วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดการจัดชุดเคลื่อนที่เร็วต่อต้านการก่อความไม่สงบในเมือง

ชุดเคลื่อนที่เร็ว (Mobile Field Force : MFF)

เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วระดับหมวด มีลักษณะเป็นชุดปฏิบัติการเอนกประสงค์ในการแก้ไขปัญหาก่อความไม่สงบในเมือง ซึ่งหน่วยตำรวจในมลรัฐแคลิฟลอเนียร์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานการจัดการเหตุวิกฤติโดยผู้บังคับใช้กฎหมายได้ให้ความเห็นชอบและจัดตั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997
โดยเป็นการสนธิกำลังจัดเป็นชุดดังกล่าวนี้ขึ้น และใช้ในภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบหรือการชุมนุมประท้วง เหตุภัยพิบัติและเหตุภาวะฉุกเฉินต่างๆ ในเมือง ในสถานการณ์เมื่อระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจโดยตำรวจท้องที่กระทำได้ไม่เต็มที่หรือมีขีดจำกัดในเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น การบริการหรือการปฏิบัติของตำรวจท้องที่ไม่สามารถทำได้เต็มที่ เช่น แผ่นดินไหว ไฟฟ้าดับ หรือสถานีตำรวจถูกเผา หรือปิดล้อม
1. การจัดเฉพาะกิจ (56 นาย ส. 1, ป.55)
1.1 ผบ.ชุด 1 นาย (รอง สว.- สว.)
1.2 รองหัวหน้าชุด 1 นาย (ด.ต.)
1.3 ผบ.หมู่ 4 นาย (จ.ส.ต. – ด.ต.)
1.4 ผู้บังคับรถ ชั้นประทวน 12 นาย
1.5 พลขับ 14 นาย (ชั้นประทวน)
1.6 เจ้าหน้าที่บันทึกวิดีโอ 2 นาย (ป.)
1.7 เจ้าหน้าที่ชุดต่อต้านการซุ่มยิง 2 นาย (ป.)
1.8 ตำรวจประจำชุด 24 นาย (ป.)
1.9 ตำรวจประจำรถควบคุมผู้ต้องหา 4 นาย (2 คันๆ ละ 2 คน หากเป็นไปได้ควรเป็นผู้หญิง คันละ 1 คน)
2. อุปกรณ์มาตรฐานขั้นต่ำ
2.1 รถยนต์สายตรวจ 4 ประตู เอนกประสงค์ 14 คัน
2.2 วิทยุแบบมือถือ 16 เครื่อง พร้อมแบตเตอรี่สำรอง
2.3 อาวุธปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. ประจำตัวตำรวจ 1 นาย/1 กระบอก (เว้นเจ้าหน้าที่ประจำรถควบคุมผู้ต้องหา) จำนวน 52 กระบอก
2.4 ปืนลูกซองประจำรถยนต์สายตรวจ 1 กระบอก/คัน จำนวน 14 กระบอก
2.5 กระสุนปืนลูกซอง 350 นัด
2.6 กระสุนปืนลูกซองแบบกระสุนยาง 140 นัด
-2-

2.7 กระสุนขนาด 9 มม. จำนวน 700 นัด
2.8 อุปกรณ์ฉุกเฉิน
2.8.1 ถังดับเพลิงแบบยกได้ (5 ปอนด์) 1 ถัง/รถสายตรวจ 1 คัน จำนวน 14 ถัง
2.8.2 ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1 ชุด
2.8.3 กระบองไฟเรืองแสงให้สัญญาณจราจร จำนวน 52 อัน
2.8.4 ผ้าห่มใช้ดับไฟ 2 ผืน/รถ 1 คัน จำนวน 28 ผืน
2.9 อุปกรณ์ทางยุทธวิธี
2.9.1 กล้องส่อง 2 ตา จำนวน 2 อัน
2.9.2 เครื่องเปล่งเสียงแบบเคลื่อนที่ 1 ชุด (ไม่รวมที่ติดกับรถสายตรวจ)
2.9.3 สายกั้นที่เกิดเหตุสำหรับตำรวจ 5 ชุด
2.10 รถยนต์บรรทุกผู้ต้องหา 2 คัน
2.11 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 176 เส้น
2.12 ชุดกล้องถ่ายวิดีโอ 2 ชุด พร้อมถ่านสำรอง
2.13 ปืนเล็กยาว 52 กระบอก พร้อมกระสุน 60 นัด/กระบอก
2.14 อุปกรณ์ไม่ถึงตายสำหรับควบคุมฝูงชน
2.14.1 หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ 56 อัน
2.14.2 เครื่องยิงแก๊สน้ำตา 24 กระบอก, กระสุนแก๊สน้ำตา 12 นัด/กระบอก
2.14.3 แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง 120 ลูก
2.14.4 ระเบิดเสียง 600 ลูก (150 ลูก/หมู่)
3. ขีดความสามารถ/ขีดจำกัด
3.1 เป็นรถสายตรวจ 14 คัน โดย 2 คัน เป็นรถ หน.ชุด และ รอง หน.ชุด ส่วนอีก 12 คัน ประกอบกำลัง 4 นาย/คัน เป็นสายตรวจรักษาความสงบในพื้นที่ที่มีเหตุจลาจลหรือก่อความ ไม่สงบ
3.2 เป็นจุดอำนวยการและควบคุมการจราจรได้ประมาณ 20 จุดพร้อมกัน
3.3 ตั้งจุดตรวจได้ 12 จุดพร้อมกันในพื้นที่ก่อความไม่สงบ
3.4 รักษาความปลอดภัยและระวังป้องกันที่ตั้ง หรือสาธารณูปโภคสำคัญ
3.5 จัดรูปขบวนควบคุมฝูงชนได้ 4 หมู่ ดำเนินกลยุทธ์ควบคุมฝูงชนและใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนได้ แต่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
-3-

3.6 จัดรูปขบวน 3 หมู่ ควบคุมฝูงชน และใช้อาวุธพิเศษควบคุมฝูงชนพร้อมทั้งรักษาความปลอดภัยชุดตนเองได้
3.7 เคลื่อนที่เร็วแก้ปัญหาเหตุก่อความไม่สงบได้ภายในพื้นที่
3.8 ดำเนินการจับกุมขนาดใหญ่ได้ ซึ่งสามารถจับกุมแกนนำและผู้ชุมนุมพร้อมกันได้จำนวนหนึ่ง
3.9 มีขีดความสามารถต่อต้านพลซุ่มยิงได้
3.10 มีขีดจำกัดในการปฐมพยาบาลหรือส่งกลับสายการแพทย์
4. ระยะเวลาเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่
4.1 สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 12 ชม. รวมถึงเวลาเดินทางจากที่ตั้งถึงที่ปฏิบัติงาน หรือเตรียมพร้อม
4.2 ควรให้มีเวลาพักหรือเตรียมการอย่างน้อย 12 ชม./ผลัด
5. อาวุธประจำกายของชุดเคลื่อนที่เร็ว
5.1 ปืนพกประจำกายขนาด 9 มม. พร้อมกระสุน 1 อัตรายิง
5.2 อุปกรณ์พื้นฐานของสายตรวจรถยนต์ติดกับเข็มขัดสนาม
5.3 หมวกควบคุมฝูงชนพร้อมกระบังหน้า
5.4 ดิ้วหรือกระบองสั้นแบบยืดได้ ขนาด 26 นิ้ว พร้อมที่แขวน
5.5 เสื้อเกราะอ่อน
5.6 ไฟฉาย
5.7 สายรัดข้อมือผู้ต้องหา 4 เส้น/ตำรวจ 1 นาย
5.8 สเปรย์พริกไทย 1 กระป๋อง/นาย

*********************************

ที่มา : 1999 Law Enforcement Guide for Emergency Operations , Governor’s Office Of Emergency Services, State Of California. หน้า 53-64
สืบค้นจาก http://www.oes.ca.gov

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น