.4 งานเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน
3.5 เตรียมพร้อม ร ที่ทำการตำรวจชุมชน
4. มาตรการเสริมการปฏิบัติงานจาก สภ.อ.ปากเกร็ด ซึ่งเป็นโรงพักแม่
4.1 มาตรการป้องกันและปราบปราม
4.2 มาตรการชุมชนสัมพันธ์
4.3 มาตรการดึงประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม
4.4 มาตรการเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนจัดเก็บข้อมูล
5. วิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดขึ้นในหมู่บ้าน - ชุมชน
รายละเอียดปรากฏในเอกสารโครงการจัดตั้งที่ทำการตำรวจชุมชนหมู่บ้านลานทอง ซึ่งทาน พล.ต.อ. วิรุฬห์ พื้นแสน ผู้ช่วย อ.ตร.ภ. 1 ได้ลงนามอนุมัติโครงการแล้วเมื่อ 12 มกราคม 2539 และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 15 เมษายน 2539 เป็นต้นมา

ผลการดำเนินงาน
โครงการนี้ได้ดำเนินการด้วยดีมาตลอด ครบกำหนด 3 เดือน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 จึงได้ทำการประเมินผล ในช่วงแรกใช้การประเมินผล 3 วิธี
1. แบบสอบถาม โดยวิธีการส่งแบบสอบถาม (Questionnaire) สอบถามประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) ประมาณ 500 คน โดยการกระจายในแต่ละซอยมีประชาชนตอบแบบสอบถามมา 350 คน สรุปได้ดังนี้
1.1 ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน
1.2 ประชาชนอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนได้มากขึ้น
1.3 สถิติคดีอาชญากรรมในหมู่บ้านลดลง

- 14 -

2. สำรวจสถิติคดีอาญา จากงานคดีของ สภ.อ. ปากเกร็ด พบว่าสถิติคดีอาญากลุ่ม ที่ 1 (คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ) กลุ่มที่ 2 (คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย) กลุ่มที่ 3 (คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์) กลุ่มที่ 4 (คดีที่น่าสนใจ) ลดลง ส่วนกลุ่มที่ 5 (คดีรัฐเป็นผู้เสียหาย) ตำรวจชุมชนสามารถแจ้งข่าวสาข้อมูลให้กับฝ่ายป้องกันปราบปรามและฝ่ายสืบสวนสอบสวน เป็นเหตุให้จับกุมความผิดกลุ่มที่ 5 ได้มากขึ้นโดยเฉพาะข่าวสารที่ได้มานั้นได้มาจากประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน ทั้งสิ้น
3. การสุ่มตัวอย่างสอบถามประชาชน ได้สอบถามคณะกรรมการชุมชนและประชาชนโดยทั่วไป ตามร้านค้า ตามบ้านเรือนอยู่อาศัย และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ปรากฏว่าได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเห็นด้วยที่จัดให้ตำรวจชุมชนประจำในหมู่บ้านและลดปัญหาอาชญากรรมได้จริง ประชาชนอบอุ่นใจขึ้น ประชาชนพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน

สรุป
โครงการจัดตั้งชุมชนหมู่บ้านลานทองบรรลุวัตถุประสงค์ตามผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการทุกประการ ดังนี้
1. ประชาชนพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมากขึ้น
2. ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามมากขึ้น
3. ประชาชนให้ความรัก ความศรัทธา และเชื่อมั่นในตัวตำรวจมากขึ้น
4. สามารถสร้างความอบอุ่นใจ ลดความหวาดระแวงภัยต่อปัญหาอาชญากรรมให้ประชาชนมากขึ้น
5. สามารถลดคดีและควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนถึงพอใจและยอมรับได้
6. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีระเบียบในการจราจรและลดอุบัติภัยในการจราจรได้มากขึ้น
7. สร้างจิตนำสึกให้ประชาชนรู้จักดูแลป้องกันชีวิตทรัพย์สินของตนเองได้มากขึ้น
8. สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการสอดส่องดูแลพื้นที่ถนน ตรอก ซอย และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ใช้ร่วมกันได้มากขึ้น
9. สร้างจิตสำนึกในการร่วมกันป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มากขึ้น
สภาพปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านลานทองได้รับการแก้ไขและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตำรวจชุมชน และประชาชนทุกคนในชุมชนหมู่บ้านลานทองร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น