วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สมรรถนะตำรวจสายอำนวยการและผู้บริหาร ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งการบริหารงานและการเป็นผู้นำและระดับพฤติกรรม
(Competency Indicators)
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1.
สน.1.1 ทักษะทางคอมพิวเตอร์
-ทักษะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมหรือค้นหาข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานผล หรือนำเสนอข้อมูล
ระดับ 1 ไม่สนใจเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เลย และไม่สามารถสั่งงาน ตรวจสอบงาน หรือมอบหมายงานให้เสมียน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้
ระดับ 2 เรียนรู้ขีดความสามารถ ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ ว่าสามารถนำมาประยุกต์ในงานที่ตนรับผิดชอบได้อย่างไรบ้าง และสั่งการให้เสมียน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้บ้าง
ระดับ 3 สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์เบื้องต้นได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมนำเสนอผลงาน หรือโปรแกรมฐานข้อมูล หรือ มีความเข้าใจ และสามารถสั่งงานให้เสมียนหรือผู้รับผิดชอบ ใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ใช้กับงานในหน้าที่ได้ หรือสามารถใช้งานเรียกใช้ข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วย(Intranet)ได้ (เรียกดูฐานข้อมูลหรือส่งข่าวสารใน E-Cop ได้)
ระดับ 4 สามารถใช้โปรแกรมในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้ เรียกใช้ข้อมูลในอินเตอร์เน็ทได้ เช่น เรียกใช้ข้อมูลสถิติคดีอาญา หรือสถิติคดีจราจร และแนะนำให้ผู้ร่วมงานใช้Intranet หรือ E-cop ได้
ระดับ 5 สามารถออกแบบระบบ ฐานข้อมูล หรือการเชื่อมโยงเครือข่าย ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือประยุกต์ใช้กับงานในหน้าที่ได้ และสามารถแนะนำผู้ร่วมงานให้ใช้งานได้

2
สน.1.2 ทักษะด้านภาษาและสื่อสาร
1.ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ภาษากายหรือกริยาอาการ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ตำรวจต้องทำหน้าที่ ในการพบปะกับประชาชน หรือเผชิญเหตุ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ตำรวจ
2.การสื่อสารที่ไม่ทำให้ผู้พบปะตำรวจเจ็บใจ เกิดภาพลบต่อตำรวจ
ระดับ 1 มักพูดโดยไม่ยั้งคิด พูดออกไปแล้ว ทำให้ผู้รับฟังไม่ค่อยเข้าใจ ไม่มีประเด็นชัดเจน ใช้น้ำเสียงเกรี้ยวกราดบ่อย พูดข้อความที่ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ หรือทำให้ประชาชนเจ็บใจ เช่น “ของตัวเองหาย ตัวเองยังคุ้มครองไม่ได้ จะให้ตำรวจตามหาให้ได้อย่างไร” หรือ “สมแล้วที่รถหาย”
ระดับ 2 ใช้คำพูดเหมาะสมกับเหตุการณ์ ที่ตำรวจประสบเหตุ เหมาะกาละเทศะ ไม่พูดให้ประชาชนเจ็บใจ หรือคิดทำนองตำรวจจะหาผลประโยชน์ เช่น จะออกใบสั่งความผิดจราจร ไม่ใช้เวลานานในการพูดอ้อมค้อม อธิบายข้อหา ความผิด แจ้งสิทธิชัดเจน ด้วยน้ำเสียงเอื้ออาทร
ระดับ 3 พูดตรงประเด็นชัดเจน ใช้ภาษาที่คนฟังต้องการ หรือผู้ฟังฟังแล้วบรรเทาอารมณ์ดีขึ้น และสามารถใช้คำพูดโน้มน้าวให้ผู้อื่น เห็นคล้อยตามได้ รับรู้อารมณ์ผู้ฟัง แล้วแก้ไขการพูด การปฏิบัติได้ดี
ระดับ 4 .ใช้ภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ หรือวิธีการพูด เพื่อพูดให้ผู้รับฟังมีความไว้วางใจ ในความจริงใจที่จะพูดคุย เจรจาต่อรองได้ดี มีกริยาที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ พูดแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ลดลงได้
ระดับ 5 มีศักยภาพในการสอน แนะนำ จูงใจให้เพื่อนร่วมงาน ใช้การพูด การปฏิสัมพันธ์กับประชาชนในหน้าที่ตำรวจ ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ เป็นตัวอย่างแก่ตำรวจหน่วยอื่นได้

3
สน.1.3 ทักษะงานอำนวยการและการจัดการ
-ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ โดยให้ผู้อื่นทำงานแทนให้มากที่สุด ด้วยทุนหรือทรัพยากรที่เหมาะสม
ระดับ 1. รอรับคำสั่ง เพื่อทำงานตามคำสั่งเท่านั้น ร่างโต้ตอบหนังสือไม่ได้หรือไม่ตรงประเด็น ไม่มี ทักษะในการเขียนรายงานหรือทำข้อเสนอหรือมีความเห็นใด ๆ ได้ ทำงานให้พ้นไปวัน ๆ ไร้จุดหมาย
ระดับ 2. ร่างโต้ตอบหนังสือได้ มีทักษะการจับเก็บข้อมูลเป็นเอกสาร พัฒนาสั่งสมความรู้ เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับในสายงานที่ตนเองปฏิบัติได้
ระดับ 3 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลอิเลคโทรนิคส์ ตาม ระเบียบงานสารบรรณได้ กำหนดแผนงาน เป้าหมาย วิธีการทำงาน และประเมินผลงานได้
ระดับ 4 สามารถวางระบบการทำงาน หรือออกคำสั่ง หรือแผนปฏิบัติการ หรือระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.)และ แนะนำให้ผู้อื่นทำแทนตนได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีระบบการควบคุมผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้
ระดับ 5 ผลการทำงานในการอำนวยการ จัดการประสบผลสำเร็จ สามารถแนะนำ หรือเป็นตัวอย่าง เพื่อนร่วมงาน หรือหน่วยงานอื่นได้ รวมทั้งมีศักยภาพในการบรรยาย ให้ความรู้ในงานที่ตนรับผิดชอบแก่เพื่อนร่วมงานและหน่วยอื่นได้


























4
สน.1.4 สมรรถนะทางกายและอารมณ์
1.ความสามารถทางร่างกาย หรือทางกายภาพ ที่จะทำงานต่าง ๆ ได้ภายใต้ภาวะเสี่ยงภัย ฉุกเฉิน ตรากตรำหรือกดดัน
2.ความสามารถทางอารมณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ หรือเงื่อนไขความกดดันต่าง ๆ ข้าราชการตำรวจจะตอบสนองอย่างไร
3.ความเหมาะสมของบุคลิกภาพและอารมณ์ ต่อตำแหน่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติ
ระดับ1 มีดัชนีมวลกายอ้วนเกินกว่าเกณฑ์กำหนด ความฉลาดทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ต้องทำงานเสมอ หรือมีความฉลาดทางอารมณ์หรือขีดความสามารถในการปรับตัวน้อย ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้ผลคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์
ระดับ 2 มีดัชนีมวลกาย ไม่เกินกว่าเกณฑ์กำหนด มีความฉลาดทางอารมณ์เหมาะสมกับตำแหน่ง ไม่โกรธ หรือฉุนเฉียวง่าย ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้ผลคะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ระดับ 3 ทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ผลคะแนนดี เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อไม่พอใจสิ่งใด อาจแสดงความไม่พอใจบ้าง แต่จะไม่ละทิ้งหน้าที่
ระดับ 4 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายดีมาก เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมีสิ่งที่ไม่พอใจ จะมีความอดทนอดกลั้น ไม่แสดงออก และสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายดีเลิศ เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ในการปฏิบัติหน้าที่ได้แม้ว่าจะมีภาวะกดดันต่าง ๆ สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่เพื่อนร่วมงานได้

5
สน.1.5 ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
1.ความสามารถในการนำผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานหรือหน่วยงาน ให้ทำงานสำเร็จตามพันธกิจ หรืองานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อการปรับตัว ให้รับกับปัญหา หรือสภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ระดับ 1 ชอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น แต่จะไม่ชอบทำงานดังกล่าว หรือคิดจะทำ หากทำงานใดสำเร็จ จะอ้างว่าเป็นความสามารถของตนคนเดียว ไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือวิธีทำงาน
ระดับ 2 พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง จูงใจให้ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมใจทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ไม่ต่อต้านหากจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ระดับ 3 มีความสามารถในการจูงใจให้สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ มีความสามารถในการคิดหาการทำงาน หรือปรับสภาพหน่วยงาน เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
ระดับ 4 มีความสามารถในการจูงใจให้สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดี หน่วยมีความสามัคคีกลมเกลียวสูง เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ได้เป็นอย่างดี
ระดับ 5 เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของหน่วยในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดีในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมหน่วย และตำรวจในหน่วยให้มีความพร้อมในการรับกับปัญหาในอนาคตได้ จนเป็นแบบอย่างให้แก่หน่วยอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น