วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สมรรถนะหลักของตำรวจทุกคนใน ภ.7

คำอธิบายสมรรถนะหลักและระดับพฤติกรรมของสมรรถนะหลัก(Core Competencies Indicators)
ลำดับ
ชื่อสมรรถนะ
นิยามหรือคำอธิบาย
ระดับพฤติกรรม
หมายเหตุ-ระดับ 3,4และ 5 ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมระดับก่อนด้วย(ระดับ 2,3หรือ4ตามลำดับ)
เอกสาร คู่มือ ตำราอ้างอิง
1
สล.1 จิตสำนึกให้บริการ(Service Mind)
1.ความสามารถเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของประชาชน หรือผู้มาใช้บริการงานตำรวจ หรือประชาชนที่ตำรวจพบ ซักถาม
2.มีค่านิยมว่า “ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ”หรือประชาชนผู้เดือดร้อน,ผู้แจ้งหรือ ชุมชนเป็นผู้ที่ต้องให้ความสำคัญ
3.ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการจากตำรวจอย่างเอื้ออาทร เต็มใจ ด้วยกริยา วาจา เหมาะสม ครบวงจร ในสภาพที่เป็นไปได้จริง หรือศีลธรรมและกฎหมาย หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
ระดับ 1.ให้บริการประชาชนเพราะหน้าที่ หรือผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ทักทาย ไม่แนะนำ ใช้น้ำเสียง หรือคำพูด กริยา ที่ผู้รับบริการ หรือสัมผัสฟังแล้วทำให้ไม่พอใจ หรือไม่เข้าใจ ทำให้มองภาพพจน์ตำรวจในทางลบ มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทำงานบ่อย
ระดับ 2 ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือปรับบุคลิกภาพหรือมารยาทตามเหตุการณ์ที่เหมาะสม ใช้คำพูด กริยา เหมาะสมไม่ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้รับบริการ แก้ไขปัญหาหรือบริการตามพันธะสัญญาได้ตามที่กำหนด
ระดับ 3 แก้ไขปัญหาของผู้รับบริการได้อย่างพอใจหรือได้ดีกว่าตามพันธะสัญญาที่กำหนดไว้
ระดับ 4 เป็นตัวอย่างในการให้บริการประชาชนหรือผู้รับบริการได้พอใจเป็นแบบอย่างในหน่วยงาน หรือ สภ.
ระดับ 5 ชักนำ หรือเป็นตัวแบบนำผู้ร่วมงาน หรือถ่ายทอด กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานบริการแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือผู้ใช้บริการได้ประทับใจอย่างกว้างขวางในหน่วยงานหรือ สภ.




2
สล2 ความมุ่งผลสัมฤทธิ์(Achievement Motivation)
-ความมุ่งมั่นในหน้าที่ หรือภารกิจที่รับผิดชอบ ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ หรือที่ได้รับมอบหมาย ตามเวลา
ระดับ 1.ทำงานตามที่ได้รับคำสั่ง หรือมอบหมายให้เสร็จได้ตามเวลา โดยที่ต้องมี การกำชับ การเตือน การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด หรือมีสิ่งจูงใจตอบแทนระยะใกล้
ระดับ 2.ทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ อย่างได้ผลดี ตามเวลา โดยมิต้องมีการเตือนหรือการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมิต้องมีสิ่งตอบแทนระยะใกล้มาจูงใจ
ระดับ 3.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ได้ผลเป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีอุปสรรค หรือมีสถานการณ์กดดัน และมีแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แม้ว่าจะไม่มีสิ่งจูงใจหรือการบังคับระยะใกล้ก็ตาม
ระดับ 4.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย มีการตั้งเป้าหมายของตนเองที่ท้าทาย หรือมีอุปสรรค สถานการณ์ความยากลำบากกดดัน มีผลงานดีเด่น สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ โดยไม่หวังผลตอบแทนระยะใกล้
ระดับ 5.ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย มีผลงานดีเด่น สามารถชักชวน ถ่ายทอด กระตุ้น จูงใจ ให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาวิธีการทำงานและมุ่งมั่นต่อการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3
สล3 ความร่วมแรงร่วมใจ(Teamwork)
-ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในการปรับตัวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยอาจมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์กัน
ระดับ1.มีปัญหาทะเลาะ ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา บ่อยครั้ง แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงหน่วยที่ทำงาน หรือผู้ที่ร่วมทำงานแล้ว
ระดับ 2.เมื่อทำงานเป็นกลุ่ม มักไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ชอบหลีกเลี่ยงการประชุม คอยจะรับคำสั่งโดยไม่ได้ร่วมใจ ร่วมคิด เพื่อให้งานของหน่วยหรือกลุ่มมีประสิทธิภาพ จะทำงานเฉพาะเมื่อหัวหน้าสั่งหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนระยะใกล้
ระดับ 3 มีความกระตือรือร้นในการทำงานของหน่วยที่เป็นส่วนรวม มีความอดทนอดกลั้น ในเรื่องเล็กน้อย เพื่อไม่ให้งานส่วนรวมเสียหาย
ระดับ 4 กระตือรือร้นในการทำงานส่วนรวม เป็นตัวแบบ(Role Model)ให้แก่เพื่อนร่วมงานในการเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ว่าจะเป็นงานที่ไม่มีผลประโยชน์หรือผลงานที่จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน
ระดับ 5 ไม่เห็นแก่ตัว นำหรือปลุกเร้า จูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้ร่วมใจทำงานส่วนรวม โดยใช้ความหลากหลายในทักษะ ประสบการณ์ หรือความรู้ ให้เกิดประโยชน์


4
สล4 ความมีจริยธรรมตำรวจ
-ความซื่อตรงต่อวินัยตำรวจ อุดมคติตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ เช่นจรรยาบรรณพนักงานสอบสวน ไม่กระทำผิดไปจากวินัยตำรวจ
ระดับ 1.ทำผิดวินัยตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องเสมอ ในเรื่องเล็กๆ น้อย มีความอดทนอดกลั้นทางอารมณ์บ้างแต่น้อย
ระดับ 2 .ปฏิบัติตามวินัยตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตนในแนวทางที่ไม่เสี่ยงหรือเกิดข้อสงสัยในความซื่อสัตย์หรือวินัยตำรวจ เช่น นั่งรถคันเดียวกับผู้ต้องสงสัยหรือผู้มีอิทธิพลบ่อย ๆ มีความอดทนอดกลั้นบ้าง
ระดับ 3 ปฏิบัติตน ตามแนวทางอุดมคติตำรวจ ทั้งคำพูดและการปฏิบัติ มีความอดทนอดกลั้นดี
ระดับ 4 เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานในด้านระเบียบวินัย อุดมคติตำรวจ จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง
ระดับ 5 เป็นตัวแบบให้แก่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งเป็นผู้นำในการกระตุ้น จูงใจ ให้เพื่อนร่วมงานปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ตามแนวทางวินัยตำรวจ อุดมคติตำรวจ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในหน้าที่


5
สล.5 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ
-ความสามารถ ทักษะในการเรียนรู้ ความใส่ใจในการรวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ หรือแสวงหาความรู้ วิธีการใหม่ เพื่อปรับปรุงสั่งสมความชำนาญในงานตำรวจที่ปฏิบัติ
ระดับ 1.ชอบปฏิเสธ บ่ายเบี่ยงการทำงานแบบใหม่ ๆ หรืองานใหม่ ไม่ชอบการฝึกอบรม เมื่อไปฝึกอบรมมาแล้ว ไม่นำมาใช้ในการทำงาน หรือถ่ายทอด
ระดับ 2.ทำงานแบบเดิม ปรับปรุงการทำงานด้วยตนเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้บังคับบัญชาหรือมีผู้แนะนำ สามารถปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำได้
ระดับ 3.ปรับเปลี่ยนพัฒนา สั่งสมความชำนาญ จัดการองค์ความรู้ ด้วยตนเองได้
ระดับ 4 พัฒนาวิธีการทำงานได้ หมั่นศึกษาหาทางพัฒนาการทำงานใหม่ ๆ จนเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้ หรือเป็นพัฒนาองค์ความรู้ได้
ระดับ 5 เป็นผู้นำปรับปรุงงานและยอมรับการปรับปรุงงานจากความหลากหลายของทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้อื่น หรือของกลุ่มได้ดี และถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น